คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม, ความผิดหลายกระทง, เจตนาเฉพาะเจาะจง, การปรับบทอาญา
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตาย ย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา288, 80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่า ในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตาย กระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกัน และกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน
เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้อง แต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์: กรณีบิดาให้ความอุปการะเลี้ยงดูแทนมารดาที่หนีไป
พ. มิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ น.ได้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277แม้ตามคำฟ้องจะระบุว่า น.ผู้เยาว์โดย พ.บิดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ แต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า น.เป็นบุตรของโจทก์อันเกิดกับ ร.ภรรยาของโจทก์ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และ ร.หนีออกจากบ้านตั้งแต่ น.ยังเล็กอยู่ พ.เป็นผู้ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา และให้ น.ใช้นามสกุลกรณีเป็นเรื่องมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ น.ผู้เยาว์ไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ ดังนั้น ญาติของ น.ผู้เยาว์หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องจึงอาจร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ถือได้โดยปริยายว่า ศาลชั้นต้นตั้งให้ พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีตามกฎหมายอีกทั้งยังปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีคำสั่งตั้ง พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีอีกด้วยเช่นนี้พ.จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยแทน น. ผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์: ผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดูมีอำนาจฟ้องได้เมื่อมารดาไม่สามารถทำหน้าที่ผู้แทนได้
พ.มิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ น.ได้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 277 แม้ตามคำฟ้องจะระบุว่า น.ผู้เยาว์โดย พ.บิดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ แต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า น.เป็นบุตรของโจทก์อันเกิดกับ ร.ภรรยาของโจทก์ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และ ร.หนีออกจากบ้านตั้งแต่ น.ยังเล็กอยู่พ.เป็นผู้ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา และให้ น.ใช้นามสกุล กรณีเป็นเรื่องมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ น.ผู้เยาว์ไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ดังนั้น ญาติของ น.ผู้เยาว์หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องจึงอาจร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 6 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ถือได้โดยปริยายว่า ศาลชั้นต้นตั้งให้พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีตามกฎหมาย อีกทั้งยังปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีคำสั่งตั้ง พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีอีกด้วย เช่นนี้ พ.จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยแทน น.ผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็ค การยอมความ และการแก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับ
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ ส. ต่อมาส. นำเช็คดังกล่าวมาชำระหนี้ค่ารถยนต์ที่ซื้อจากโจทก์ร่วมเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ภายหลังที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ ส. ได้นำรถยนต์ที่ซื้อขายไปคืนให้แก่โจทก์ร่วม ดังนี้การคืนรถยนต์ดังกล่าวมิใช่การชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยหรือเป็นการยอมความกันในคดีตามกฎหมาย ไม่ทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับ ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีทำร้ายร่างกาย: ผลของการเปลี่ยนแปลงบาดแผลต่อการเลิกคดีและการดำเนินคดีอาญา
โจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองทำร้ายร่างกายโจทก์ไม่ถึงกับเป็นเหตุอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวน ทำการเปรียบเทียบปรับ โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยินยอม คดีย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37(2) สิทธินำคดีอาญาในความผิดลหุโทษของโจทก์มาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นในวันเดียวกันโจทก์เกิดอาการมึนศีรษะ และอาเจียนจึงกลับไปให้แพทย์ตรวจใหม่ พบว่าสมองได้รับการ กระทบกระเทือนและมีเลือดคั่งต้องรักษานานประมาณ 30 วัน โดยโจทก์อ้างว่าเป็นผลเกิดจากถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แท่งเหล็กกลวงตี หากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง คดีก็ไม่ อาจเลิกกันได้เพราะกรณีมิใช่ความผิดลหุโทษเสียแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8278/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องเบิกความเท็จ หากความเสียหายตกแก่บริษัท ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น
ราคาที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเบิกความกล่าวอ้างถึงในคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท อ. จำกัด กับพวก เป็นจำเลย เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. จำกัด ดังนั้น ไม่ว่าคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับราคาค่าที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจะจริงหรือเท็จ หากศาลในคดีแพ่งพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นฝ่ายชนะคดีค่าเสียหายสำหรับราคาค่าที่ดินดังกล่าวย่อมตกได้แก่บริษัท อ. จำกัด มิได้ตกแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จ
แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. จำกัด แต่โดยที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้เป็นกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ตัวแทนของบริษัทผู้ได้รับความเสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลย หากโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการดำเนินกิจการของกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรรมการนั้นได้ตามกฎหมายโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8278/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเบิกความเท็จ: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องหากความเสียหายตกแก่บริษัท
ราคาที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเบิกความกล่าวอ้างถึงในคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท อ. จำกัด กับพวก เป็นจำเลย เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. จำกัด ดังนั้น ไม่ว่าคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับราคาค่าที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจะจริงหรือเท็จ หากศาลในคดีแพ่งพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นฝ่ายชนะคดีค่าเสียหายสำหรับราคาค่าที่ดินดังกล่าวย่อมตกได้แก่บริษัท อ. จำกัด มิได้ตกแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จ
แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. จำกัด แต่โดยที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้เป็นกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ตัวแทนของบริษัทผู้ได้รับความเสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลย หากโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการดำเนินกิจการของกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรรมการนั้นได้ตามกฎหมายโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม กรณีทรัพย์สินเป็นของนิติบุคคล
คำร้องของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นระบุว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้รับคำร้องและอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้แล้วแม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าทรัพย์ตามที่ระบุในคำฟ้องเป็นของ ณ. แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งมี ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและจำเลยนำสืบปฏิเสธว่า อ.กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์ร่วมซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมนำมาฝากไว้ซึ่งไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ ดังนี้ไม่เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ร่วมด้วยเหตุว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหลังล้มละลาย: มูลหนี้เป็นโมฆะ, ไม่มีอำนาจฟ้อง
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 91 ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้ว จึงหาอยู่ในบังคับตามมาตรา 91 ไม่ แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 24 โดยการที่จำเลยทั้งสองซึ่งศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วกระทำการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ร่วมตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็ค ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองโดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งศาลหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายดังนั้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ร่วมหามีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย ตามป.วิ.อ. มาตรา 28 จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 และโจทก์ร่วมก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ศาลชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ผู้รับเช็คไม่มีสิทธิเรียกร้อง ผู้สั่งจ่ายทำผิดพ.ร.บ.ล้มละลาย
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา91ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้วจึงหาอยู่ในบังคับตามมาตรา91ไม่แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา24โดยการที่จำเลยทั้งสองซึ่งศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วกระทำการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมอันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ร่วมตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็คซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองโดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งศาลหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะโจทก์ร่วมหามีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา28จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา124โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา121และโจทก์ร่วมก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30ศาลชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมเสีย
of 39