พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อรัฐ: เทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาละเมิดอำนาจศาลและการไม่เป็นผู้เสียหายในการอุทธรณ์ฎีกา
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ หากกรณีละเมิดอำนาจศาลได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลย่อมพิพากษาลงโทษไปได้โดยไม่ต้องมีการไต่สวน หากมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจะต้องทำการไต่สวนหาข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่ง การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองได้กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงนั้น ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสมควรจะทำการไต่สวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยหรือไม่เมื่อเห็นว่าไม่สมควรที่จะทำการไต่สวน ก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียได้ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยให้ยกคำร้องของจำเลยนั้นเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะจำเลยย่อมมิใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินเบี้ยประกันชีวิตโดยเจตนาทุจริต ไม่เป็นการยอมความหากโจทก์ไม่ยินยอม
จำเลยได้รับเงินเบี้ยประกันชีวิตไว้แทนโจทก์ เมื่อไม่ใช่รับไว้ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันชีวิตเพื่อนำไปมอบให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนอันแสดงถึงเจตนาทุจริต โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานยักยอกและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ การที่จำเลยนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีนั้น โจทก์ไม่ได้ตกลงด้วย จึงไม่เป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินเบี้ยประกันชีวิต: เจตนาทุจริตและสิทธิฟ้องร้อง
จำเลยได้รับเงินเบี้ยประกันชีวิตไว้แทนโจทก์ เมื่อไม่ใช่รับไว้ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันชีวิตเพื่อนำไปมอบให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนอันแสดงถึงเจตนาทุจริต โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานยักยอกและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีนั้น โจทก์ไม่ได้ตกลงด้วย จึงไม่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
การที่จำเลยนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีนั้น โจทก์ไม่ได้ตกลงด้วย จึงไม่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์แล้วนำไปใช้ส่วนตัว ไม่ใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตหากขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นแล้ว
การกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้แก่การที่จำเลยซึ่งเป็นศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการแล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องจากโจทก์ร่วมนั้น เมื่อว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว โจทก์ร่วมได้ส่งมอบครุภัณฑ์ตามฟ้องให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อซึ่งกรรมการตรวจรับครุภัณฑ์ได้ตรวจรับครุภัณฑ์ตามฟ้องไว้โดยดีหลังจากนั้น สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อได้ทำเรื่องขอเบิกเงินไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้ทำการตรวจสอบหลักฐานและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องได้จำเลยและกรรมการรับเงินจึงได้ไปรับเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องซึ่งจ่ายเป็นเช็ค แล้วนำเข้าบัญชีของสำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อแสดงว่าในช่วงเวลาก่อนที่ขั้นตอนและหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องเสร็จสิ้นลง จำเลยมิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายประการใดข้อที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มอบเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่เบิกมาจากทางราชการให้แก่โจทก์ร่วม แม้ฟังว่าจำเลยทำเช่นนั้นจริงก็เป็นการกระทำภายหลังขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงมิใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องกล่าวคือ จำเลยเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการ แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น แม้อาจถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบียดบังค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วยก็ตาม แต่เงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบียดบังไปนั้น เป็นเงินที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์จ่ายให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วมไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมมอบหมายจำเลยเป็นผู้รับมอบเงินแทน ต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวยังคงเป็นของทางราชการ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เมื่อไม่ปรากฏว่าส่วนราชการที่เป็นเจ้าของเงินได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพราะเหตุที่ได้กระทำการดังกล่าวพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และ มาตรา 264,268 ข้อหาละ 1 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก แต่เมื่อฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 ขึ้นมาสู่ การพิจารณาของศาลฎีกา และการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว คือการเอาใบเสร็จรับเงินของโจทก์ร่วมไปและกรอกข้อความในใบเสร็จรับเงินดังกล่าวบางฉบับ นำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ว่าได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้วนั้นเห็นได้ชัดว่าเพื่อประโยชน์ในการเอาเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องไปอันเป็นการกระทำที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 นั่นเอง ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด การแจ้งความเท็จไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ลดลง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของจำเลยได้หายไปจากบ้านพักพนักงานสอบสวนจึงได้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นความเท็จ ดังนี้ เห็นได้ว่า การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมานั้นจำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้นมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดี มิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดดังกล่าวในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงแต่ประการใด ในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่น อันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความรับเงินแทนลูกความโดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายหลายคน และการไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้ว
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งคนใดฟ้องผู้กระทำผิดก่อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)แม้จะนำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้ก็ตาม ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้นมิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกัน โจทก์ไม่เคยฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน การที่ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้มาก่อน ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องของผู้เสียหายหลายคนในคดีอาญา ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้ว
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน แม้จะมีผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำความผิดก่อนแล้วก็ตาม ผู้เสียหายคนอื่นก็มีสิทธิฟ้อง ผู้กระทำผิดได้อีก เพราะ ป.วิ.อ. ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหาย คนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีกและแม้ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะให้นำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1) มาใช้บังคับในคดีอาญา แต่ มาตรา 173 วรรคสอง (1) ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้น มิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกันดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฟ้อง จำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน และการที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้ก็ไม่ถือว่าเป็น การฟ้องแทนโจทก์ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็น ฟ้องซ้อนกับคดีอาญาที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ดังกล่าว.