พบผลลัพธ์ทั้งหมด 735 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6577/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อการปฏิเสธจ่ายค่ารักษาพยาบาล และการชำระเบี้ยประกันภัยเกินกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยผ่านจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งเบี้ยประกันภัยทุกปี ต่อมาโจทก์ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอันเป็นการผิดสัญญา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ส่งไป ค่ารักษาพยาบาล และค่าพาหนะเดินทางไปรักษาพยาบาล อันเป็นการเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 และมาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอมานั้นจะเรียกได้หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5839/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าก่อสร้างด้วยเช็ค การพิสูจน์ภาระหน้าที่ และความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองใช้เงินตามเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาท และแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าก่อสร้าง จำเลยทั้งสองให้การรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์จริง แต่อ้างว่าเป็นการออกเช็คเพื่อให้โจทก์นำไปเป็นหลักประกันค่ายืมวัสดุก่อสร้าง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ค่าก่อสร้างแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าเช็คพิพาททั้งหกฉบับไม่มีมูลหนี้ จำเลยทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของตน
เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าก่อสร้าง จำเลยทั้งสองให้การรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์จริง แต่อ้างว่าเป็นการออกเช็คเพื่อให้โจทก์นำไปเป็นหลักประกันค่ายืมวัสดุก่อสร้าง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ค่าก่อสร้างแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าเช็คพิพาททั้งหกฉบับไม่มีมูลหนี้ จำเลยทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลไม่ควรบังคับให้ผู้ร้องนำเอกสารที่ไม่ใช่ข้อบังคับมาพร้อมคำร้อง ขอให้รับคำร้องและไต่สวน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ผู้ตาย โดยบรรยายคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย เป็นบุตรของ บ. และ ห. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน บิดามารดาและพี่น้องบางคนได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้ร้องถึงแก่ความตายโดยไม่เคยแต่งงานและไม่มีบุตร ผู้ตายมีทรัพย์มรดกและมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก คำร้องขอของผู้ร้องได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องเป็นทายาทที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นคำร้องที่สมบูรณ์และชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 171 ประกอบมาตรา 172 วรรคสอง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งรับคำร้องไว้ไต่สวนต่อไป
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายซึ่งรับรองโดยเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อศาลภายใน 7 วัน จึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ มิฉะนั้นถือว่าไม่รับ แม้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ก็ตาม แต่หนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายดังกล่าวไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำร้องขอ คงเป็นเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบได้ในชั้นไต่สวนว่า บิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตาย และอาจส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานต่อศาลในชั้นไต่สวนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ แม้ผู้ร้องจะมิได้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นก็จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องที่ยื่นโดยชอบแล้วหาได้ไม่และกรณีไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ด้วยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ไต่สวนแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งทิ้งคำร้องจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายโดยให้รับคำร้องขอแล้วดำเนินการไต่สวนต่อไปตามรูปคดีต่อไป
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายซึ่งรับรองโดยเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อศาลภายใน 7 วัน จึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ มิฉะนั้นถือว่าไม่รับ แม้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ก็ตาม แต่หนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายดังกล่าวไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำร้องขอ คงเป็นเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบได้ในชั้นไต่สวนว่า บิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตาย และอาจส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานต่อศาลในชั้นไต่สวนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ แม้ผู้ร้องจะมิได้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นก็จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องที่ยื่นโดยชอบแล้วหาได้ไม่และกรณีไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ด้วยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ไต่สวนแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งทิ้งคำร้องจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายโดยให้รับคำร้องขอแล้วดำเนินการไต่สวนต่อไปตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14217/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้าง ตัวการ และลูกจ้าง/ตัวแทน จากการกระทำละเมิดในการซ่อมแซมเรือ
โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย เรือ พ. จากบริษัท อ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอู่ต่อเรือ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการเรือ พ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมเรือและเข้าร่วมซ่อมแซมเรือกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับจ้างซ่อมแซมเรือ พ. จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และ/หรือเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาทำการว่าจ้าง วาน ใช้ หรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 ให้ดำเนินการซ่อมแซมเรือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของเรือ พ. โดยจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาททำให้เกิดเพลิงลุกไหม้เรือ พ. จนได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์ยืนยันว่าเหตุละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 หากพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วได้ความตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ไม่ว่าในฐานะตัวการตัวแทนหรือนายจ้างลูกจ้าง เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 427 ให้นำมาตรา 425 และ 426 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของนายจ้างเพื่อผลละเมิดของลูกจ้างซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างบังคับแก่กรณีตัวการตัวแทนโดยอนุโลม ทั้งจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 อาจต้องร่วมรับผิดทั้งการกระทำละเมิดและการกระทำผิดสัญญาจ้างซ่อมแซมเรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาจึงไม่ได้ขัดแย้งกัน ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9489/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทำละเมิดต่อรถเช่าซื้อ แม้จะขายซากรถแล้ว ก็ยังฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อขับรถบรรทุกชนท้ายรถโดยสาร ทำให้รถโดยสารที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น และเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ข้อ ก. เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ต้องนำรถโดยสารไปซ่อมเป็นจำนวนเงินตามบัญชีใบประเมินราคาการซ่อม ค่าเสียหายส่วนที่โจทก์ฟ้องมาตามฟ้องข้อ ก. โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นค่าซ่อมรถโดยตรง เพียงแต่โจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้โดยอิงกับใบประเมินราคา ซึ่งหากมีการซ่อมรถก็มีรายการและราคาตามใบประเมินราคานี้ ดังนั้น แม้รถโดยสารจะถูกผู้ให้เช่าซื้อขายไปในลักษณะขายซากรถโดยไม่ได้รับการซ่อมหรือไม่ หรือโจทก์ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ให้เช่าซื้อขายซากรถไปโดยที่ยังไม่ได้รับการซ่อมหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถโดยตรง แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยกระทำละเมิดทำให้รถโดยสารที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ได้รับความเสียหาย โจทก์ผู้เช่าซื้อย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องข้อ ก. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องในคดีประกันภัย การบรรยายฟ้องต้องให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหา แม้รายละเอียดบางส่วนจะวินิจฉัยในชั้นพิจารณาได้
คำบรรยายฟ้องใดจะชัดเจนหรือไม่ เพียงใด จำต้องพิจารณาเหตุแห่งข้ออ้างทั้งหลายประกอบเอกสารที่แนบไว้ท้ายคำฟ้องว่าเพียงพอให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ ทั้งต้องไม่มีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์แล้วแม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถแท็กซี่ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ฝ. ขับรถแท็กซี่โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ฝ. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ฝ. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ณ. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด คำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถแท็กซี่ไว้จาก ฝ. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ฝ. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากคำฟ้องของโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ฝ. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องประกันภัย: จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยโดยตรง
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า อ. ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัย เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย จำเลยให้การรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน ทน 8489 กรุงเทพมหานคร ที่ อ. เป็นผู้ขับจึงอาจต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้ว เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 867 บัญญัติว่า "สัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และวรรคสองของมาตราดังกล่าวกำหนดหน้าที่ของผู้รับประกันภัยว่าผู้รับประกันภัยจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความถูกต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง และกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุที่เอาประกันภัย ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง ราคาแห่งมูลประกันภัยถ้าได้กำหนดกันไว้ จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย ถ้าหากสัญญามีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย ชื่อของผู้รับประโยชน์ถ้าจะมี วันทำสัญญาประกันภัย และสถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของทรัพย์สินในลานจอดรถ และขอบเขตความรับผิด
การที่โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา จึงมีหน้าที่ต้องตรวจตราดูแลทรัพย์สินของลูกค้า แต่จำเลยที่ 1 และพนักงานไม่ตรวจตราดูแลให้ดี ทำให้มีคนเข้ามาลักเอารถยนต์ไป จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้เข้าพักในโรงแรม ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 โต้เถียงบรรยายโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ม. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทระบุเวลาที่รถหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2549 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่ตรงกันนั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของผู้บันทึก ไม่ใช่ ม. แจ้งแตกต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเฉพาะทรัพย์สินที่สูญหายภายในห้องพัก แต่ลานจอดรถอยู่ด้านนอกโรงแรม และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับฝากรถยนต์ จึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่จอดไว้นั้น เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 674 และมาตรา 675 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา แม้ความสูญหายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม ก็ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ม. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทระบุเวลาที่รถหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2549 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่ตรงกันนั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของผู้บันทึก ไม่ใช่ ม. แจ้งแตกต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเฉพาะทรัพย์สินที่สูญหายภายในห้องพัก แต่ลานจอดรถอยู่ด้านนอกโรงแรม และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับฝากรถยนต์ จึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่จอดไว้นั้น เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 674 และมาตรา 675 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา แม้ความสูญหายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม ก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขาดสาระสำคัญประเด็นความรับผิดร่วม ละเมิด ไม่แจ้งชัด ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
ตามคำฟ้องเป็นการฟ้องคดีในมูลละเมิด แม้จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 รับขนส่งช่วง จำเลยที่ 3 นำเรือไปบรรทุกโดยให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมเรือ ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การว่าจำเลยที่ 2 เช่าเรือไปจากจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 คำฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และมาตรา 427 คำฟ้องโจทก์จึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้ในทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ และศาลจะพิพากษาคดีให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจนถึงการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาให้ยกฟ้อง
คำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า " ในระหว่างเวลาที่จำเลยทั้งเก้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารสหกรณ์อยู่นั้น ปรากฏว่าจำเลยทั้งเก้าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ กล่าวคือ มีการทุจริตโดยการอ้างว่ามีสมาชิกของสหกรณ์มาขอกู้ยืมเงินไป เมื่อมีการตรวจสอบปรากฏว่าเป็นความเท็จและเงินในบัญชีอีกส่วนหนึ่งได้ขาดหายไป การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งเก้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์โจทก์เป็นจำนวนเงิน 3,806,173.44 บาท..." เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยทั้งเก้ารับผิดในมูลละเมิดซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่า จำเลยทั้งเก้าได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างใดถึงได้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ กล่าวคือ จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไรจนเป็นเหตุให้ ธ. และ น. ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ แต่ตามคำฟ้องดังกล่าว โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำเช่นว่านั้นเลย คงกล่าวเพียงว่าจำเลยทั้งเก้าจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เท่านั้น ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง