คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 735 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.เวนคืน และการกำหนดราคาตามปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก ฯ พ.ศ.2532 ที่กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้นที่เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพื่อให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 6 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้แทนกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง โจทก์ทั้งสิบสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และขอให้รับผิดชอบชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ส่วนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่กรมการขนส่งทางบกก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย้ายไปรับราชการที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงหาใช่ฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7002/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดรองการใช้บัตรเครดิต: สัญญาทำการงาน อายุความ 2 ปี เริ่มนับจากผิดนัด
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ และนำบัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้ากับเบิกเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารในระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน 2532ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2532 หลายครั้ง โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลย แต่จำเลยไม่ชำระคืนให้โจทก์ โจทก์จึงยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของจำเลยและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้ง จำเลยไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้า และเบี้ยปรับผิดสัญญาในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 113,245.77 บาท โดยโจทก์ได้แนบสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีมาท้ายฟ้องเพื่อให้จำเลยตรวจสอบด้วยแล้ว ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นรายละเอียดแห่งหนี้ที่แสดงรายการที่จำเลยนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้ซื้อสินค้าบริการและเบิกเงินสดในแต่ละครั้งไว้ ซึ่งรายการดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นสถานที่ใดและในวันใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าอัตราดอกเบี้ยขณะที่จำเลยผิดสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้เท่าไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสด โจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกที่ธนาคารโจทก์โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วย และการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 (7)
โจทก์จำเลยได้ตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ไว้ว่า เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนไปแล้ว โจทก์จัดส่งใบแจ้งยอดบัญชีให้จำเลยทราบโดยคิดยอดหนี้ทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ปรากฏว่าใบแจ้งยอดบัญชีครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ดังนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่6 ธันวาคม 2532 โจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536จึงเกิน 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, สิทธิเรียกร้องหนี้, การมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้จึงเป็นข้อที่จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่2ด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่2ฎีกาของจำเลยที่2ในประเด็นนี้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ในข้อนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้สัญญาค้ำประกันและจำนองและคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้หนังสือสัญญาค้ำประกันและหนังสือสัญญาจำนองส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้งกู้เงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ดังนั้นฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่ผ. และน. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์แม้ต่อมาผ. และน. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจระบุว่ามอบอำนาจให้ป. หรืออ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น2คนพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่างๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่างเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์30บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(2)แห่งประมวลรัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจดังนี้การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน30บาทจึงชอบแล้วหาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ30บาทไม่ สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่าตามที่จำเลยที่2บริษัทธ.และท. ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่1เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์3จำนวนเป็นเงิน45,920,000บาทนั้นจำเลยที่1ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวและยังค้างชำระเป็นเงิน10,516,643.83บาทรวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน56,436,643.83บาทให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด15ปีทั้งนี้จำเลยที่1ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ100,000บาทหากจำเลยที่1ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่1จำเลยที่1ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ถือได้ว่าเป็นสัญญา2ฝ่ายหาใช่จำเลยที่1ตกลงฝ่ายเดียวไม่และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่1ลูกหนี้คนใหม่ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่2บริษัทธ. และท. ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายการแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้ เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้วดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน5ปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเคลือบคลุม: การที่ฟ้องแย้งไม่มีข้ออ้างหลักแห่งข้อหาทำให้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกับบิดาโจทก์ โดยกำหนดเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2529 เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่เช่า แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเพียงพอทำให้จำเลยเข้าใจถึงมูลเหตุการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยเนื่องจากการผิดสัญญาของจำเลยที่จำเลยได้ทำให้ไว้กับบิดาโจทก์ได้อย่างชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาอย่างไร ตั้งแต่เมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในข้อที่ว่า สิทธิของโจทก์มีหรือไม่ตามคำฟ้อง จำเลยไม่อาจทราบได้ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับบิดาโจทก์เป็นเรื่องคู่สัญญาเช่าคนละคนกัน จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ การที่โจทก์มิได้บรรยายสิทธิของตนมาให้ครบถ้วนจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรวมวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า ฟ้องแย้งของจำเลยเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกล่าวถึงความผูกพันระหว่างคู่สัญญาและผลของสัญญาเช่าระหว่างบิดาจำเลยกับบิดาโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การของจำเลยที่ยกขึ้นอ้างต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ ก็เพื่อนำไปสู่ข้อวินิจฉัยข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้ง ดังนั้น เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเหตุใดโจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่บิดาจำเลยทำกับบิดาโจทก์เพื่อบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาอย่างไร เช่นนี้เท่ากับฟ้องแย้งของจำเลยมิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงเป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุมศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาใช่ไม่ตรงประเด็นที่กำหนดไว้ไม่
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาโจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาเกี่ยวกับที่ดินพิพาท เมื่อบิดาจำเลยตายสิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จำเลยจึงย่อมมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจนกว่าจะครบสัญญานั้น เป็นปัญหาคำขอบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้วปัญหาข้อนี้จึงตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6146/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม ศาลวินิจฉัยประเด็นสัญญาเช่าและฟ้องแย้งได้ แม้จำเลยอ้างสิทธิจากสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกับบิดาโจทก์โดยกำหนดเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่1มกราคม2527ถึงวันที่31ธันวาคม2529เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไปจึงบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่เช่าแต่จำเลยเพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเพียงพอทำให้จำเลยเข้าใจถึงมูลเหตุการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยเนื่องจากการผิดสัญญาของจำเลยที่จำเลยได้ทำให้ไว้กับบิดาโจทก์ได้อย่างชัดแจ้งแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาอย่างไรตั้งแต่เมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ส่วนที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในข้อที่ว่าสิทธิของโจทก์มีหรือไม่ตามคำฟ้องจำเลยไม่อาจทราบได้จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับบิดาโจทก์เป็นเรื่องคู่สัญญาเช่าคนละคนกันจำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์การที่โจทก์มิได้บรรยายสิทธิของตนมาให้ครบถ้วนจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรวมวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าฟ้องแย้งของจำเลยเคลือบคลุมหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกล่าวถึงความผูกพันระหว่างคู่สัญญาและผลของสัญญาเช่าระหว่างบิดาจำเลยกับบิดาโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การของจำเลยที่ยกขึ้นอ้างต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ก็เพื่อนำไปสู่ข้อวินิจฉัยข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งดังนั้นเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเหตุใดโจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่บิดาจำเลยทำกับบิดาโจทก์เพื่อบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาอย่างไรเช่นนี้เท่ากับฟ้องแย้งของจำเลยมิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงเป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุมศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยหาใช่ไม่ตรงประเด็นที่กำหนดไว้ไม่ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าบิดาโจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเมื่อบิดาจำเลยตามสิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยจำเลยจึงย่อมมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจนกว่าจะครบสัญญานั้นเป็นปัญหาคำขอบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลยเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วปัญหาข้อนี้จึงตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ย และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัด เมื่อบรรยายฟ้องก็กล่าวถึงเวลาขอเปิดบัญชีในวงเงินที่กำหนด และมีการเบิกจ่ายเงินและชำระหนี้กันเป็นระยะเวลาหลายปี จนถึงผลสุดท้ายก็มียอดหนี้ของจำเลยทั้งสองรวมทั้งดอกเบี้ย แม้เอกสารการ์ดบัญชีที่แสดงว่าเป็นหนี้กันอยู่จะแนบมาพร้อมฟ้องเพียงบางส่วน ก็นับว่าชัดแจ้งพอที่จะเข้าใจข้อหาและจำนวนหนี้ได้ดี ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองมิได้ต่อสู้คดีไว้ว่าจะต้องรับผิดไม่เกิน 200,000 บาทตามสัญญาเท่านั้น เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องประการใดบ้าง กลับโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
เมื่อหนี้ยังไม่ระงับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่ดอกเบี้ยที่คิดมาในฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบ สมควรให้คิดใหม่โดยพิพากษาให้ยกฟ้องและไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ซึ่งเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม, หนี้ยังไม่ระงับ, ดอกเบี้ยไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดเมื่อบรรยายฟ้องก็กล่าวถึงเวลาขอเปิดบัญชีในวงเงินที่กำหนดและมีการเบิกจ่ายเงินและชำระหนี้กันเป็นระยะเวลาหลายปีจนถึงผลสุดท้ายก็มียอดหนี้ของจำเลยทั้งสองรวมทั้งดอกเบี้ยแม้เอกสารการ์ดบัญชีที่แสดงว่าเป็นหนี้กันอยู่จะแนบมาพร้อมฟ้องเพียงบางส่วนก็นับว่าชัดแจ้งพอที่จะเข้าใจข้อหาและจำนวนหนี้ได้ดีฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งสองมิได้ต่อสู้คดีไว้ว่าจะต้องรับผิดไม่เกิน200,000บาทตามสัญญาเท่านั้นเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องประการใดบ้างกลับโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเกิน200,000บาทจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เมื่อหนี้ยังไม่ระงับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาแต่ดอกเบี้ยที่คิดมาในฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบสมควรให้คิดใหม่โดยพิพากษาให้ยกฟ้องและไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ซึ่งเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอม ทางจำเป็น และการฟ้องร้องที่มิเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ซึ่งซื้อมาจากเจ้าของเดิมอยู่ติดกับที่ดินจำเลยและมีที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะระหว่างที่ดินโจทก์กับทางสาธารณะมีที่ดินจำเลยคั่นอยู่และมีทางพิพาทจากที่ดินโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะก่อนโจทก์ซื้อที่ดินเจ้าของเดิมได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า10ปีทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นและตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวก็ได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันตลอดมาต่อมาจำเลยนำเสาปูนมาปักกั้นทางพิพาทจึงขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทเช่นนี้จะเห็นได้ว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมซึ่งต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาว่าที่ดินจำเลยและที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือเจ้าของเดิมก็ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันก่อนขายให้โจทก์เป็นเวลานานเกินกว่า10ปีแล้วทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิมาปิดกั้นทางพิพาทคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเพียงแต่ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียง2ประเด็นขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มอีก1ข้อคือ"บริเวณที่ดินที่เป็นทางพิพาทตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่"หากศาลไม่อนุญาตขอถือเอาคำแถลงนี้เป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงประเด็นที่กำหนดไว้เดิมจึงไม่อนุญาติ"จำเลยก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ฉะนั้นจะถือเอาคำแถลงของจำเลยฉบับนั้นเป็นคำโต้แย้งไม่ได้จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น/ภาระจำยอม: การฟ้องขอเปิดทางผ่านที่ดินของผู้อื่น การกำหนดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ซึ่งซื้อมาจากเจ้าของเดิมอยู่ติดกับที่ดินจำเลยและมีที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ระหว่างที่ดินโจทก์กับทางสาธารณะมีที่ดินจำเลยคั่นอยู่และมีทางพิพาทจากที่ดิน โจทก์ผ่านที่ดินจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะ ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินเจ้าของเดิมได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นและตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวก็ได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันตลอดมา ต่อมาจำเลยนำเสาปูนมาปักกั้นทางพิพาท จึงขอให้จำเลยเปิดทางพิพาท เช่นนี้จะเห็นได้ว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอม ซึ่งต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินจำเลยและที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือเจ้าของเดิมก็ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันก่อนขายให้โจทก์เป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิมาปิดกั้นทางพิพาท คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเพียงแต่ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียง 2 ประเด็น ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มอีก 1 ข้อ คือ "บริเวณที่ดินที่เป็นทางพิพาทตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่"หากศาลไม่อนุญาต ขอถือเอาคำแถลงนี้เป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงประเด็นที่กำหนดไว้เดิม จึงไม่อนุญาต" จำเลยก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จะถือเอาคำแถลงของจำเลยฉบับนั้นเป็นคำโต้แย้งไม่ได้ จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) 
of 74