คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ วายุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 630 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันสูญเสียสิทธิจำนองก่อนฟ้อง ทำให้สถานะเจ้าหนี้เปลี่ยนไป
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินจำนวน 10 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ได้ขอศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดไปแล้ว จำนวน 8 แปลง และมีการไถ่ถอนที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยอีกจำนวน 2 แปลง สัญญาจำนองจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวที่ยังค้างชำระมายื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายหลังจากสิทธิตามสัญญาจำนองของโจทก์ระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองในขณะยื่นฟ้องคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7454/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานการล้มละลาย: การปิดธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และหน้าที่ในการนำสืบหักล้าง
การที่โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ถึง 2 ครั้ง โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ครั้งแรกได้รับแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ย้ายที่อยู่ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และครั้งหลังมีการระบุเหตุขัดข้องว่าไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า ทั้งในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวปรากฏในรายงานของพนักงานเดินหมายว่ามีลักษณะเป็นบ้านร้าง ไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลานานแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปิดสถานประกอบธุรกิจเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (4) (ข) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6926/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเนื่องจากจำเลยรู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อก่อนและชำระราคาแล้ว
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 โดยที่จำเลยที่ 1 และ พ. ทราบอยู่แล้วว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 และชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การที่โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 และได้ครอบครองกับชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637-6638/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการทำสัญญา สิทธิในการครอบครอง และข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหาย
โจทก์อ้างว่ามีการตกลงจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทกันตามคำฟ้องสำนวนแรก แต่จำเลยอ้างว่าตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกันตามคำฟ้องสำนวนหลัง และต่างโต้แย้งว่ามิได้มีการทำสัญญาตามที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ดังนั้น การจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทซึ่งกำหนดไว้ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาท ย่อมจำเป็นต้องวินิจฉัยให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันตามข้ออ้างของฝ่ายใด และสัญญานั้นมีผลบังคับใช้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อเป็นหลักในการวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยว่า มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ จึงไม่นอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้
สำหรับฎีกาของจำเลยในเรื่องค่าเสียหายจากการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตามคำฟ้องในสำนวนแรก โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายก่อนวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากบ้านและที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องล้มละลายได้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
มูลหนี้ตามคำฟ้องเป็นหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยต้องผูกพันในผลของคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียในที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย แม้หนี้ยังไม่สูญ
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวจนต่อมาเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จำนวน 3 ราย ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวทุกราย ศาลแพ่งจึงถือเป็นเหตุไม่ควรให้จำเลยถูกพิพากษาให้ล้มละลายและมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้ว แม้ผลของคำสั่งดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นหนี้สินตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (2) ประกอบมาตรา 136 และโจทก์ยังอาจนำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อีกในคดีนี้ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ละเลยมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 โดยไม่ปรากฏเหตุอันสมควรทั้งที่มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กรณีดังกล่าวจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าเช่าซื้อหลังฟื้นฟูกิจการ: สิทธิการรับชำระหนี้และการฟ้องร้องคดีแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่กำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนภายในวันที่ที่ระบุไว้ทุกเดือนจนกว่าจะครบ หนี้ค่าเช่าซื้อย่อมเกิดขึ้นตามกำหนดตลอดเวลาที่มีการผูกพันกันตามสัญญา เมื่อลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนด้วย ค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือจึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว เจ้าหนี้ไม่อาจนำหนี้ค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 หากหนี้ค่าเช่าซื้อดังกล่าวมิได้กำหนดไว้ในแผนและลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12 (4) และมาตรา 90/13 หรือหากผิดนัดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อภายหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสำเร็จรูป, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, ค่าติดตามทวงถาม, ค่าบริการระหว่างระงับบริการ, สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมอันเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยที่กำหนดว่า ผู้ใช้บริการยินยอมชำระค่าติดตามทวงถาม ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าทนายความ ฯ ที่บริษัทต้องเสียไปในการติดตามทวงถามหรือเรียกร้องค่าใช้บริการที่ค้างชำระและฟ้องร้องเกี่ยวกับการผิดสัญญาให้แก่บริษัท ฯ จนครบถ้วน มีลักษณะเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 ซึ่งการเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ย่อมได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคแรก เช่นค่าติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามปกติย่อมกระทำโดยมีหนังสือทวงถามส่งไปโดยพนักงานเป็นผู้ส่งหรือส่งไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือโดยวิธีอื่น ซึ่งหากจำเลยจ่ายไปจริงย่อมเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ ดังนั้นข้อตกลงที่กำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าติดตามทวงถามดังกล่าว จึงไม่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ อันถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์และเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าติดตามทวงถามจากโจทก์ได้ แต่ค่าติดตามทวงถามที่จำเลยคิดในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดเป็นการแน่นอน จะเป็นความเสียหายตามสมควรเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ไม่ได้
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยใช้บริการแบบเหมาจ่ายอัตรา 750 ต่อเดือน ซึ่งการเหมาจ่ายค่าใช้บริการเช่นนี้โจทก์จะได้ประโยชน์จากการใช้บริการตามระยะเวลาการใช้บริการโดยมีจำนวนเวลาการใช้นานกว่าการใช้บริการตามปกติ ทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการเสียค่าบริการต่อนาทีที่ถูกกว่าโดยไม่จำกัดระยะทางทั่วประเทศ ลักษณะของสัญญาประเภทนี้มีส่วนที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้ใช้บริการมากกว่าสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมตามปกติอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการที่ทำสัญญากับจำเลยเช่นกัน การที่โจทก์ไม่ชำระค่าบริการตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาและเรียกค่าใช้บริการตามระเบียบการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าข้อ 4.1 ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปดังกล่าวหาใช่ข้อตกลงที่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งภาษีอากรโดยวิธีปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สามารถส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานสรรพากรเลือกที่จะส่งหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร หรือหนังสืออื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งก็ได้ แต่การใช้วิธีปิดหมาย หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ตามวรรคสอง จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถส่งตามวิธีในวรรคหนึ่งได้
เจ้าพนักงานสรรพากรส่งหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหนังสือแจ้งภาษีการค้าแก่จำเลยโดยวิธีปิดหนังสือแจ้ง แต่ไม่ปรากฏว่าไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้ การที่โจทก์ส่งหนังสือแจ้งแก่จำเลยโดยปิดหนังสือจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ได้ จึงยังไม่เป็นหนี้เด็ดขาดและยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนที่โจทก์จะนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6162/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกหลังการถึงแก่กรรมของคู่ความเดิม และการพิจารณาคำคัดค้านจากผู้มีส่วนได้เสีย
ว. ยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตาย การที่ ว. ถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไปเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. ไม่ใช่คดีที่ทายาทหรือผู้อื่นจะร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ทั้งศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของ พ. ที่ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. และจำหน่ายคดีของ พ. ออกจากสารบบความแล้ว พ. จึงเป็นบุคคลภายนอกคดี และศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นตามคำร้องของ พ. ดังนี้ คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นคัดค้านผู้ร้องที่ 1 ว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้ง พ. เป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจาก พ. เป็นบุตรของ ว. ภริยาของผู้ตาย ทั้ง ว. ถึงแก่ความตายแล้ว พ. เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก และมีความเหมาะสมมากกว่าผู้ร้องที่ 1 คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นมาภายหลังเป็นการยื่นตามสิทธิของตนเอง ซึ่งมีสิทธิทำได้ จึงมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
of 63