คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังผิดกฎหมายสิ้นสุดเมื่อมีการฟ้องคดีและจำเลยถูกขังตามหมายขังของศาล
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไวัโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาล แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยและจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลแล้ว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องที่ว่า การควบคุม พ. ในชั้นสอบสวน ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาล ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอปล่อยตัวจากการคุมขังมิชอบระงับเมื่อมีหมายขังจากศาล
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจค้น จับกุมและคุมขังผู้ร้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดที่ผู้ร้องอ้างว่าการค้น จับกุมและคุมขังโดยมิชอบ เมื่อการคุมขังเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับ
การตรวจค้น จับกุมและการคุมขังของเจ้าพนักงานตำรวจชั้นแรกเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน ทั้งการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อผู้ร้องถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลและศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 58 (4), 71 และ 88 ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้แล้ว การคุมขังผู้ร้องจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการฝากขังและการคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งปล่อยตัวได้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอฝากขังของพนักงานสอบสวนต่อศาลชั้นต้นได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว การคุมขังผู้ร้อง ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาล และการคุมขังในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกับการคุมขังในระหว่างการขอฝากขังของพนักงานสอบสวน เมื่อการคุมขังในขั้นตอนของการฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถจะสั่ง ตามคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 90 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น: เหตุจำเป็นเร่งด่วน และความชอบด้วยกฎหมาย
การร้องขอให้ปล่อยตัวโดยอ้างว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240 กำหนดให้ศาลไต่สวนพยานผู้ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวโดยด่วนก่อน เมื่อศาลเห็นว่าคำร้องมีมูล ศาลจึงจะสั่งให้ผู้คุมขังนำตัวผู้ถูกคุมขังไปศาล และเป็นหน้าที่ของผู้คุมขังต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจของศาลว่าการคุมขังเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นก็จะสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง ทั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้คุมขังต้องนำพยานมาสืบ เพียงแต่ให้ผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเป็นการคุมขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การไต่สวนและการระบุอ้างพยานในชั้นนี้จึงไม่จำต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในกฎหมายวิธีสบัญญัติเรื่องการสืบพยานในคดี ดังนั้น แม้ผู้คุมขังมิได้ยื่นคำคัดค้านและมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก็ตาม ก็สามารถนำพยานเข้าไต่สวนและอ้างส่งเอกสารได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมยังใช้บังคับต่อไปได้
แม้พันตำรวจเอก ป. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร กับพวกค้นบ้านผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้นของศาลก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 238 ได้บัญญัติยกเว้นให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ได้แก่ ป.วิ.อ. มาตรา 92
ก่อนจะค้นบ้านผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จับกุม ท. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ท. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ต้องหา ขณะจับกุม ท. เป็นเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ในขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนั้นพันตำรวจเอก ป. ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมจะทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนของกลางอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ที่บัญญัติว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน ดังนั้น การค้นบ้านผู้ต้องหาจึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว