คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1365

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, กรรมสิทธิ์รวม, อายุความ, และอำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท และให้จำเลยทั้งสองแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของ ส. ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. เจ้ามรดกเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท สภาพแห่งข้อหาคือ ที่ดิน มรดก และกรรมสิทธิ์รวม คำขอบังคับ คือ ให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทและให้จำเลยทั้งสองแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือ ที่ดินพิพาทมีชื่อ ส. ถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองอันเป็นมรดกของ ส. ที่จะตกแก่ทายาทของ ส. ซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกจะต้องนำไปแบ่งทายาท แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทและไม่ยอมแบ่งกรรมสิทธิ์รวม คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องชัดแจ้งถูกต้องตาม ป.วิ.พ. 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ส่วนที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งเพียงใดนั้นตามสำเนาโฉนดที่ดินพิพาทเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ไม่ได้ระบุเป็นส่วนของบุคคลใดจำนวนเท่าใด ต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 โจทก์ไม่ต้องอ้างมาในฟ้องเนื่องจากเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับบทกฎหมาย และถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม 1 ใน 3 ส่วน คือ 4 ไร่เศษ ซึ่งในชั้นตีราคาพิพาทเพื่อชำระค่าขึ้นศาล โจทก์ขอคิดเพียง 4 ไร่ จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจคำฟ้องแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับปัญหาว่า จำเลยทั้งสองและ ส. แบ่งปันทรัพย์มรดกของ ห. ตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง และต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีโดยชัดแจ้งว่า มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วอันเป็นการอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง ซึ่งหากเป็นจริงดังที่จำเลยทั้งสองให้การ จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ปัญหานี้จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1
สำหรับปัญหาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองและ ส. ไม่ได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ห. ตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง โดยต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด และก่อนที่ ส. จะเป็นคนสาบสูญก็ได้ร่วมทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วย จึงถือได้ว่า ส. ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน ส. มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. เป็นคนสาบสูญ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ยังไม่ได้แบ่งนั้นย่อมเป็นกองมรดกของ ส. ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งมีโจทก์รวมอยู่ด้วย โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งถือเป็นผู้แทนของทายาท ย่อมได้รับประโยชน์ตาม ป.พ.พ. 1748 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และเมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการจดทะเบียนให้จำเลยทั้งสองและ ส. ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแล้ว ที่ดินพิพาทจึงสิ้นความเป็นมรดกและตกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยทั้งสองและ ส. เจ้าของรวมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินให้ตามมาตรา 1636 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. เป็นคนสาบสูญถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 โจทก์เป็นทั้งทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาล จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 1736
ทั้งนี้ขณะที่ ห. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจำนองไว้แก่กรมตำรวจ จำเลยทั้งสองและ ส. ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะต้องรับภาระผูกพัน คือจำนองที่ติดอยู่กับที่ดินพิพาทร่วมกันโดยรับภาระจำนองคนละ 1 ใน 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1362, 1365 ประกอบมาตรา 1745 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ไถ่ถอนจำนอง ส. ต้องรับผิดในหนี้ส่วนของตนที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เมื่อ ส. เป็นคนสาบสูญ หนี้ส่วนนี้อันถือว่าเป็นกองมรดกของ ส. จึงตกแก่ทายาทของ ส. ตามมาตรา 1602 วรรคหนึ่ง โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จึงต้องชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนอง 1 ใน 3 ให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้รับช่วงสิทธิในมูลหนี้จำนองที่ได้ชำระไปแล้วตามมาตรา 226 ประกอบมาตรา 229 (3) ก่อน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมกันในร้านเช่าจากการอยู่ร่วมฉันสามีภริยา และการเรียกร้องเงินลงทุนในกิจการค้า
โจทก์และจำเลยแต่งงานในปี พ.ศ. 2526 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังจากแต่งงานกันประมาณ 2 เดือน โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านพิพาท โจทก์และจำเลยได้พักอาศัยและทำการค้าร่วมกันในร้านพิพาทเป็นเวลาประมาณ 9 เดือน หลังจากนั้น โจทก์ได้เลิกร้างกับจำเลยและออกจากบ้านพิพาทไป กรณีไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นคนชำระเงินค่าเซ้ง สิทธิการเช่า หรือเป็นผู้เช่าร้านพิพาท สิทธิการเช่าร้านพิพาทเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์และจำเลยอยู่ร่วมฉันสามีภริยากันโจทก์และจำเลยได้พักอาศัย และร่วมทำการค้าอยู่ในร้านพิพาทด้วยกันเรื่อยมา แสดงว่าสิทธิการเช่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ที่หามาได้โดยโจทก์และจำเลยมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน การที่โจทก์ลงชื่อเป็นผู้เช่าร้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียว ไม่เป็นข้อสันนิษฐานว่าจำเลยไม่มีส่วนร่วมด้วย สิทธิการเช่าร้านพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกจากร้านพิพาท ที่โจทก์เรียกเงินที่นำไปลงทุนในการค้ากับจำเลยนั้น เนื่องจากเงินที่โจทก์นำไปลงทุนได้เอาไปซื้อเป็นสินค้าไว้จำหน่ายในร้านสินค้าที่โจทก์ซื้อมาย่อมจะต้องมีทั้งขายไปและซื้อมาใหม่ ดังนั้นในเวลาที่โจทก์เลิกร้างกับจำเลยสินค้าในร้านอาจมีมาก หรือน้อยกว่าที่เริ่มซื้อมาในครั้งแรก ศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้เงินตามที่โจทก์ฟ้องได้ แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เกี่ยวกับสิทธิสินค้าในร้านพิพาทภายในกำหนดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินร่วมจากความสัมพันธ์ฉันท์ภรรยา แม้ไม่จดทะเบียนสมรส
โจทก์นำยึดที่พิพาทของผู้ร้องในฐานะผู้ร้องเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์อ้างว่าเป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องมิใช่ภริยาจำเลย โจทก์ต่อสู้ว่า (1) จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันทำมาหากินจนเกิดทรัพย์พิพาท จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้อง (2) ทรัพย์พิพาทเป็นสินบริคณห์ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในการทำมาหากินร่วมกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะยึดทรัพย์พิพาทได้ (3) แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทมาจริง ผู้ร้องก็ซื้อมาในระหว่างเป็นภริยาจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย โจทก์ชอบที่จะยึดได้ ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทและผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้องดังข้อต่อสู้ของโจทก์ข้อ 1 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมทางพฤติการณ์ - สัญญาประนีประนอม - การรับผิดร่วม
ผู้ตายทำสัญญากับโจทก์กว่าจะปลูกห้องแถวแล้วแบ่งห้องให้ โดยโจทก์จะยกที่ดินส่วนที่ปลูกห้องแถวให้เป็นการตอบแทน จำเลยซึ่งอยู่กินกับผู้ตายฉันสามีภริยา โดยมิได้สมรสและได้รู้เห็นมีส่วนได้เสียเป็นเจ้าของรวมในที่ดิน ที่ได้มาตามสัญาด้วยเช่นนี้ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ของบุคคลอื่น มิได้เป็นลูกหนี้เอง ศาลไม่อนุญาต
จำเลยมิใช่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นแต่เพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของภริยา (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) ของจำเลย จะมาร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่จำเลยถูกยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยอ้างว่าโจทก์ได้นำยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับภริยามาเสียหมดแล้ว หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินจากการแบ่งทรัพย์ระหว่างคู่ความไม่สมบูรณ์ และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
เป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์กัน แล้วเจ้าหนี้ของสามีฟ้องสามียึดทรัพย์ที่จะแบ่งมาขายทอดตลาด ดังนี้สามีจะขอสืบพยานในคดี (ที่ถูกยึดทรัพย์) ว่าเป็นหนี้ร่วม เพื่อให้เจ้าหนี้เอาชำระจากทรัพย์สินส่วนของภริยาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินจากการแบ่งทรัพย์ระหว่างคู่ความที่ไม่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
เป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์กัน แล้วเจ้าหนี้ของสามีฟ้องสามียึดทรัพย์ที่จะแบ่งมาขายทอดตลาด ดังนี้สามีจะขอสืบพยานในคดี (ที่ถูกยึดทรัพย์) ว่าเป็นหนี้ร่วม เพื่อให้เจ้าหนี้เอาชำระจากทรัพย์สิน ส่วนของภริยาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์: พะยานลงชื่อไม่พร้อมกัน, พะยานผู้เขียน, และการพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพะยานสองคน
พะยานในพินัยกรรม 2 คนซึ่งไม่ได้ลงชื่อในขณะทำพินัยกรรมพร้อมกัน คนหนึ่งลงชื่อไว้ในภายหลับ แม้จะได้สอบถามตัวเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม พะยานเช่นนี้ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นพะยานในพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.ม.1656
พะยานผู้เขียนพินัยกรรมซึ่งลงชื่อไว้ในช่องผู้เขียนแยกต่างหากจากช่องพะยานในพินัยกรรม เช่นนี้จะถือผู้เขียนเป็นทั้งพะยานในพินัยกรรมและพะยานผู้เขียนด้วยไม่ได้
ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือไว้โดยมีพะยานเซ็นชื่อรับรองในขณะนั้นเพียงคนเดียวดังนี้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 1665

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีพิพาทกรรมสิทธิโรงเรือนเกินอำนาจศาลแขวง แม้จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้ ศาลฎีกาหยิบยกได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาทโดยอ้างว่าเป็นบิดา ๆ ตายจึงเป็นมฤดกตกได้แก่โจทก์จำเลยต่อสู้ว่า โรงเรือนพิพาทไม่ใช่ของบิดาโจทก์เป็นโรงเรือนที่จำเลยร่วมกับผู้มีชื่อออกเงินทุนสร้างขึ้นเป็นสถานกุศลกิจ ดังนี้เป็นคดีพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิในโรงเรือนพิพาทนั้น เมื่อโรงเรือนพิพาทมีราคาถึง 6000 บาท คดีก็เกินอำนาจผู้พิพากษานายเดียวจะพิจารณาพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องคดีเกินอำนาจศาลแขวงต่อศาลแขวง แม้จำเลยจะไม่ได้ยกอำนาจศาลขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแขวงนั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจศาลตามพระธรรมนูญศาลยุตติธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวศาลสูงจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมและการบังคับคดี: การปล่อยทรัพย์ที่ยึดต้องพิจารณาว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือไม่
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 นั้นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ ต้องเป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นอยู่ด้วย ศาลต้องยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ปล่อยการยึดเสีย เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของร่วม แต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมด จนกว่าจะมีการแบ่งผู้ร้องมีทางที่จะเรียกร้องขอแบ่งส่วนของตนตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
of 2