พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. – การใช้เอกสารปลอมในการสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้ขาดคุณสมบัติ
หนังสือสำคัญรับรองการสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านยื่นเป็นหลักฐานต่อผู้ร้องในวันสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นเอกสารปลอม ซึ่งเท่ากับว่าในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านนั้น ผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแสดงต่อผู้ร้อง ซึ่งในกรณีของผู้คัดค้านที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภานั้น พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติให้ต้องแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าต่อผู้ร้องเมื่อยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งด้วย เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาดังกล่าวมาแสดงในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (3) ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีหรือไม่ เพราะไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีถูกถอนสถานภาพผู้สำเร็จการศึกษาและกระทบคุณสมบัติ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2547 ข้อ 14 ที่กำหนดให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องส่งสำเนาคำร้องและแจ้งกำหนดวันเวลานัดและศาลที่จะยื่นคำร้องให้ผู้สมัครทราบก่อนวันนัดยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 3 วัน เป็นกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งก่อนวันเลือกตั้งมากกว่า 10 วันทำการ แต่คดีนี้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องก่อนวันเลือกตั้งไม่มากกว่า 10 วันทำการ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 34/1 กำหนดว่า ก่อนการเลือกตั้ง ถ้าผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเห็นว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นได้ ประกอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2547 ข้อ 14 วรรคสุดท้าย กำหนดให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรง ผู้ร้องจึงสามารถยื่นคำร้องได้ตามกฎหมายและกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของข้อ 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งโดยอาศัยคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คือ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดังนั้น เมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอน และปริญญาบัตรเลขที่ 6/2543 ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอน หรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แม้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมิได้ดำเนินการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) และปริญญาบัตรก็ตาม แต่การรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวเป็นการรับโดยอาศัยวุฒิการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาบัตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ดังกล่าว ถูกถอนโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้ผู้คัดค้านไม่มีสถานะเป็นผู้จบปริญญาตรีแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงย่อมไม่อาจรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโทได้ การเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของผู้คัดค้านจึงตกไปในตัว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกเช่นกัน ที่ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (3) ชอบแล้ว
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งโดยอาศัยคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คือ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดังนั้น เมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอน และปริญญาบัตรเลขที่ 6/2543 ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอน หรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แม้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมิได้ดำเนินการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) และปริญญาบัตรก็ตาม แต่การรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวเป็นการรับโดยอาศัยวุฒิการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาบัตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ดังกล่าว ถูกถอนโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้ผู้คัดค้านไม่มีสถานะเป็นผู้จบปริญญาตรีแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงย่อมไม่อาจรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโทได้ การเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของผู้คัดค้านจึงตกไปในตัว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกเช่นกัน ที่ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (3) ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี - วันที่อนุมัติผลการศึกษา vs วันที่อนุมัติปริญญา
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 29 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ซึ่งตามมาตรา 107 (3) กำหนดไว้ว่า ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า แสดงว่ามุ่งประสงค์ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นสำคัญ ตามหลักฐานแสดงผลการศึกษาที่ผู้ร้องอ้างส่งประกอบการสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องสอบได้ครบถ้วนทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีแล้ว ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏว่าด้วยการออกหลักฐานแสดงผลการศึกษา พ.ศ. 2538 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในข้อ 8 ว่า "วันที่สำเร็จการศึกษาในหลักฐานแสดงผลการศึกษา ให้ถือเอาวันที่คณะกรรมการอนุมัติผลการศึกษา" ส่วนการออกปริญญาบัตรซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไปได้กำหนดไว้ในข้อ 9 เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกจากกัน และตามหนังสือตอบข้อหารือของอธิการบดีสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการวิชาการซึ่งสภาประจำสถาบันมอบหมายได้ประชุมอนุมัติผลการศึกษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 สถาบันราชภัฏถือว่าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 คือวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้ง เป็นวันสำเร็จการศึกษา และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 เป็นวันอนุมัติปริญญา อันเป็นไปตามลำดับขั้นตอนในระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏดังกล่าว กรณีจึงต้องถือว่า ผู้ร้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าแล้วในวันสมัคร มีคุณสมบัติในเรื่องความรู้ครบถ้วนตามที่กฎหมายต้องการแล้ว การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยถือว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 107 (3) เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)