พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์จ้างล่อซื้อ โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์เกิดหลังล่อซื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิสูจน์ว่าจำเลยรับจำนองแทนโจทก์ และการมีอยู่จริงของความเสียหาย
โจทก์เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัท น. จำเลยเคยเป็นพนักงานบริษัทดังกล่าวในตำแหน่งผู้ช่วยสมุห์บัญชีและมีชื่อเป็นผู้รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโจทก์ไม่มีหลักฐานใด ๆ มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งตามหนังสือสัญญาจำนองก็ไม่ปรากฏข้อความให้เห็นว่าจำเลยกระทำแทนโจทก์ช. พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำโฉนดที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้เงินก็เบิกความว่า นำโฉนดที่ดินและหลักฐานส่วนตัวไปติดต่อกับบริษัท น. และตอบคำถามค้านว่า ขณะไปกู้เงินไม่พบโจทก์ พบแต่จำเลย บริษัทให้จำเลยรับจำนองแทน จึงเจือสมกับที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทแทนบริษัท น. ขณะที่จำเลยทำงานเป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ การที่โฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาจำนองตัวจริงอยู่ในครอบครองของโจทก์ตลอดมาก็ไม่เป็นข้อพิรุธที่จะชี้ให้เห็นว่าจำเลยจำนองแทนโจทก์ เพราะขณะรับจำนองโจทก์เป็นกรรมการผู้หนึ่งของบริษัท น. โจทก์อาจนำเอกสารดังกล่าวมาเก็บไว้เป็นได้ จึงฟังยังไม่ได้ว่าจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือเช็คมีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้จะมอบให้ผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป.เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป.แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 ประกอบมาตรา 988 (4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ถือเช็คโดยชอบมีสิทธิฟ้องเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป. เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป. แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็คโจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ประกอบมาตรา 988(4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การบันทึกคำฟ้อง, และความบกพร่องในกระบวนพิจารณาคดี
ความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ผู้เสียหายที่ 2 ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานนี้ไม่ได้โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ จึงฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา เพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 43, 157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้องเท่านั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้นำไปให้คู่ความลงชื่อจึงเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น กระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่จึงไม่ต้องเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เฉพาะความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา เพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 43, 157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้องเท่านั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้นำไปให้คู่ความลงชื่อจึงเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น กระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่จึงไม่ต้องเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เฉพาะความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วมและผลของการบอกเลิกสัญญาต่อคดีเช็ค: การพิจารณาคุณสมบัติโจทก์และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
สำนวนคดีที่ห้าถึงที่สิบ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว ส่วนสำนวนคดีที่สามและที่สี่ แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 3 เข้าร่วมเป็นโจทก์เนื่องจากคำฟ้องทั้งสองสำนวนดังกล่าวโจทก์ที่ 3 ไม่ใช่ผู้เสียหายด้วย โจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเช่นกันการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน หามีผลให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ทุกสำนวนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกันไม่
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ อาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แต่การพิพากษาลงโทษฐานจัดหางานไม่ถูกต้อง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ เจ้าพนักงานตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้อยู่แล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คส่วนบุคคล: ผู้เสียหายฟ้องเอง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.พนักงานอัยการพ.ศ.2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการไม่มีอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการฎีกาที่ไม่ชอบ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย