พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามประกาศกกต.เฉพาะเขต
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 21 และ 22 กำหนดให้ผู้ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งและผู้ที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานีประกาศให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเฉพาะในเขตเทศบาลนครอุดรธานีแจ้งเหตุต่อบุคคลรับแจ้งเหตุลำดับที่ 55 ถึง 61 ณ สถานที่รับแจ้งเหตุ สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครอุดรธานี การที่ผู้ร้องซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีได้มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งเหตุต่อ ล. บุคคลผู้รับแจ้งเหตุลำดับที่ 4 ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองอุดรธานี ซึ่งมีหน้าที่รับแจ้งเหตุเฉพาะนอกเขตเทศบาลนครอุดรธานี แต่ไม่มีหน้าที่รับแจ้งเหตุของผู้มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จึงถือไม่ได้ว่าการแจ้งเหตุของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการแจ้งเหตุตามมาตรา 21 และมาตรา 22 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดและไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลผู้มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งเหตุในเขตเทศบาลนครอุดรธานีตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 23
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามประกาศกกต.เฉพาะเขต
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 หรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยมาตรา 21 และมาตรา 22 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งและผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้ง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง แต่งตั้งบุคคลรับแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กำหนดให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเฉพาะในเขตเทศบาลนครอุดรธานีแจ้งเหตุต่อบุคคลรับแจ้งเหตุ สถานที่รับแจ้งเหตุสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครอุดรธานี ผู้ร้องซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีจะต้องแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลรับแจ้งเหตุตามประกาศดังกล่าว การที่ผู้ร้องมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งเหตุต่อ ล. ที่สำนักทะเบียนอำเภอเมืองอุดรธานี ซึ่งมีหน้าที่รับแจ้งเหตุเฉพาะนอกเขตเทศบาลนครอุดรธานี แต่ไม่มีหน้าที่รับแจ้งเหตุของผู้มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จึงถือไม่ได้ว่าการแจ้งเหตุของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการแจ้งเหตุตามมาตรา 21 และมาตรา 22 ฉะนั้น การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดและไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลผู้มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งเหตุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานีดังกล่าว ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้ง-การสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ผู้ไม่ใช้สิทธิ-หน่วยเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อ
สิทธิของผู้ที่เป็นกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำเขตต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแต่งตั้งและวิธีปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้อ 15/1 มิใช่เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาฯเพราะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ ระบุให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งหรือเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ตนต้องประจำปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยไม่ต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และต้องแสดงหลักฐานคำสั่งแต่งตั้งต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งก่อนทำการลงคะแนน โดยให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเพิ่มชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งต่างหากได้ แต่เมื่อผู้ร้องเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตซึ่งมีหน้าที่ตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้งในเขตโดยไม่มีหน้าที่ต้องประจำปฏิบัติในหน่วยเลือกตั้งหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้ความเป็นกรรมการเลือกตั้งไปลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ผู้ร้องไม่มีบัญชีรายชื่อได้ การที่ผู้ร้องไปลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ผู้ร้องไม่มีบัญชีรายชื่อทั้งมิได้มีการเพิ่มชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องก็มิได้แจ้งเหตุถึงการไปใช้สิทธิในหน่วยเลือกตั้งที่ไม่มีบัญชีรายชื่อดังกล่าวต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 22 ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 68 วรรคสอง และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ฉะนั้นการที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครผู้ร้องและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงชอบแล้ว
คดีร้องขอให้รับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 34
คดีร้องขอให้รับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 34
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. หลักฐานขัดแย้ง ฟังไม่ได้ว่าขาดคุณสมบัติ
++ เรื่อง ขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากใช้สิทธิเลือกตั้งซ้ำซ้อนและไม่แจ้งเหตุไม่ใช้สิทธิ
ผู้ร้องแจ้งย้ายตนเองเข้าไปมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดยโสธรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดยโสธร มิใช่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดอีกต่อไป การที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยอ้างว่ามีรายชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด จึงเป็นการมิชอบ นอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธรประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องสามารถแจ้งเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้แต่ผู้ร้องหาได้ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ ผู้ร้องจึงตกเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8295/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอรับสมัครเลือกตั้ง สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง การไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้คัดค้านไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้อง ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8265/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุตามกฎหมาย
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเลือกตั้งครั้งใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อครบกำหนดสามสิบวันหลังจากวันเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 21 เพื่อให้ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าวแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศ และมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 ฯลฯ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภารอบสอง ทั้งมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าว ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันดังกล่าวผู้ร้องป่วยจริง ก็เป็นเพียงเหตุที่ผู้ร้องอาจแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ โดยอาจแจ้งก่อนหรือหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าวเท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้แจ้งเหตุเช่นนี้ จึงไม่อาจอ้างเหตุที่ผู้ร้องป่วยมาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องได้
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง: การประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น
แม้กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุขัดข้องต่อบุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งขึ้น แต่ย่อมเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายใดจะแจ้งเหตุที่ทำให้ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลดังกล่าวได้นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศชื่อผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21 หรือแจ้งเหตุไว้แล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรเสียก่อน หากคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมิได้ประกาศชื่อผู้นั้นเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 หน้าที่ในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งของบุคคลนั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2543 ผู้ร้องไปถึงหน่วยเลือกตั้งเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว 15 นาที เนื่องจากเครื่องบินโดยสารล่าช้าผู้ร้องจึงไม่ได้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าว ผู้ร้องย่อมอยู่ในฐานะที่อาจแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 22 แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ภายหลังการเลือกตั้งแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดขอนแก่นได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุ หรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิได้เป็นเหตุอันสมควร โดยไม่มีชื่อผู้ร้องอยู่ในประกาศดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าการไม่มีชื่อผู้ร้องในประกาศฉบับนั้นเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุใดก็ตาม หน้าที่ของผู้ร้องในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 จึงยังไม่เกิดขึ้น จะถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 ไม่ได้ผู้ร้องจึงไม่เสียสิทธิตามมาตรา 23 (3) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง: การแจ้งเหตุและการประกาศรายชื่อ
ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเหตุเครื่องบินโดยสารล่าช้าผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่อาจแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งภายหลังจากวันเลือกตั้งตามกฎหมายได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ผู้ร้องแจ้งเหตุขัดข้องหน้าที่ของผู้ร้องในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงยังไม่เกิดขึ้นจะถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ผู้ร้องไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส. จากไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง สว. และขอบเขตการนับระยะเวลาการเสียสิทธิ
คำว่า วันเลือกตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ มาตรา 4 หมายถึงเฉพาะวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นครั้งใด หาได้หมายความรวมถึงวันเลือกตั้งอื่น ๆ ด้วยไม่
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในครั้งที่สอง โดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อยังไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเกิดขึ้นอีก จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้การเสียสิทธิของผู้ร้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงยังคงเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องจะอ้างการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นมาเป็นข้อแก้ตัวให้กลับเป็นผู้มีสิทธิมิได้
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในครั้งที่สอง โดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อยังไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเกิดขึ้นอีก จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้การเสียสิทธิของผู้ร้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงยังคงเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องจะอ้างการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นมาเป็นข้อแก้ตัวให้กลับเป็นผู้มีสิทธิมิได้