คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ วายุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 630 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเมื่อเจ้าของรวมไม่ยินยอมแบ่งทรัพย์สินมรดก ผู้มีสิทธิบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา
แม้คำพิพากษาของศาลกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าและผู้ร้องสอดทั้งสามตามอัตราส่วนแบ่งตามคำพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าของรวมซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกทุกแปลงของผู้ตายอีกคนหนึ่งมิได้ยินยอมด้วย ต้องถือว่าการแบ่งทรัพย์สินนั้นจำเลยทั้งสี่ไม่อาจกระทำได้ด้วยความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคน ทั้งกรณีเป็นการแบ่งทรัพย์สิน มิใช่การทำนิติกรรมซึ่งโจทก์ที่ 5 จะให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสี่ในการแบ่งมรดกได้ โจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับยึดที่ดินมรดกออกขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บุริมสิทธิค่าส่วนกลางและการยกอายุความของเจ้าหนี้จำนอง
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับจำนองแก่ห้องชุดเลขที่ 60/630 ซึ่งเป็นทรัพย์สินจำนองตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดดังกล่าวค้างจ่ายแก่ผู้ร้อง ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือห้องชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของจำเลย และเมื่อปรากฏว่าผู้จัดการผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว บุริมสิทธิของผู้ร้องจึงอยู่ในลำดับก่อนจำนองตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) และ (2) และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า หนี้ของผู้ร้องที่นำมาขอรับชำระหนี้นั้นขาดอายุความแล้วเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจากทรัพย์สินจำนองก่อนโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในทรัพย์สินจำนองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบุริมสิทธิค่าใช้จ่ายส่วนกลางกับการบังคับคดีจำนอง การยกอายุความ และข้อจำกัดการฎีกา
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับจำนองแก่ห้องชุด ซึ่งเป็นทรัพย์สินจำนองตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดดังกล่าวค้างจ่ายแก่ผู้ร้อง ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือห้องชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของจำเลย และเมื่อปรากฏว่าผู้จัดการผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว บุริมสิทธิของผู้ร้องจึงอยู่ในลำดับก่อนจำนองตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) และ (2) และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า หนี้ของผู้ร้องที่นำมาขอรับชำระหนี้นั้นขาดอายุความแล้วเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจากทรัพย์สินจำนองก่อนโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในทรัพย์สินจำนองนั้น
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่า สิทธิเรียกร้องตามคำร้องขอของผู้ร้องเป็นหนี้ที่จะต้องชำระเป็นงวด ๆ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายเป็นเงินค้างจ่าย ไม่อาจใช้อายุความ 5 ปี นั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 ปี และสิทธิในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินจำนองที่ถูกเวนคืน
การร้องขอให้บังคับคดี ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ไม่ใช่ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองซึ่งการจำนองครอบไปถึงนั้น มิใช่ทรัพย์สินอื่น แต่เงินดังกล่าวเข้ามาแทนที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง ย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งจำนองซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้ได้เช่นเดียวกันกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยในคดีก่อนแล้ว แม้มีการเปลี่ยนคำฟ้องก็ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
คำฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้ โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินแล้ว โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่างวดให้ถูกต้องตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์คดีนี้ จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาทั้งในคดีดังกล่าวนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 832,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว โดยโจทก์และจำเลยไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีกอันมีผลให้คดีดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีหมายเลขแดงที่ 277/2551 มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยเด็ดขาดแล้วในคดีก่อนจากการประนีประนอมยอมความ
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่หากเป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ทั้งในคดีก่อนนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 732,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยในคดีก่อนได้ เมื่อคดีก่อนโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยต่างไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก และได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์จะถึงที่สุด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ที่ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินต่อเนื่องและการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น: ผลกระทบต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ป. พี่ชายผู้ร้องซื้อสิทธิการเช่าที่ดินที่จำเลยเช่ามาจาก ซ. แล้วได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2528 มีระยะเวลาเช่า 15 ปี โดยทำสัญญาเช่ากัน 5 ฉบับ ฉบับละ 3 ปี มีกำหนดเวลาเช่าติดต่อต่อเนื่องกันไป พฤติการณ์ของคู่สัญญาที่ปฏิบัติเช่นนี้ จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ที่กำหนดให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียงสามปี โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2530 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของร้อยตำรวจเอก ย. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าเพราะสัญญาเช่าที่ดินนั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าสามปี ป. ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่ โจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ต้องถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 แม้ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2546 ผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. จำนวน 5 ฉบับ แต่ละฉบับมีกำหนด เวลาเช่า 3 ปี รวม 15 ปี ต่อจาก ป. พี่ผู้ร้องในเวลาภายหลังที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่ามาแล้ว โดยโจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้รู้เห็นยินยอม และคดีที่ร้อยตำรวจเอก ย. ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 745/2551 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ ร้อยตำรวจเอก ย. ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งถือว่าผู้ร้องอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิของร้อยตำรวจเอก ย. ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินที่จะให้เช่าที่จะนำไปให้ผู้ร้องเช่าได้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากโจทก์และยังคงใช้เป็นที่ตั้งบริษัท บ. อันเป็นกิจการระหว่างพี่น้องของผู้ร้องต่อเนื่องเรื่อยมาโดยผู้ร้องและบุตรผู้ร้องกับจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เช่นนี้ จึงฟังได้ว่า ผู้ร้องอยู่ในที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ในฐานะอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องหามีอำนาจพิเศษอย่างใดที่จะอยู่บนที่ดินไม่ ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย บ้านเลขที่ 77/22 ของผู้ร้อง ย่อมต้องถูกรื้อถอนออกไปจากที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม อาจทำให้ถูกถือว่าทิ้งฟ้อง
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบมาตรา 246 แม้โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้น และได้ยื่นคำโต้แย้งไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป และหากโจทก์ยังติดใจปัญหาเรื่องค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ถูกต้อง โจทก์ก็มีสิทธิฎีกาได้ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่ยื่นคำโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวโดยไม่นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
แม้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าได้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่การตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์เป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้อุทธรณ์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาไม่ถูกต้องครบถ้วน ก็เป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะให้ศาลชั้นต้นเรียกให้ผู้อุทธรณ์ชำระเสียให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังได้ เมื่อโจทก์ได้รับหมายนัดของศาลชั้นต้นให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท แต่โจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจยกความสุจริตของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องผิดระเบียบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประกันการชำระหนี้เฉพาะทรัพย์สินจำนอง: สิทธิเรียกร้องขยายไปยังทรัพย์สินอื่นไม่ได้
สัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "เมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็ดี... เงินยังขาดจำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบ" เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้แต่เฉพาะระหว่างคู่สัญญาในลักษณะบุคคลสิทธิ มิใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะตกติดไปกับตัวทรัพย์สินซึ่งจำนอง จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจากจำเลยที่ 2 มิได้มีนิติสัมพันธ์อันก่อให้เกิดสิทธิหรือหน้าที่อันใดกับโจทก์อย่างในฐานะผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมในหนี้ตามคำพิพากษา ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีอยู่แก่โจทก์ย่อมมีอยู่เพียงที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนรับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมาเพื่อบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษานอกเหนือไปจากทรัพย์สินซึ่งจำนองได้
of 63