คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันซ้ำโดยพนักงานอัยการและโจทก์เอกชน
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับพวกพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้ต่างฟ้องกล่าวหาจำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวกัน แม้ข้อความทีฟ้องแต่ละคดีจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันก็ตาม แต่บทความที่โจทก์ในคดีนี้และพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้อง ลงในหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์โจทก์ในอีกคดีหนึ่งกับโจทก์ในคดีนี้ต่างเป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),ฆ28(1) จึงเป็นพนักงานอัยการโจทก์ด้วยกัน การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีซ้ำจากข้อความหมิ่นประมาทเดียวกัน
แม้ข้อความที่ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ซึ่ง จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึง โจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ กับโจทก์คดีนี้ต่าง ก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5)28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี มิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนีมิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าวไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนีเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5443/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดสัญญาเช่าซื้อเป็นประกันหนี้ การแจ้งความเท็จและการอายัดสิทธิ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ยึดถือ
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยมอบหนังสือสัญญาเช่าซื้อห้องแฟลตให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน ต่อมาจำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าหนังสือสัญญาเช่าซื้อนั้นหายไป เพื่อเป็นหลักฐานไปขอคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อ แล้วนำคู่ฉบับสัญญาดังกล่าวไปขอโอนสิทธิให้ผู้อื่นแต่ถูกศาลสั่งอายัดเสียก่อน ดังนี้โจทก์มิใช่คู่สัญญาไม่มีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแต่ประการใดโจทก์มีสิทธิเพียงยึดถือหนังสือสัญญาเช่าซื้อไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น โจทก์มิได้สูญเสียสิทธิในการยึดถือหนังสือสัญญาเช่าซื้อ ค่าของหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ยึดถือก็มิได้ลดน้อยลงเพราะแม้จำเลยจะได้คู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อมาเนื่องจากการแจ้งความเท็จแต่ศาลก็ได้มีคำสั่งอายัดการโอนคู่ฉบับสัญญาดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่เสียหายโดยพฤตินัยหรือโดยนิตินัย และไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัยเท่านั้น
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้นอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 158) เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัย (รัฐ) ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยพฤตินัย (ประชาชน)
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้น อยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว ก็ไม่กระทบสิทธิของผู้รับโอนในการฟ้องผู้สั่งจ่าย
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็คพิพาท แม้ผู้สลักหลังจะชำระหนี้แล้ว
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจากป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้นเป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว สิทธิฟ้องไม่ระงับ
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.
of 39