คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ เป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับ ส. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม: การอุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะความเสียหายที่ตนเองได้รับ
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด ก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9525/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์และการพิสูจน์เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ
คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8201/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เสียหาย: ตัวแทนรับเงินค่าเบี้ยประกันภัย ลูกจ้างเบียดบังเงิน
แม้หนังสือแต่งตั้งตัวแทนจะมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัท ส. ก็ตาม ก็เป็นเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์และบริษัท ส. เท่านั้น ซึ่งบริษัท ส. ไม่เคยโต้แย้งปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่ตัวแทนของตนแต่อย่างใด ทั้งยังยอมรับการกระทำของโจทก์โดยออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามที่โจทก์แจ้งต่อบริษัท ส. โจทก์จึงเป็นตัวแทนโดยชอบของบริษัท ส. เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวไว้จากผู้เอาประกันภัยจึงมิใช่เป็นการรับไว้ในฐานะตัวแทนของผู้เอาประกันภัย หากแต่เป็นการรับไว้แทนโจทก์เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์การที่จำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนเองอันแสดงถึงเจตนาทุจริต ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบริษัท ส. โดยอาจจะต้องถูกบังคับให้ชดใช้จากหลักประกันที่โจทก์วางไว้ต่อบริษัท ส. โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเป็นการถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาด สิทธิการอุทธรณ์จึงระงับ
การที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม โดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์ การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอในคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หากข้อเท็จจริงสนับสนุน
การขอให้นับโทษต่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องกล่าวมาในคำฟ้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยโดยมิได้มีคำขอท้ายคำฟ้องแต่ละสำนวนให้นับโทษต่อ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน ขอให้นับโทษในคดีทั้งสองสำนวนต่อกันไป แม้จำเลยไม่คัดค้านคำร้องและไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดี สองสำนวนนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาด้วยกัน ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่าที่โจทก์อ้างมาในคำร้องนั้นเป็นความจริง ไม่มีปัญหาว่าจำเลยแต่ละคนอาจจะมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันอันจะทำให้ไม่อาจนับโทษต่อได้ เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษ ต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้จำเลยจะมิได้แถลงรับก็เห็นประจักษ์อยู่แล้วย่อมไม่มีทาง ที่ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของโจทก์เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากสั่งอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดแชร์เกิน 3 วง และสิทธิการฟ้องคดีอาญาในความผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์
จำเลยเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์รวม 7 วง จำเลยรวบรวมเงินจากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไปแล้วหลายงวด จำเลยจัดให้มีการประมูลแชร์ไปแล้วหลายงวด โดยสถานที่จัดประมูลแชร์คือที่ร้านของจำเลย การประมูลแชร์ตามวาระมีไปแล้วหลายครั้ง ผู้ที่ประมูลแชร์ได้ต่างก็ได้รับเงินไปแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์ ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมยังไม่เคยประมูลแชร์ได้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินกองกลางที่จำเลยรวบรวมไป เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยไปแล้ว เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ก็ย่อมจะตกได้แก่ผู้นั้นไป กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมต่อไปอีก และหากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิกไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็จะต้องรับผิดแทน ความรับผิดในกรณีเช่นนี้เป็นความผิดในทางแพ่ง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม
แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง 3 วง ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 234 มาตรา 6 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิดเมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มีการเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่า 3 วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 6, 17 และ ป.อ. มาตรา 352, 91 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์: ไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์โดยตรง
ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์: ไม่จำกัดเฉพาะผู้เสียหายร้องทุกข์โดยตรง
ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: โจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ทั้งทางแพ่งและ ทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีนี้โดยฟ้องจำเลย ทั้งสามเป็นคดีอาญาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในการดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ซึ่งให้นำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนี้ ในการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้นนอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 แล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ด้วย
พยานหลักฐานของโจทก์เองแสดงให้เห็นว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจาก วันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้ว โดยเป็นการทำซ้ำเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้น ให้แก่ ส. ตามที่ ส. ได้ล่อซื้อนั่นเอง มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ ดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าการที่มีผู้กระทำผิด ด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 39