พบผลลัพธ์ทั้งหมด 630 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์: ราคาไม่แน่นอน, ผู้มีอำนาจลงนามไม่ถูกต้อง ทำให้สัญญายังไม่ผูกพัน
ตามสัญญาแม้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่า จำนวนสินค้าที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นการประมาณการเท่านั้น การปรับปรุงราคาสินค้าที่ต้องชำระจะคิดคำนวณตามจำนวนสินค้าที่แท้จริง และข้อ 3 มีใจความว่า วันกำหนดส่งสินค้า และ/หรือกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าตามที่ระบุในสัญญาเป็นการกำหนดวันที่โดยประมาณ เช่นนี้ จำนวนสินค้า ราคาและกำหนดเวลาส่งสินค้าซึ่งจะมีผลไปถึงกำหนดวันที่ต้องชำระเงินจึงหาได้กำหนดไว้แน่นอนไม่โดยเฉพาะราคาสินค้านั้น ทั้งโจทก์และจำเลยมีการเจรจาโดยต่างเสนอข้อต่อรองเพื่อกำหนดราคาสินค้า เมื่อไม่ตกลงกันทำให้ราคาสินค้าไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ราคาสินค้าจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของสัญญาซื้อขายที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้เงื่อนไขของสัญญา ข้อ 13 ระบุว่า การลงนามทั้งหลายจะมีผลสมบูรณ์เมื่อกรรมการผู้จัดการของจำเลยลงนามแล้วเท่านั้น แต่กรรมการผู้จัดการของจำเลยหาได้ลงนามใน Sales contract (สัญญาซื้อขาย) ไม่ทั้งไม่ปรากฏว่า ส. ลงนามในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่เกิดขึ้น ทำให้ Sales contract (สัญญาซื้อขาย) หาได้มีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้หลังมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้หนี้เดิมยังผูกพัน
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นข้อตกลงในศาลชั้นบังคับคดีหลังจากที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและได้ขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์ยอมตกลงกับจำเลยในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิพากษาคดีใหม่ โดยยอมรับตามที่จำเลยขอผ่อนชำระหนี้ในยอดเงิน 41,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด เป็นเพียงโจทก์ยอมสละสิทธิในหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย หากจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามกำหนดในข้อตกลงดังกล่าว ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ได้มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าโจทก์ยอมยกเลิกหรือไม่ติดใจบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิมจากจำเลยทันที แต่ระบุว่าหากจำเลยนำเงินมาชำระครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจจะบังคับคดีกับจำเลยในคดีนี้อีกเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำให้หนี้เดิมตามคำพิพากษาสิ้นผลบังคับไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยผิดข้อตกลงไม่นำเงินงวดที่ 2 จำนวน 31,000 บาท มาชำระให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้แล้ว โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาเดิม โจทก์จึงยังคงมีสิทธิที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดและอายัดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาเดิมต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: การทำงานบ้านควบคู่ธุรกิจ - การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานบ้านซึ่งเปิดเป็นร้านเสริมสวยโดยให้โจทก์ซักผ้า ทำงานบ้าน กวาดร้านทำผม และซักผ้าเช็ดผม ถือได้ว่า เป็นการให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับงานบ้านที่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย การให้โจทก์ทำความสะอาดและซักผ้าเช็ดผมซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งในสถานประกอบการถือได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จำเลยอุทธรณ์ว่า จากพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยฟังได้ว่า โจทก์ทำงานบ้านแยกส่วนกันกับร้านเสริมสวยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลที่ถูกระงับกิจการ และการคำนวณดอกเบี้ยหลังฟ้องคดี
บริษัทมหาชนจำกัดเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 41 จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทั้งการฟ้องคดีต่อศาลมิใช่การทำนิติกรรม แม้บริษัทมหาชนจำกัดถูกระงับกิจการไม่สามารถดำเนินกิจการของตนได้ ก็ไม่ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิทธิสมาชิกสนามกอล์ฟ, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิคืนเงิน, และอายุความดอกเบี้ย
ปัญหาเรื่องค่าสมาชิกสนามกอล์ฟแยกต่างหากจากสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การและประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเป็นสำคัญ เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การและข้อที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยต้องคืนค่าที่ศาลพิพากษาและค่าสนามกอล์ฟให้โจทก์ ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเกี่ยวกับสิทธิการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟและไม่ต้องคืนเงินค่าสมาชิกสนามกอล์ฟให้แก่โจทก์ได้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งกรณีนี้หมายรวมถึงการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟที่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 391 วรรคสอง อันเนื่องจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)
เมื่อสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเกิดแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา จึงเป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟที่โจทก์เรียกคืนอันเป็นส่วนที่เป็นหนี้ประธานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจึงมีอายุความและเริ่มนับอายุความเช่นเดียวกันกับหนี้ประธาน สิทธิเรียกร้องเงินค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟที่โจทก์เรียกคืนจากจำเลยยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนที่เป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟอันเป็นส่วนที่เป็นหนี้ประธานย่อมไม่ขาดอายุความไปด้วย
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งกรณีนี้หมายรวมถึงการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟที่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 391 วรรคสอง อันเนื่องจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)
เมื่อสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเกิดแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา จึงเป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟที่โจทก์เรียกคืนอันเป็นส่วนที่เป็นหนี้ประธานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจึงมีอายุความและเริ่มนับอายุความเช่นเดียวกันกับหนี้ประธาน สิทธิเรียกร้องเงินค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟที่โจทก์เรียกคืนจากจำเลยยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนที่เป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าซื้อที่ดินและค่าสมาชิกสนามกอล์ฟอันเป็นส่วนที่เป็นหนี้ประธานย่อมไม่ขาดอายุความไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเมาสุราขณะทำงานเป็นความผิดร้ายแรง ตามระเบียบข้อบังคับและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 8 (15) ระบุให้จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนก่อนเพราะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงและไม่จ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้าง "ดื่มสุราเครื่องดองของเมาในที่ทำการหรือบริเวณบริษัทฯ ในเวลาทำงานหรือเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมึนเมา" ทั้งโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของแบตเตอรี่และแผ่นธาตุที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่อันเป็นสินค้าที่จำเลยผลิต การเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยอาการเมาสุรา ย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าของจำเลยได้ ดังนั้น แม้ผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะไม่ให้โจทก์เข้าทำงานและให้กลับบ้านไป แต่การที่โจทก์เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยอาการเมาสุราก็เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเมาขณะทำงานเป็นเหตุร้ายแรงตามระเบียบบริษัทและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของแบตเตอรี่และแผ่นธาตุที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่อันเป็นสินค้าที่จำเลยผลิต การเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยอาการเมาสุรา ย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าของจำเลยได้ ดังนั้น แม้ผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะไม่ให้โจทก์เข้าทำงานและให้กลับบ้านไป แต่การที่โจทก์เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยอาการเมาสุราก็เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) และเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552-2554/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมายแรงงาน: โจทก์อุทธรณ์ประเด็นใหม่นอกเหนือเหตุผลที่ศาลแรงงานกลางยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางยกฟ้องโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถแสดงพยานหลักฐานให้ศาลแรงงานกลางเห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบอย่างไรและไม่สุจริตอย่างไร แต่โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ไม่มีบทบัญญัติให้คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นที่สุด และไม่ต้องห้ามใช้สิทธินำคดีไปสู่กระบวนการยุติธรรม และการตีความว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดนั้น เป็นคำสั่งทางปกครองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในเหตุผลที่ยกฟ้องโจทก์ แต่กลับนำเรื่องอำนาจฟ้องที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ตัดสิทธิมาอุทธรณ์ และยกเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางมาเป็นข้ออุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายติดจำนอง: โจทก์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ก่อนจำเลยผ่อนธนาคาร จึงไม่ถือผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทให้จำเลยโดยให้จำเลยผ่อนชำระเงินงวดที่เหลือให้แก่ธนาคารต่อไป จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายครบถ้วนแล้ว ส่วนโจทก์ก็ได้ส่งมอบการครอบครองห้องชุดพิพาทให้จำเลยแล้วเช่นกัน คงเหลือแต่โจทก์ยังมิได้โอนสิทธิในมิเตอร์น้ำประปา มิเตอร์ไฟฟ้า และหมายเลขโทรศัพท์ให้จำเลย ทั้งยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้จำเลยโดยมีกำหนดเวลาในการโอนสิทธิในมิเตอร์น้ำประปา มิเตอร์ไฟฟ้าและหมายเลขโทรศัพท์ให้ภายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ซึ่งการโอนสิทธิดังกล่าวย่อมจะทำได้เมื่อจำเลยได้ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทแล้ว โจทก์จึงต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทให้จำเลยในวันดังกล่าวเช่นกัน เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการชำระหนี้ด้วยกระทำการดังกล่าวภายในกำหนดเวลานั้น จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระหนี้ตอบแทนด้วยการผ่อนชำระเงินให้แก่ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องชุดพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: การขาดนัดเนื่องจากที่อยู่ไม่ถูกต้องและการให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้
แม้คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องของลูกหนี้ที่ 2 ที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง แต่เมื่อพิจารณาคำร้องของลูกหนี้ที่ 2 ดังกล่าวปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้บรรยายกล่าวอ้างในคำร้องแล้วว่า ลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำร้องในคดีนี้ เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่อาคารเลขที่ 120/22 มิใช่อาคารเลขที่ 120 ตามที่ผู้ร้องนำส่งหมายเรียกสำเนาคำร้อง และลูกหนี้ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้มาโดยตลอด กรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ มาตรา 58 วรรคท้าย จึงเป็นคำร้องที่กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่ลูกหนี้ที่ 2 ขาดนัดพิจารณา และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลล้มละลายกลางแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ที่ศาลล้มละลายกลางสั่งยกคำร้องของลูกหนี้ที่ 2 โดยมิได้ทำการไต่สวนก่อนจึงเป็นการไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่