พบผลลัพธ์ทั้งหมด 630 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย: มาตรา 1119 วรรคสอง ห้ามโดยเด็ดขาด
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาล้มละลายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลล้มละลายคู่ความสามารถอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) มิฉะนั้นจะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา คดีนี้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางที่พิพากษาให้จำเลยล้มละลาย กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4652/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในแผนฟื้นฟูกิจการ: สัญญาไม่ขัดต่อแผนหากชำระราคาครบถ้วนตามกำหนด
แผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) กำหนดว่า การชำระราคาซื้อหุ้นทั้งหมดของส่วนทุนตามแผนต้องชำระเป็นเงินสดครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่มีการซื้อขายนั้นซึ่งจะไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผนและตามสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 4.3.3 ได้กำหนดการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายว่า ผู้ซื้อแต่ละรายจะดำเนินการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายในราคาซื้อขายหุ้นสุดท้ายโดยการโอนเงินสดทั้งจำนวนเข้าบัญชีของผู้ขายตามรูปแบบและวิธีการที่กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักและผู้ร่วมลงทุนใหม่ตกลงกันก่อนวันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ และ ข้อ 1.9 "วันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ" หมายถึง วันที่การโอนหุ้นที่ซื้อขายและชำระราคาค่าหุ้นที่ซื้อขายตามข้อกำหนดในสัญญาจะต้องไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนสิ้นระยะเวลาการดำเนินการตามแผน เมื่อปรากฏว่ากลุ่มผู้ร่วมลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่ซื้อโดยโอนเงินสดครั้งเดียวเข้าบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายในระยะเวลาไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผน คือวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนแล้ว สัญญาซื้อขายหุ้นฉบับพิพาทจึงสอดคล้องไม่ขัดต่อข้อกำหนดของแผนส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในคดีล้มละลาย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม เนื่องจากประเด็นวินิจฉัยซ้ำกับคำร้องก่อนหน้า
คำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ป. เป็นผู้ยื่นคำร้องในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ ต่อมาผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องโดยอ้างสิทธิว่าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นเดียวกับ ป. ตามบทนิยามแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/1 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความเดิมที่ ป. เคยยื่นคำร้องไว้ แม้คดีนี้ผู้ร้องมิได้ระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยใช้คำว่า ขอให้มีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนทุเลาการขายหุ้นไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด กับให้ผู้บริหารแผนกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนใหม่อีกครั้งให้ได้ราคาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้หุ้นละ 3.30 บาท เปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมลงทุนโดยวิธีการประมูลตามหลักธุรกิจการค้าปกติ โปร่งใส เป็นธรรม ก็ตาม แต่การที่จะกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยประมูลขายหุ้นแก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามที่ผู้ร้องขอมาในคดีนี้ก็จะต้องยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เสียก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองคดีต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันคือขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ส่วนการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและการดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนตามแผน คำร้องทั้งสองฉบับได้กล่าวอ้างทำนองเดียวกันว่าผู้บริหารแผนไม่เปิดโอกาสให้มีการประมูลหรือแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด กำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการคำนวณ กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้บริหารแผนเป็นผู้ถือหุ้นหรือมีอำนาจกำกับดูแล มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้บริหารแผน ผู้ร่วมลงทุนใหม่จะเข้ามาครอบงำกิจการของลูกหนี้ เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริตทำให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเสียหาย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยตามคำร้องทั้งสองฉบับจึงเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ผู้บริหารแผนดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและทำข้อตกลงขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยชอบหรือไม่ เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในคดีฟื้นฟูกิจการ การดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนที่ไม่โปร่งใส
ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างในคดีนี้เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่และได้กล่าวอ้างแล้วขณะผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เพียงแต่ในการยื่นคำร้องคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวิเคราะห์คนละเชิงหรือเรียบเรียงข้อเท็จจริงด้วยถ้อยคำที่แตกต่างกัน โดยการยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ผู้ร้องที่ 1 เพียงผู้เดียวยื่นคำร้องในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ ส่วนคดีนี้ได้เพิ่มผู้ร้องที่ 2 เข้ามา แต่ผู้ร้องทั้งสองต่างอ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นเดียวกับผู้ร้องที่ 1 ตามบทนิยามแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/1 ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีเดิม แม้คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองมิได้ระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยใช้คำว่า ขอให้มีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนดำเนินการตามแผนด้วยความสุจริตและยุติธรรม กับให้กำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนให้ได้ราคาตลาดที่แท้จริงตามกฎหมาย เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายและสูงกว่าราคาที่กำหนดไว้หุ้นละ 3.30 บาท โดยประมูลขายหุ้นให้แก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามหลักธุรกิจการค้าปกติ โปร่งใส เป็นธรรม ก็ตาม แต่การที่จะกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนให้ได้ราคาตลาดโดยประมูลขายหุ้นแก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามที่ผู้ร้องทั้งสองขอมาในคดีนี้ก็จะต้องยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เสียก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองคดีต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันคือขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ส่วนการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและการดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนตามแผน คำร้องทั้งสองฉบับได้กล่าวอ้างทำนองเดียวกันว่าผู้บริหารแผนไม่เปิดโอกาสให้มีการประมูลหรือแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด กำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการคำนวณ กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้บริหารแผนเป็นผู้ถือหุ้นหรือมีอำนาจกำกับดูแล มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้บริหารแผน เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริต ทำให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเสียหาย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยตามคำร้องทั้งสองฉบับจึงเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ผู้บริหารแผนดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและทำข้อตกลงขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยชอบหรือไม่ เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 แล้วการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลาย ฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องอาจบังคับได้ทันทีเมื่อทำสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโดยในสัญญากำหนดเรื่องการโอนไว้ว่า ผู้ขายจะโอนสิทธิให้ผู้ซื้อในภายหลังเมื่อผู้ซื้อต้องการให้โอน เป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจบังคับได้ตั้งแต่วันทำสัญญา เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับตามสัญญาเกิน 10 ปีนับแต่วันทำสัญญา ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 193/30
เมื่อโจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้โอนตามสัญญาได้เพราะคดีขาดอายุความ จึงมีผลให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินต่อไปให้จำเลยที่ 3 ได้ และแม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อโจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้โอนตามสัญญาได้เพราะคดีขาดอายุความ จึงมีผลให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินต่อไปให้จำเลยที่ 3 ได้ และแม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย: พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือและนำเสนอในเวลาที่ถูกต้อง
เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมเงินแต่พยานของเจ้าหนี้ไม่ใช่ผู้รู้เห็นในการทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีข้อความว่าลูกหนี้สัญญาจะจ่ายเงินจำนวนที่ระบุในตั๋วแต่ละฉบับให้แก่เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยไม่อาจถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ทั้งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้อ้างว่าให้ลูกหนี้กู้ยืมเฉพาะต้นเงินมีจำนวนมากถึง 1,385,061,779.44 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการเรียกให้ลูกหนี้จัดหาหลักประกันการชำระหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่เจ้าหนี้ ส่วนเอกสารงบการเงินและบัญชีเจ้าหนี้ไม่มีประกันของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้แนบท้ายคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการอ้างเอกสารเข้ามาภายหลังที่เจ้าหนี้แถลงหมดพยานในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะนำเอกสารดังกล่าวมาอ้างในภายหลังได้ พยานหลักฐานของเจ้าหนี้จึงไม่มีน้ำหนักและเหตุผลที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4288/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี เนื่องจากไม่ใช่ผู้มีสิทธิโดยตรงและไม่ได้รับมอบอำนาจ
โจทก์ทั้งสามเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินไว้แทน น. ซึ่งเป็นบิดาของโจทก์ทั้งสาม น. ได้ ตกลงจะขายที่ดินดังกล่าวกับที่ดินแปลงอื่นรวม 73 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ทั้งสามได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการล่วงหน้าและรับเงินมัดจำจำนวน 8,000,000 บาท ไปจากจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ทั้งสามจึงบอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่โจทก์ทั้งสาม และให้โจทก์ทั้งสามริบเงินมัดจำจากจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องโจทก์ทั้งสามเป็นตัวแทนของ น. ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน และดำเนินการต่างๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ น. ทำไว้กับจำเลยที่ 1 สิทธิในที่ดินและตามสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นของโจทก์ทั้งสาม หากมีการโต้แย้งสิทธิก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของ น. มิใช่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงมิใช่บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินภารยทรัพย์และการกระทำละเมิดจากการเทคอนกรีตถาวร โดยไม่คำนึงถึงภาระจำยอม
จำเลยทำทางลาดในที่ดินภารยทรัพย์ของโจทก์เพราะจำเลยต้องใช้รถบรรทุกถังแก๊สเข้าไปจอดในร้านเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 จำเลยไม่มีสิทธิกระทำเช่นนั้นได้ ทั้งจำเลยสามารถทำทางขึ้นลงเป็นการชั่วคราวแทนการเทคอนกรีตเป็นการถาวรได้ การที่จำเลยทำทางลาดเข้ามาในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับการขยายเวลาเกิน 2 เดือน
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปเกินกว่ากำหนดเวลา 2 เดือน จะมีได้ก็แต่กรณีที่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง