พบผลลัพธ์ทั้งหมด 630 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมฟ้องบังคับโอนที่ดินซ้ำกับคดีก่อนที่เจ้าของรวมคนอื่นเคยฟ้องแล้ว ศาลฎีกาตัดสินเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ในคดีนี้ อ. และ ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีก่อน ซึ่ง อ. เป็นโจทก์ จำเลยคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย และคดีระหว่างจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ ค. เป็นจำเลย ซึ่งรวมพิจารณาพิพากษา โดยมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ การที่ อ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี และ ค. เป็นจำเลยต่อสู้คดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมใช้สิทธิครอบครองปรปักษ์แล้วฟ้องขอที่ดินคืน
คดีก่อน อ. และ ค. มีข้อพิพาทกับ ส. จำเลยในคดีนี้ มีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ การที่ อ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี และ ค. เป็นจำเลยต่อสู้คดีในคดีก่อนเป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวม ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินซ้ำกับคดีก่อนที่เจ้าของรวมคนอื่นฟ้องแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์
คดีก่อนที่ อ. และ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทมีข้อพิพาทกับ ส. จำเลยในคดีนี้ มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวม ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเหนือกว่าโจทก์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงเหตุที่โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุมไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นไม่ได้วินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกากล่าวถึงแต่ความเป็นมาของการครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่งตกทอดมาถึงโจทก์ได้อย่างไร จำเลยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เพราะเหตุใด มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ทำสัญญาเช่าอาคารกับลูกหนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 มูลแห่งหนี้จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สำหรับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนตุลาคม 2544 จำนวน 85,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 2 นั้น เจ้าหนี้ยังเช่าอาคารอยู่โดยนำเงินค่าเช่าที่ต้องชำระให้ลูกหนี้ส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แสดงว่าลูกหนี้ได้ให้เจ้าหนี้ใช้ประโยชน์ในอาคารที่เช่าตามสัญญาซึ่งรวมถึงเดือนตุลาคม 2544 แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนดังกล่าวคืน จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ไม่ได้
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4342/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการปรึกษาทางกฎหมาย: พิจารณาจากลักษณะของหนี้ที่เกิดขึ้น
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค่าบริการในการปรึกษากฎหมาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้แก่ลูกหนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) โดยไม่จำต้องเป็นค่าว่าความในคดีทื่ถือเอาผลสำเร็จของแต่ละคดีและกรณีมิใช่เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (4) และแม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลารายเดือนก็มิใช่เป็นเงินเดือนที่จ่ายให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษลดลงจากเจตนาฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเป็นพี่ชายของผู้ตาย ถูกผู้ตายซึ่งมึนเมาสุรามาหาเรื่องและทำร้ายชกต่อยจำเลย แม้จำเลยหนีลงจากบ้านไปแล้ว ผู้ตายยังติดตามจำเลยลงไปอย่างกระชั้นชิดและทำร้ายจำเลยอีก เป็นเหตุให้จำเลยเกิดบันดาลโทสะจึงได้หยิบฉวยไม้ด้ามเสียมซึ่งวางอยู่ที่พื้นดิน บริเวณหน้าบ้านนางโปยใกล้ที่เกิดเหตุตีไปที่ผู้ตาย 2 ถึง 3 ครั้ง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอย่างกระทันหันฉุกละหุก โดยจำเลยไม่มีโอกาสเลือกอาวุธ ทั้งไม่ได้เลือกตีบริเวณส่วนใดของ ร่างกายผู้ตาย เป็นการตีโดยไม่อาจทราบว่าจะถูกอวัยวะส่วนใดของผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าและเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะเพราะถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงเหตุอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมีโฉนด ไม่เข้าข่ายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับจากวันที่โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองเข้าปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 แต่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ มิใช่ที่ดินมือเปล่าที่มีแต่สิทธิครอบครอง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1375 มาใช้บังคับได้ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไม่อาจทำให้จำเลยทั้งสองชนะคดีได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการถอนผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุตามกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิทรัพย์มรดกไม่ใช่เหตุ
การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการถอนผู้จัดการมรดก ต้องมีเหตุละเลยหน้าที่หรือเหตุอื่นสมควร การโต้แย้งสิทธิเป็นคนละเรื่อง
การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็นซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้น ทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็นซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้น ทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่