พบผลลัพธ์ทั้งหมด 735 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6643/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดแย้งในคำให้การของผู้ค้ำประกันส่งผลต่อประเด็นข้อพิพาท และการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม
ประเด็นข้อพิพาทย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และในคดีแต่ละเรื่องอาจมีประเด็นข้อพิพาทมากกว่าหนึ่งประเด็นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำให้การต่อสู้ของจำเลย ประเด็นใดที่จำเลยให้การไม่ชัดเจนย่อมถือว่าจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องนั้นเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทอื่นที่จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วไม่ได้ คำให้การของจำเลยที่ 3 ที่ขัดกันเองเฉพาะประเด็นเรื่องเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ในประเด็นนี้เท่านั้น ส่วนประเด็นเรื่องฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมนั้นเป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยให้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยและคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม-ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยที่ดินนอกโฉนดชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงที่ตั้งที่ดินพิพาท ที่ดินส่วนที่ให้จำเลยอาศัยวันที่จำเลยทำรั้วล้อมรอบปิดกั้นทางเดินเข้าออก แม้ไม่ระบุถึงอาณาเขตที่ดินพิพาทเป็นอย่างไร ถึงไหน จดที่ดินของใคร กว้างยาวเท่าใด ก็สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คดีนี้แม้จะมีการทำแผนที่พิพาท และคู่ความแถลงรับกันว่าที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวาอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์ ที่ดินเนื้อที่ 28 ตารางวา อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์แต่โจทก์ฟ้องที่ดินพิพาททั้ง 2 ส่วนรวมกันมาเป็น 59 ตารางวา ประเด็นพิพาทที่ศาลกำหนดมีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์เพียง 28 ตารางวา เท่านั้น ส่วนที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวา อยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากเขตที่ดินของโจทก์ ทั้งให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไปด้วยเท่ากับยกฟ้องในที่ดินส่วนเนื้อที่ 31 ตารางวา ที่จำเลยนำชี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้วินิจฉัยถึงที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวา ซึ่งอยู่นอกเขตของโจทก์จึงชอบแล้ว
คดีนี้แม้จะมีการทำแผนที่พิพาท และคู่ความแถลงรับกันว่าที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวาอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์ ที่ดินเนื้อที่ 28 ตารางวา อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์แต่โจทก์ฟ้องที่ดินพิพาททั้ง 2 ส่วนรวมกันมาเป็น 59 ตารางวา ประเด็นพิพาทที่ศาลกำหนดมีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์เพียง 28 ตารางวา เท่านั้น ส่วนที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวา อยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากเขตที่ดินของโจทก์ ทั้งให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไปด้วยเท่ากับยกฟ้องในที่ดินส่วนเนื้อที่ 31 ตารางวา ที่จำเลยนำชี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้วินิจฉัยถึงที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวา ซึ่งอยู่นอกเขตของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดเล็กน้อย ศาลฎีกาชี้ ประเด็นสำคัญคือแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง มิได้บังคับโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องโดยแจ้งชัดด้วยตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์มุ่งประสงค์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระหนี้ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอันมีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ทำละเมิดเป็นพนักงานและหรือตัวแทนและหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 แสดงตัวรับสภาพความรับผิดต่อพนักงานของโจทก์ การที่ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะชื่ออะไร รถยนต์คันเกิดเหตุจะหมายเลขทะเบียนอะไร ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญและเมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิเดิมฟ้องเพิกถอนได้หากพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิที่ดีกว่า
ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ที่แสดงให้พอเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับมิใช่ต้องแสดงโดยแจ้งชัดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายตราเป็ดว่ายน้ำและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาตั้งแต่ปี 2521 จนถึงปัจจุบัน ส่วนเครื่องหมายตราเป็ดยืนโจทก์จดทะเบียนรับโอนมาจากผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อน แต่ต่อมาโจทก์ไม่ได้ขอต่ออายุการจดทะเบียนจึงถูกเพิกถอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าว จากนั้นจำเลยซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและนายทะเบียนก็รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่จำเลย อันเป็นการขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งตามคำฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย อันเป็นเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองหากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยก็ตามแต่ก็เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั่นเอง ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีสิทธิดีกว่าจำเลย แต่จำเลยนำไปจดทะเบียนการค้าโดยไม่สุจริตก็เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว และกรณีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าผู้ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องผู้ที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้แล้วนั้นพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 ก็ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหากโจทก์แสดงได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อแสดงว่าใครเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน ซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ เพราะเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็มีผลบังคับเป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นเอง โจทก์เพียงแต่นำคำพิพากษาไปแสดงแก่นายทะเบียนเพื่อจดแจ้งทางทะเบียนให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ต้องฟ้องเพื่อให้ศาลบังคับนายทะเบียนแต่อย่างใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, ความเคลือบคลุมของฟ้อง, สัญญาจองสิทธิการเช่าปิดอากรแสตมป์, การยกเลิกสัญญา
ค่าภาษีและค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ได้จัดขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาดไอเย็น แสงสว่าง สิ่งอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวกอันเป็นส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ตามข้อตกลงในสัญญาจองสิทธิการเช่า มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จึงมีอายุความเช่นเดียวกับ ค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) คือ มีอายุความ 5 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจองสิทธิการเช่าร้านค้ากับโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยค้างชำระค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนสิงหาคม 2539 เมื่อคิดหักกับเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่จำเลยชำระแล้วและเงินค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ยกเว้นให้ในเดือนกันยายน 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 8,342,661.82 บาท ตามหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งตามหนังสือดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ว่าหลังจากทำสัญญาจองสิทธิการเช่าแล้ว โจทก์กับจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเช่าและอัตราค่าเช่าใหม่ เมื่ออ่านคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่จากที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจองสิทธิการเช่า จึงทำให้หนี้ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์เรียกร้องตามคำฟ้องไม่ตรงกับอัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่า ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่ เพียงแต่อ้างว่าได้เปลี่ยนคู่สัญญาไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจองสิทธิการเช่าจะบันทึกสัญญาเช่าซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์ มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าว แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่และสัญญาอื่นที่จะทำขึ้นต่อไป จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจองสิทธิการเช่าร้านค้ากับโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยค้างชำระค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนสิงหาคม 2539 เมื่อคิดหักกับเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่จำเลยชำระแล้วและเงินค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ยกเว้นให้ในเดือนกันยายน 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 8,342,661.82 บาท ตามหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งตามหนังสือดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ว่าหลังจากทำสัญญาจองสิทธิการเช่าแล้ว โจทก์กับจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเช่าและอัตราค่าเช่าใหม่ เมื่ออ่านคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่จากที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจองสิทธิการเช่า จึงทำให้หนี้ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์เรียกร้องตามคำฟ้องไม่ตรงกับอัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่า ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่ เพียงแต่อ้างว่าได้เปลี่ยนคู่สัญญาไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจองสิทธิการเช่าจะบันทึกสัญญาเช่าซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์ มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าว แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่และสัญญาอื่นที่จะทำขึ้นต่อไป จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การรับผิดชอบราคารถยนต์ที่สูญหายจากโจรภัย และการคำนวณค่าเสียหายที่เหมาะสม
คำฟ้องของโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน แม้มิได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่โจทก์ได้แนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา และโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อโดยอ้างส่งสัญญาเช่าซื้อต่อศาล เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่าหากทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย สูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ คำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่โดยอ้างว่าเป็นเงินส่วนที่โจทก์ขาดทุน เมื่อค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้น ก็คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดซึ่งก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 จึงเป็นการกำหนดประเด็นที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่โดยอ้างว่าเป็นเงินส่วนที่โจทก์ขาดทุน เมื่อค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้น ก็คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดซึ่งก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 จึงเป็นการกำหนดประเด็นที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกในคำฟ้องเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย 202,314 บาท และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ยอมรับผิดทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแต่เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่า คำฟ้องโจทก์มุ่งเน้นเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใดและราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย และแม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาก็มีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวน และความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องรายละเอียดการยักยอก ทำให้คำฟ้องเคลือบคลุม แม้ฟ้องตามสัญญา ก็ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามสัญญา การที่โจทก์นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองแม้เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีกำหนดจำนวนแน่นอน มิได้ฟ้องจะให้รับผิดในมูลหนี้ละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์มุ่งเน้นถึงการเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญ ดังนั้นโจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้องโดยกล่าวแสดงให้แจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: คดีไม่ขาดอายุความเมื่อฟ้องภายใน 10 ปีนับจากวันเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวบรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าของโจทก์ตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน และจำเลยที่ 1ตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย แม้คำฟ้องจะใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่า และถือได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าประการหนึ่ง และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าอีกประการหนึ่งซึ่งค่าเสียหายทั้งสองกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: พิจารณาจากเหตุแห่งการฟ้องเรียกร้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวบรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าของโจทก์ตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน และจำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย แม้คำฟ้องจะใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่า และถือได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าประการหนึ่ง และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าอีกประการหนึ่ง ซึ่งค่าเสียหายทั้งสองกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30