พบผลลัพธ์ทั้งหมด 735 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องและหลักความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง โดยขับรถยนต์คันดังกล่าวไปด้วยความเร็วสูง ทำให้รถยนต์คันดังกล่าวเสียหลักพุ่งชนการ์ดเรล เสา และราวบันไดของโจทก์เสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ถูกชำระบัญชี ไม่เป็นสัญญาซื้อขายความกัน
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นนิติกรรมนอกวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว และโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดเมื่อการกระทำสิ้นสุดแล้ว คดีปกครองเพิกถอนคำสั่งอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์หลังการถ่ายทำเสร็จสิ้นและมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 290 พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มาตรา 23 และ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ มาตรา 45 แสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 พยายามทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 กระทำหรือขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติได้ ซึ่งรวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้ด้วย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ จะเห็นได้ว่า คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ ดังนั้นยังไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้วโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยกรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญ เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิด ทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิม แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไรถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหายหรือเกิดมลพิษอย่างไรก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำมาสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันวางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท ถ้าจำเลยทั้งห้าไม่วางเงินประกัน ให้ศาลมีคำสั่งห้ามกระทำการใดๆ เพื่อกระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา เป็นคำขอห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุงแตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายทำภายพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้ได้
แม้คำสั่งทางการปกครองที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนได้ แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนก็เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้วการเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใดดังนั้น คำขอที่ให้มีคำสั่งว่าการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี เป็นโมฆะ เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าทำการถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณหาดมาหยานั้น จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ จะเห็นได้ว่า คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ ดังนั้นยังไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้วโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยกรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญ เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิด ทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิม แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไรถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหายหรือเกิดมลพิษอย่างไรก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำมาสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันวางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท ถ้าจำเลยทั้งห้าไม่วางเงินประกัน ให้ศาลมีคำสั่งห้ามกระทำการใดๆ เพื่อกระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา เป็นคำขอห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุงแตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายทำภายพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้ได้
แม้คำสั่งทางการปกครองที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนได้ แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนก็เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้วการเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใดดังนั้น คำขอที่ให้มีคำสั่งว่าการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี เป็นโมฆะ เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าทำการถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณหาดมาหยานั้น จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรยาจากสมุนไพร กวาวเครือ ที่ไม่เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องการผลิตทางอุตสาหกรรม ไม่เป็นประโยชน์ทางอุตสาหกรรม คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และต้องแสดงการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง สัญญาค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ทำให้มีสิทธิฟ้องแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-อายุความ: การซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การแก้ไขคำฟ้อง และการเริ่มนับอายุความ
แม้คำฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจำพวกฟิล์มจากโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องแล้วว่า เป็นสินค้าจำพวกแผ่นรองพิมพ์เพื่อให้ตรงกับที่ระบุในสัญญาซื้อขาย แม้จะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่ระบุในสัญญาซื้อขายท้ายคำฟ้อง จึงหาทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดไม่คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายและแสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ สินค้าที่ซื้อขาย ใบแจ้งหนี้ทางการค้าและการส่งสินค้าให้แก่จำเลย จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การซื้อขายสินค้าดังกล่าวตกลงชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันที่ลงในใบตราส่ง คือนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 จำเลยจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 หากจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากจำเลยได้นับแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 จึงยังอยู่ในระยะเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การซื้อขายสินค้าดังกล่าวตกลงชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันที่ลงในใบตราส่ง คือนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 จำเลยจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 หากจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากจำเลยได้นับแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 จึงยังอยู่ในระยะเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม การประเมิน การอุทธรณ์ และดอกเบี้ยที่จำเลยต้องจ่าย
การที่โจทก์กู้เงินจากธนาคารในต่างประเทศไปลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท อ. โดยโจทก์เสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้แล้วบริษัท อ. นำเงินทุนทั้งหมดไปให้บริษัท ท. กู้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยเจตนาทำให้ต้นทุนของบริษัท ท. ต่ำลงและมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าผลกำไรย่อมเกิดขึ้นแก่บริษัท ท. ซึ่งเป็นอีกนิติบุคคลหนึ่งต่างหากจากโจทก์ รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายเพื่อให้เกิดกำไรแก่นิติบุคคลอื่น เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) ส่วนค่าจ้างผู้สอบบัญชีและนักกฎหมายในต่างประเทศที่โจทก์จ่ายไปในการตรวจสอบฐานะและทรัพย์สินของบริษัท ท. เพื่อให้บริษัท ฮ. และบริษัท อ. เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท ท. เป็นรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ฮ. และบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่นต่างหากจากโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) เช่นเดียวกัน
ตามสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าของอีเอ็ม 2 มีความว่า โจทก์จ่ายเงินจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการให้บริการด้านการตลาดและการค้าอันเกี่ยวกับลูกค้า โดยบริษัทอีเอ็ม 2 ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลที่จำเป็นของลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 และอื่น ๆ แก่โจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์ ข้อสัญญาดังกล่าวต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ต้องการเลิกสัญญาผู้จัดจำหน่ายกับบริษัทอีเอ็ม 2 ก่อนครบกำหนดเวลาและเพื่อให้โจทก์สามารถเข้าไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่เป็นการผิดสัญญาผู้จัดจำหน่ายระหว่างโจทก์กับบริษัทอีเอ็ม 2 ข้อตกลงการเลิกสัญญาจึงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ ส่วนสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าฯก็ทำให้โจทก์ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับลูกค้า เป็นต้นว่า ชื่อ ที่อยู่ ราคาและข้อตกลงทางการค้าของสิ่งที่บริษัทอีเอ็ม 2 จำหน่ายแก่ลูกค้า อันเป็นข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางพาณิชยกรรมของบริษัทอีเอ็ม 2 การที่โจทก์จ่ายเงินเพื่อให้ได้สิทธิในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับข้อมูลข้อสนเทศเกี่ยวกับการตลาดและลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แต่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 และการที่โจทก์จ่ายเงินค่าสิทธิอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งพร้อมยื่นรายการตามแบบตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง
ตามอนุสัญญาฯระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ข้อ 2 และ 11 เห็นได้ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ฝ่ายคู่สัญญาผู้กู้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยคือโจทก์ส่งไปให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ ต่อเมื่อผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์นั้นเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องหนี้เช่นว่านั้น และดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินได้ของผู้รับนั้นซึ่งต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสี่ให้เห็นว่าธนาคารสาขาในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ผู้รับเงินดอกเบี้ยจากโจทก์เป็นคู่สัญญาผู้ให้กู้และเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเงินดอกเบี้ยจากโจทก์ ลำพังแต่ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าผู้รับดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินดอกเบี้ยของโจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ
โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อของเดือนภาษีพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2538 มาคำนวณเป็นภาษีซื้อของเดือนมกราคม 2539 เนื่องจากความล่าช้าของฝ่ายบัญชีของโจทก์ ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เอง ใบกำกับภาษีซื้อมีผลโดยตรงต่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี ใบกำกับภาษีซื้อที่ล่วงเลยกำหนดเวลาการใช้ย่อมไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากนำมาใช้ย่อมมีผลทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีที่มีการใช้ลดน้อยลงจากที่ต้องชำระจริง อาจถึงขนาดได้รับคืนภาษีหรือได้รับคืนภาษีสูงกว่าที่มีสิทธิได้รับ จึงเป็นกรณีที่อาจเกิดความเสียหายได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับแก่โจทก์ ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี จึงลดเบี้ยปรับลงคงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 เหมาะสมแล้ว
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ยกความว่า "แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอื่นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1" ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือแจ้งการประเมินเพราะโจทก์ไม่ยอมรับการประเมินและได้อุทธรณ์โต้แย้ง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 จึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้ ทั้งโจทก์ยังได้รับอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีในระหว่างการอุทธรณ์แล้ว ไม่ใช่ข้อที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
แม้ภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีนี้จะเป็นภาษีที่เกิดจากรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 เพียงปีเดียว แต่ภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับเป็นภาษีคนละประเภทภายใต้บังคับกฎหมายคนละบทมาตรา คำนวณจากเงินคนละจำนวน มีวิธีการคำนวณและกำหนดเวลาชำระแตกต่างกัน ทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงเป็นคนละข้อหาคนละคดีแยกต่างหากจากกัน คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าของอีเอ็ม 2 มีความว่า โจทก์จ่ายเงินจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการให้บริการด้านการตลาดและการค้าอันเกี่ยวกับลูกค้า โดยบริษัทอีเอ็ม 2 ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลที่จำเป็นของลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 และอื่น ๆ แก่โจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์ ข้อสัญญาดังกล่าวต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ต้องการเลิกสัญญาผู้จัดจำหน่ายกับบริษัทอีเอ็ม 2 ก่อนครบกำหนดเวลาและเพื่อให้โจทก์สามารถเข้าไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่เป็นการผิดสัญญาผู้จัดจำหน่ายระหว่างโจทก์กับบริษัทอีเอ็ม 2 ข้อตกลงการเลิกสัญญาจึงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ ส่วนสัญญาซื้อขายฐานลูกค้าฯก็ทำให้โจทก์ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับลูกค้า เป็นต้นว่า ชื่อ ที่อยู่ ราคาและข้อตกลงทางการค้าของสิ่งที่บริษัทอีเอ็ม 2 จำหน่ายแก่ลูกค้า อันเป็นข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางพาณิชยกรรมของบริษัทอีเอ็ม 2 การที่โจทก์จ่ายเงินเพื่อให้ได้สิทธิในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับข้อมูลข้อสนเทศเกี่ยวกับการตลาดและลูกค้าของบริษัทอีเอ็ม 2 เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แต่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 และการที่โจทก์จ่ายเงินค่าสิทธิอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัทอีเอ็ม 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งพร้อมยื่นรายการตามแบบตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง
ตามอนุสัญญาฯระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ข้อ 2 และ 11 เห็นได้ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ฝ่ายคู่สัญญาผู้กู้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยคือโจทก์ส่งไปให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ ต่อเมื่อผู้รับซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์นั้นเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องหนี้เช่นว่านั้น และดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินได้ของผู้รับนั้นซึ่งต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสี่ให้เห็นว่าธนาคารสาขาในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ผู้รับเงินดอกเบี้ยจากโจทก์เป็นคู่สัญญาผู้ให้กู้และเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเงินดอกเบี้ยจากโจทก์ ลำพังแต่ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าผู้รับดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินดอกเบี้ยของโจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามอนุสัญญาฯ
โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อของเดือนภาษีพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2538 มาคำนวณเป็นภาษีซื้อของเดือนมกราคม 2539 เนื่องจากความล่าช้าของฝ่ายบัญชีของโจทก์ ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เอง ใบกำกับภาษีซื้อมีผลโดยตรงต่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี ใบกำกับภาษีซื้อที่ล่วงเลยกำหนดเวลาการใช้ย่อมไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากนำมาใช้ย่อมมีผลทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีที่มีการใช้ลดน้อยลงจากที่ต้องชำระจริง อาจถึงขนาดได้รับคืนภาษีหรือได้รับคืนภาษีสูงกว่าที่มีสิทธิได้รับ จึงเป็นกรณีที่อาจเกิดความเสียหายได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับแก่โจทก์ ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี จึงลดเบี้ยปรับลงคงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 เหมาะสมแล้ว
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ยกความว่า "แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอื่นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1" ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือแจ้งการประเมินเพราะโจทก์ไม่ยอมรับการประเมินและได้อุทธรณ์โต้แย้ง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 จึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้ ทั้งโจทก์ยังได้รับอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีในระหว่างการอุทธรณ์แล้ว ไม่ใช่ข้อที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29
แม้ภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีนี้จะเป็นภาษีที่เกิดจากรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 เพียงปีเดียว แต่ภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับเป็นภาษีคนละประเภทภายใต้บังคับกฎหมายคนละบทมาตรา คำนวณจากเงินคนละจำนวน มีวิธีการคำนวณและกำหนดเวลาชำระแตกต่างกัน ทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงเป็นคนละข้อหาคนละคดีแยกต่างหากจากกัน คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในห้างหุ้นส่วนจำกัด: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการสอดเข้าไปจัดการงาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการโดยไม่จำกัดจำนวน โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญที่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิด จึงถือไม่ได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเนื่องจากสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แม้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำฟ้อง กรณีไม่อาจให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ขอให้บังคับทางสาธารณะ/ภาระจำยอม/จำเป็น ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เจ้าของที่ดินยกทางเดินให้ที่ดินเป็นทางสาธารณะ โจทก์ทั้งห้าใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งห้าสู่ทางสาธารณะเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ที่ดินของโจทก์ทั้งห้ามีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นนั้น แม้จะเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ทางพิพาทเป็นทางสามประเภทดังกล่าว แต่ก็ได้แสดงลักษณะของการเป็นทางในแต่ละประเภทนั้นไว้ และฟ้องดังกล่าวมีคำขอให้บังคับเกี่ยวกับทางพิพาทประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงประเภทเดียวในจำนวนนั้น ซึ่งทางพิพาทจะเข้าลักษณะเป็นทางประเภทใด ย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณารับฟังข้อเท็จจริง หากได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางประเภทใด ศาลย่อมพิพากษาและบังคับตามคำขออย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่พิจารณาได้ความ ทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธฟ้องโดยสิ้นเชิงว่า ทางพิพาทไม่ได้เป็นทางทั้งสามประเภทดังกล่าวอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม