พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916-5917/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: สัญญาและผลผูกพัน, การคัดค้านการจดทะเบียน, ศาลแก้ไขคำพิพากษา
ที่ผู้ร้องสอดโต้แย้งโจทก์เกี่ยวกับสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีมีปัญหาตีความข้อความในสัญญา และตามอุทธรณ์ของผู้ร้องสอดก็ไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องนำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงใด เมื่อข้อความในสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยตีความข้อสัญญาได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไป ส่วนในปัญหาว่าเครื่องหมายบริการคำว่า "METALEX" ของโจทก์กับเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการหรือไม่ ตามรูปคดีและลักษณะของเครื่องหมายบริการดังกล่าวก็สามารถวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความคล้ายกันหรือไม่ได้แล้วโดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไปเช่นกัน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้โดยชอบตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22313/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะและขอบเขตการผูกขาดสิทธิ
ไม่ว่าอักษรจีน คำว่า "เตี้ยน สุ่ย โหลว" จะแปลว่า ภัตตาคารที่ขายอาหารว่างและน้ำ หรือองค์การที่เกี่ยวกับน้ำก็ตาม แต่อักษรจีนคำว่า เตี้ยน สุ่ย โหลว เป็นอักษรจีนที่ใช้ทั่วไป อาจมีสำเนียงและลีลาการออกเสียงแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าเป็นภาษาจีนกลาง จีนแต้จิ๋ว หรือจีนกวางตุ้ง และสามารถแปลความหมายได้หลายอย่าง ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ในเครื่องหมายการค้าหรือบริการของตนได้ บุคคลใดจะอ้างเป็นผู้ถือสิทธิของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้
แม้เครื่องหมายบริการของโจทก์ยังมีอีกภาคส่วน คือ รูปรอยประดิษฐ์ลักษณะวงกลมอยู่บนอักษรจีนคำกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้วอาจทำให้เข้าใจว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่น แต่เมื่ออักษรจีนดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ก็เป็นกรณีที่ต้องให้โจทก์แสดงเจตนาว่าจะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 17 วรรคหนึ่ง (1) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายหรือมีคำขอท้ายฟ้องทั้งไม่ได้อุทธรณ์ไว้ จึงไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
แม้เครื่องหมายบริการของโจทก์ยังมีอีกภาคส่วน คือ รูปรอยประดิษฐ์ลักษณะวงกลมอยู่บนอักษรจีนคำกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้วอาจทำให้เข้าใจว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่น แต่เมื่ออักษรจีนดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ก็เป็นกรณีที่ต้องให้โจทก์แสดงเจตนาว่าจะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 17 วรรคหนึ่ง (1) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายหรือมีคำขอท้ายฟ้องทั้งไม่ได้อุทธรณ์ไว้ จึงไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22312/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายบริการ: การใช้ชื่อทางการค้า 'Hôtel Plaza Athénée' ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ และไม่มีความสับสนในทางการค้า
โจทก์กล่าวอ้างว่าผลของสัญญาซื้อขายหุ้นทำขึ้นโดยคู่สัญญาที่มิได้มีสัญชาติไทยและมิได้ทำขึ้นในประเทศไทยจึงต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ โจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยบังคับ
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยเน้นประเด็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องเป็นไปตามที่คู่ความยกขึ้น และอายุความในการเรียกค่าเช่า
แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีสถานีบริการอื่นมาเปิดใกล้เคียงกับสถานีบริการน้ำมันบางจากของจำเลยที่ 1 ก็เป็นวิสัยของการประกอบการที่จะต้องมีการแข่งขัน ไม่ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กลายเป็นพ้นวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกำหนดตามที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี ในการเรียกค่าเช่าที่ได้ชำระล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ตามที่คู่ความแถลงรวมทั้งวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ก็เป็นประเด็นข้อพิพาทและข้อวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 อุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกำหนดตามที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี ในการเรียกค่าเช่าที่ได้ชำระล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ตามที่คู่ความแถลงรวมทั้งวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ก็เป็นประเด็นข้อพิพาทและข้อวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 อุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายบริการ 'HAVE IT YOUR WAY' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นคำบรรยายทั่วไป หากใช้สร้างความแตกต่างกับบริการอื่น
แม้ว่าเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ที่โจทก์ขอยื่นจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวก 43 รายการบริการ ภัตตาคาร จะเป็นคำหลายคำประกอบกันเป็นข้อความ ซึ่งอาจแปลได้ความหมายว่า "มีมันตามทางของคุณ" หรือ "รับประทานมันตามใจ หรือตามแบบของคุณ" หรือสื่อความหมายได้ว่า "มีทุกอย่างที่คุณต้องการ หรือตามใจปรารถนา" ซึ่งมีลักษณะเป็นคำบรรยายทั่วไปก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวจะเป็นเครื่องหมายบริการได้ ก็ต้องเป็นเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 และในการพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายบริการที่ขอจดทะเบียนนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 กล่าวคือ ต้องเป็นเครื่องหมายบริการอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น และหากเป็นเครื่องหมายบริการที่เป็นคำหรือข้อความ คำหรือข้อความนั้นต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการนั้นโดยตรง แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดที่ระบุว่า เครื่องหมายที่เป็นคำหรือข้อความทั่วไปถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เพราะหากคำหรือข้อความนั้นได้ถูกใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายของบุคคลอื่นจนมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบ เข้าใจและสามารถแยกแยะได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น ดังนั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือผู้ขอจดทะเบียนสามารถพิสูจน์ได้ว่า เครื่องหมายที่เป็นคำหรือข้อความดังกล่าวมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้บริการนั้นทราบและเข้าใจว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวแตกต่างจากบริการอื่นอย่างไร และข้อความหรือคำดังกล่าวต้องเป็นข้อความหรือคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการนั้นโดยตรงตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) เพราะไม่ควรที่จะให้บุคคลใดมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือผูกขาดในข้อความหรือคำที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะหรือชนิดหรือประเภทของบริการนั้นโดยตรง ซึ่งบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะใช้ข้อความหรือคำที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของบริการกับบริการของตนได้ รวมทั้งมีสิทธิในการนำข้อความหรือคำที่แสดงถึงคุณสมบัติของบริการโดยตรงไปใช้พรรณนาหรือโฆษณาคุณภาพของบริการของตนได้
สำหรับเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ที่โจทก์ขอยื่นจดทะเบียนแม้จะมีลักษณะเป็นคำบรรยายแต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" โจทก์ได้รับการจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวกับบริการประเภทภัตตาคารซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทจานด่วนซึ่งจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มเป็นอาหารหลักภายใต้ร้านค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นของโจทก์ในต่างประเทศหลายสิบประเทศรวมทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยกับบริการประเภทภัตตาคารซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทจานด่วนซึ่งจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มเป็นอาหารหลักภายใต้ร้านค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นของโจทก์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบนถนนหลายสายภายในกรุงเทพมหานครที่เป็นแหล่งชุมชน รวมทั้งร้านอาหารของโจทก์ในแหล่งการค้าต่าง ๆ ในต่างจังหวัดที่เป็นสถานท่องเที่ยวสำคัญ และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ในนิตยสาร ที่สื่อสิ่งพิมพ์และการทำตลาดร่วมกับบัตรเครดิต (VISA) ป้ายโฆษณา ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการเห็นเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ เครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ของโจทก์จึงมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น ทั้งข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของภัตตาคารโดยตรง ดังนั้นเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 6 และมาตรา 7 วรรคหนึ่ง
สำหรับเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ที่โจทก์ขอยื่นจดทะเบียนแม้จะมีลักษณะเป็นคำบรรยายแต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" โจทก์ได้รับการจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวกับบริการประเภทภัตตาคารซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทจานด่วนซึ่งจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มเป็นอาหารหลักภายใต้ร้านค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นของโจทก์ในต่างประเทศหลายสิบประเทศรวมทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยกับบริการประเภทภัตตาคารซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทจานด่วนซึ่งจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มเป็นอาหารหลักภายใต้ร้านค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นของโจทก์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบนถนนหลายสายภายในกรุงเทพมหานครที่เป็นแหล่งชุมชน รวมทั้งร้านอาหารของโจทก์ในแหล่งการค้าต่าง ๆ ในต่างจังหวัดที่เป็นสถานท่องเที่ยวสำคัญ และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ในนิตยสาร ที่สื่อสิ่งพิมพ์และการทำตลาดร่วมกับบัตรเครดิต (VISA) ป้ายโฆษณา ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการเห็นเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ เครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ของโจทก์จึงมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น ทั้งข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของภัตตาคารโดยตรง ดังนั้นเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 6 และมาตรา 7 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่า "เทวารัณย์" เป็นคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมว่าสวนสวรรค์ จึงเป็นคำที่มีอยู่แล้วและใช้กันได้เป็นการทั่วไป ดังนี้ย่อมไม่มีเหตุอันควรที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือสิทธิในการใช้คำนี้แต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาด บุคคลอื่นย่อมยังสามารถใช้คำคำนี้ได้ เพียงแต่ต้องกระทำโดยสุจริตโดยไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดหรือเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ได้ใช้คำคำนี้เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือชื่อทางการค้ามาก่อน
ก่อนที่จำเลยจะใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" กับโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรของจำเลย ในเดือนมกราคม 2547 นั้น แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการโดยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" แต่ก็เป็นการจดทะเบียนไว้สำหรับบริการประเภทอื่นคนละประเภทกับกิจการของจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการสำหรับสินค้าและบริการที่จดทะเบียนไว้นั้นเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 จึงยังไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ในกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยได้
โจทก์ใช้คำ "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" ประกอบกับคำว่า "สปา" และ "SPA" ซึ่งช่วยสื่อความหมายถึงกิจการให้บริการด้านสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติอันเป็นกิจการหลักของโจทก์ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนจำเลยใช้คำว่า "บ้าน" และ "Baan" ประกอบกับคำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ซึ่งก็สื่อความหมายถึงการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยที่เป็นกิจการคนละประเภทกับโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่ประชาชนที่สนใจใช้บริการของโจทก์หรือบริการของจำเลยจะสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์แต่อย่างใด
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของโจทก์ บริษัทโจทก์มีทุนจดทะเบียน 8,000,000 บาท ส่วนตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของจำเลย จำเลยมีทุนจดทะเบียนมากถึง 90,000,000 บาท ลักษณะกิจการของจำเลยที่ปรากฏในเอกสารการโฆษณาที่จัดสรรที่ดินและบ้านขายในราคาสูงมาก แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงและเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขณะที่กิจการของโจทก์กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานให้เห็นว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่ดังเช่นกิจการของจำเลย ย่อมไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จำเลยประกอบกิจการที่ใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านของจำเลยโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงที่มีอยู่ในชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การที่จำเลยใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์และไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์
เมื่อการใช้คำว่า "เทวารัณย์ สปา" และ "DEVARANA SPA" ของโจทก์กับการใช้คำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" ของจำเลยไม่ว่าจะใช้เป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการในกิจการค้าของโจทก์และจำเลยแตกต่างกันและลักษณะคำที่ใช้ประกอบกันเป็นคำรวมดังกล่าวของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน จึงเชื่อได้ว่าการใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการของแต่ละฝ่ายไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการของผู้ให้บริการแต่ละฝ่าย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีสิทธิในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67
ก่อนที่จำเลยจะใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" กับโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรของจำเลย ในเดือนมกราคม 2547 นั้น แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการโดยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" แต่ก็เป็นการจดทะเบียนไว้สำหรับบริการประเภทอื่นคนละประเภทกับกิจการของจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการสำหรับสินค้าและบริการที่จดทะเบียนไว้นั้นเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 จึงยังไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ในกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยได้
โจทก์ใช้คำ "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" ประกอบกับคำว่า "สปา" และ "SPA" ซึ่งช่วยสื่อความหมายถึงกิจการให้บริการด้านสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติอันเป็นกิจการหลักของโจทก์ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนจำเลยใช้คำว่า "บ้าน" และ "Baan" ประกอบกับคำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ซึ่งก็สื่อความหมายถึงการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยที่เป็นกิจการคนละประเภทกับโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่ประชาชนที่สนใจใช้บริการของโจทก์หรือบริการของจำเลยจะสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์แต่อย่างใด
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของโจทก์ บริษัทโจทก์มีทุนจดทะเบียน 8,000,000 บาท ส่วนตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของจำเลย จำเลยมีทุนจดทะเบียนมากถึง 90,000,000 บาท ลักษณะกิจการของจำเลยที่ปรากฏในเอกสารการโฆษณาที่จัดสรรที่ดินและบ้านขายในราคาสูงมาก แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงและเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขณะที่กิจการของโจทก์กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานให้เห็นว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่ดังเช่นกิจการของจำเลย ย่อมไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จำเลยประกอบกิจการที่ใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านของจำเลยโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงที่มีอยู่ในชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การที่จำเลยใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์และไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์
เมื่อการใช้คำว่า "เทวารัณย์ สปา" และ "DEVARANA SPA" ของโจทก์กับการใช้คำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" ของจำเลยไม่ว่าจะใช้เป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการในกิจการค้าของโจทก์และจำเลยแตกต่างกันและลักษณะคำที่ใช้ประกอบกันเป็นคำรวมดังกล่าวของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน จึงเชื่อได้ว่าการใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการของแต่ละฝ่ายไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการของผู้ให้บริการแต่ละฝ่าย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีสิทธิในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายบริการ: ต้องฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
จำเลยให้การต่อสู้คดีเพียงว่า ฟ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ การมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจมิได้กระทำโดยถูกต้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์ คำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งว่า หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไร เมื่อโจทก์มีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่โนตารีปับลิกลงนามเป็นพยาน และมีเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการโจทก์พร้อมคำแปลมาแสดงว่า ฟ. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการรับผิดชอบต่อการบริหารกิจการทั้งหมดของโจทก์และมีอำนาจทำการแทน จึงฟังได้แล้วว่า ฟ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้จริง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 65 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งเพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 63 ผู้ร้องขอให้เพิกถอนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลภายในเก้าสิบวัน ซึ่งตามมาตรา 80 ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้ามาใช้บังคับแก่เครื่องหมายบริการโดยอนุโลม แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้อุทธรณ์โดยฟ้องผู้ใดเป็นจำเลยก็ตาม แต่เห็นได้ว่าผู้ที่ออกคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายบริการของโจทก์คือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงต้องฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เอง โจทก์มีคำขอบังคับขอให้ศาลพิพากษายกคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำขอบังคับฝ่ายบริหารอยู่แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแต่มาฟ้องจำเลยจึงไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 65 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งเพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 63 ผู้ร้องขอให้เพิกถอนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลภายในเก้าสิบวัน ซึ่งตามมาตรา 80 ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้ามาใช้บังคับแก่เครื่องหมายบริการโดยอนุโลม แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้อุทธรณ์โดยฟ้องผู้ใดเป็นจำเลยก็ตาม แต่เห็นได้ว่าผู้ที่ออกคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายบริการของโจทก์คือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงต้องฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เอง โจทก์มีคำขอบังคับขอให้ศาลพิพากษายกคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำขอบังคับฝ่ายบริหารอยู่แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแต่มาฟ้องจำเลยจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยได้รับอนุญาต แม้สัญญาเป็นโมฆะ แต่การกระทำไม่ถือเป็นการละเมิดหากสุจริตและปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการ THE HIDE-AWAY และรูปภาพเด็กนอนพิงผลมะนาว (LEMON BABY) จากบริษัทไฮด์อะเวย์ กรุ๊ป (1991) จำกัด มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ตั้งแต่วันที่โจทก์รับโอนเครื่องหมายบริการดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2546 ก็ยังอยู่ในช่วงเวลาของอายุสัญญาดังกล่าว แม้สัญญาจะเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 68 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 ก็ตาม แต่เนื้อความในสัญญาที่อนุญาตให้จำเลยใช้ข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการหายใจภายใต้เครื่องหมายบริการและชื่อทางการค้า "The Hide Away Thai Herbal Steam Sauna" ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ ย่อมทำให้จำเลยผู้ได้รับอนุญาตเข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่าตนสามารถใช้เครื่องหมายบริการและชื่อทางการค้าดังกล่าวได้เนื่องจากกระทำภายใต้เครื่องหมายบริการและชื่อทางการค้ากับใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ ยิ่งกว่านั้นหลังจากบริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิโอนเครื่องหมายบริการดังกล่าวให้บริษัทไฮด์อะเวย์ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด จำเลยกับบริษัทผู้รับโอนเครื่องหมายดังกล่าวก็ยังคงปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธินี้ด้วยดีตลอดมา ยิ่งทำให้จำเลยเชื่อเช่นนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยโฆษณาการให้บริการลูกค้าของจำเลยโดยใช้แผ่นป้ายโฆษณาที่มีเครื่องหมายบริการของโจทก์ในช่วงเวลาก่อนโจทก์ร้องทุกข์จึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการเสียหายและถือไม่ได้ว่าจำเลยละเมิดเครื่องหมายบริการของโจทก์โดยนำไปโฆษณา ขายหรือเพื่อขายธุรกิจบริการของจำเลยในแผ่นป้ายโฆษณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: ลักษณะบ่งเฉพาะและขอบเขตการคุ้มครอง
คำว่า CREATING แปลว่า สร้างสรรค์ ส่วนคำว่า CONCEPT แปลว่า ความคิด เมื่อรวมคำสองคำเข้าด้วยกันย่อมแปลว่า ความคิดสร้างสรรค์ แม้จะมีเครื่องหมายยัติภังค์คั่นอยู่ตรงกลางของคำทั้งสองก็ไม่ทำให้คำทั้งสองซึ่งมีความหมายอยู่แล้วกลายเป็นไม่มีความหมายไปได้ เมื่อคำทั้งสองเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้ว คำทั้งสองจึงมิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้น คำทั้งสองจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม มาตรา 7 วรรคสอง (3) ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 อย่างไรก็ตาม คำที่มิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นอาจเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (3) ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน หากคำนั้นมิได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรงและไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด แต่บริการของโจทก์ตามรายการบริการในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเสนอความคิดให้แก่ลูกค้าในเรื่องต่างๆ คำว่า CREATING - CONCEPT จึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง คำดังกล่าวจึงเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
คำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ จะเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม ประกอบมาตรา 80 ต่อเมื่อมีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดและพิสูจน์ได้ว่าปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว หลักเกณฑ์นั้นได้แก่ หลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ลงวันที่ 23 กันยายน 2542 ข้อ 2 ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการจะต้องพิสูจน์ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาในประเทศไทยจนทำให้สาธารณชนในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่นจึงจะถือว่าเครื่องหมายบริการของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่โจทก์คงมีแต่เอกสารเป็นพยานหลักฐานว่ามีการโฆษณาบบริการตามเครื่องหมายบริการของโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบพิสูจน์ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ได้มีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาในประเทศไทยจนทำให้สาธารณชนในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่น ฉะนั้น คำว่า CREATING - CONCEPT ซึ่งเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ จึงมิใช่คำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเนื่องจากมีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นจนแพร่หลายตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
แม้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) หรือ องค์การค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) จะรับจดทะเบียนคำว่า CREATING - CONCEPT ตามที่โจทก์อ้าง การจดทะเบียนดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยเพราะแม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเทศนั้นๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ทั้งมาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพียงแต่บัญญัติว่า ในกรณีที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประทศเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า หากคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นไปตามที่กำหนดในอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวให้ถือว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.นี้ บทบัญญัตินี้หาได้บัญญัติให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการนั้น โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน ฉะนั้น นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมีอำนาจรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ ถ้ารับจดทะเบียนจะกำหนดเงื่อนไขตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ได้
ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของโจทก์มิได้มีแต่คำว่า CREATING - CONCEPT เท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยการ์ตูนใบหน้าคล้ายรูปไข่หลับตาและยิ้มมีลักษณะท่าทางเหมือนกำลังก้าวเดินขึ้นไปบนสายรุ้ง และที่ปลายสายรุ้งมีรูปพระจันทร์เสี้ยว อันเป็นภาพที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น เครื่องหมายบริการในส่วนนี้จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (6) ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน แต่เครื่องหมายบริการดังกล่าวมีส่วนหนึ่งคือคำว่า CREATING - CONCEPT มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์สละสิทธิ์ที่จะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าวกับการขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน
คำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ จะเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม ประกอบมาตรา 80 ต่อเมื่อมีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดและพิสูจน์ได้ว่าปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว หลักเกณฑ์นั้นได้แก่ หลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ลงวันที่ 23 กันยายน 2542 ข้อ 2 ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการจะต้องพิสูจน์ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาในประเทศไทยจนทำให้สาธารณชนในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่นจึงจะถือว่าเครื่องหมายบริการของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่โจทก์คงมีแต่เอกสารเป็นพยานหลักฐานว่ามีการโฆษณาบบริการตามเครื่องหมายบริการของโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบพิสูจน์ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ได้มีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาในประเทศไทยจนทำให้สาธารณชนในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่น ฉะนั้น คำว่า CREATING - CONCEPT ซึ่งเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ จึงมิใช่คำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเนื่องจากมีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นจนแพร่หลายตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
แม้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) หรือ องค์การค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) จะรับจดทะเบียนคำว่า CREATING - CONCEPT ตามที่โจทก์อ้าง การจดทะเบียนดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยเพราะแม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเทศนั้นๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ทั้งมาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพียงแต่บัญญัติว่า ในกรณีที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประทศเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า หากคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นไปตามที่กำหนดในอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวให้ถือว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.นี้ บทบัญญัตินี้หาได้บัญญัติให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการนั้น โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน ฉะนั้น นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมีอำนาจรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ ถ้ารับจดทะเบียนจะกำหนดเงื่อนไขตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ได้
ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของโจทก์มิได้มีแต่คำว่า CREATING - CONCEPT เท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยการ์ตูนใบหน้าคล้ายรูปไข่หลับตาและยิ้มมีลักษณะท่าทางเหมือนกำลังก้าวเดินขึ้นไปบนสายรุ้ง และที่ปลายสายรุ้งมีรูปพระจันทร์เสี้ยว อันเป็นภาพที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น เครื่องหมายบริการในส่วนนี้จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (6) ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน แต่เครื่องหมายบริการดังกล่าวมีส่วนหนึ่งคือคำว่า CREATING - CONCEPT มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์สละสิทธิ์ที่จะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าวกับการขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: คำว่า ‘CREATING-CONCEPT’ ไม่บ่งเฉพาะ ต้องสละสิทธิ
อักษรโรมันคำว่า CREATING - CONCEPT เมื่อรวมคำสองคำเข้าด้วยกัน ย่อมแปลได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ แม้จะมีเครื่องหมายยัติภังค์คั่นอยู่ตรงกลางของคำทั้งสองก็ไม่ทำให้คำทั้งสองซึ่งมีความหมายอยู่แล้วกลายเป็นคำไม่มีความหมายไปได้ เมื่อเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้วจึงมิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นและไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (3) ประกอบมาตรา 80 อย่างไรก็ตาม คำที่มิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นอาจเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะได้ หากคำนั้นมิได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรง แต่บริการของโจทก์ตามรายการบริการในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเสนอความคิดให้แก่ลูกค้าในเรื่องต่าง ๆ คำว่า CREATING - CONCEPT จึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง
แม้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกหรือองค์การค้าโลกจะรับจดทะเบียนคำว่า CREATING - CONCEPT การจดทะเบียนดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย เพราะแม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้น ๆ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80
ส่วนการ์ตูนใบหน้าคล้ายรูปไข่หลับตาและยิ้ม มีลักษณะท่าทางเหมือนกำลังก้าวเดินขึ้นไปบนสายรุ้ง และที่ปลายสายรุ้งมีรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นภาพที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น เครื่องหมายบริการในส่วนนี้จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียน หากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้วมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ แต่เครื่องหมายบริการดังกล่าวมีส่วนหนึ่งคือคำว่า CREATING - CONCEPT มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์สละสิทธิที่จะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว
แม้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกหรือองค์การค้าโลกจะรับจดทะเบียนคำว่า CREATING - CONCEPT การจดทะเบียนดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย เพราะแม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้น ๆ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80
ส่วนการ์ตูนใบหน้าคล้ายรูปไข่หลับตาและยิ้ม มีลักษณะท่าทางเหมือนกำลังก้าวเดินขึ้นไปบนสายรุ้ง และที่ปลายสายรุ้งมีรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นภาพที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น เครื่องหมายบริการในส่วนนี้จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียน หากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้วมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ แต่เครื่องหมายบริการดังกล่าวมีส่วนหนึ่งคือคำว่า CREATING - CONCEPT มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์สละสิทธิที่จะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว