พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลายเรื่องการยื่นสำเนาบันทึกถ้อยคำพยาน ทำให้ศาลไม่รับเป็นหลักฐาน และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป
การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำพยานให้จำเลยก่อนวันนัดพิจารณาคดีตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ถือว่ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย ข้อ 14 วรรคสอง ย่อมทำให้โจทก์มิได้รับประโยชน์ในกระบวนพิจารณาส่วนนี้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะไม่ยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแทนการซักถามพยานโจทก์ และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยตามที่นัดไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายและการทราบนัด การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีล้มละลายได้ ก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลมตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วน
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาชี้ช่องทางฟื้นฟูใหม่และเหตุเปลี่ยนแปลงสำคัญ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่าไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ มีสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการแตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ได้ยื่นไว้พิจารณา จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลล้มละลายต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทภาษีจากการฟื้นฟูกิจการอย่างชัดเจน พร้อมพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าคำขอรับชำระหนี้รายนั้นมีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด คือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนหรืออนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ บางส่วน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตามมาตรา 90/32 และเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล และผู้คัคค้านแถลงคัดค้านคำร้องดังกล่าว ศาลล้มละลายจะต้องดำเนินการไต่สวนหาความจริงในข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่แล้ววินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำร้องและคำคัดค้านนั้น ในคำสั่งศาลเรื่องดังกล่าวจะต้องแสดงถึงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงและ คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและมีปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียม ตามมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเป็นประเด็นในการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ส่วนที่ 1 ภาษีอากรที่วัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปว่า จะใช้จำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าที่ขาดหาย ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านเข้าไปตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบเป็นฐานในการคำนวณภาระภาษีอากรจำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไปนั้นผู้ร้องสามารถชี้แจงได้หรือไม่ และลูกหนี้ต้องรับผิดภาษีจำนวนเท่าใด และส่วนที่ 2 ภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามามีอายุเกิน 2 ปี นับแต่วันนำเข้าเป็นภาระภาษีอากรที่ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ส่วนที่ 1 และเมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งประเด็นดังกล่าว ศาลล้มละลาย จึงต้องมีคำสั่งโดยวินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ป็นที่ชัดแจ้งว่าจะใช้จำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไป ณ วันใดเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากร มีสินค้าประเภทใดขาดหายไป จำนวนเท่าใด แล้วเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าทำให้ สินค้าขาดหายนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และหากเหตุดังกล่าวมีอยู่จริงถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ จากเหตุดังกล่าว ลูกหนี้ต้องรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจากวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 13/2534 เรื่องระเบียบเกี่ยวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ข้อ 17 และข้อ 19 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ทวิ (2) แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือไม่ เพียงใด และในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจาก นำวัตถุดิบเข้ามาค้างเกิน 2 ปี ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ค่าภาษีอากรเนื่องจากจำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปหรือไม่ อย่างไร เมื่อคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและ แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ผู้ร้องประสงค์จะอ้างหรือขอให้เรียกพยานเอกสารอีกหลายฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี อีกทั้งได้ระบุรายละเอียดของเอกสารดังกล่าวมาแล้วในคำร้องคัดค้านและคำฟ้องอุทธรณ์ พร้อมทั้ง ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติม นอกจากนี้ในคำร้องและคำคัดค้านยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอีกหลายประการ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย จึงจำต้อง ย้อนสำนวนคืนไปยังศาลล้มละลายเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเป็นประเด็นในการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ส่วนที่ 1 ภาษีอากรที่วัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปว่า จะใช้จำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าที่ขาดหาย ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านเข้าไปตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบเป็นฐานในการคำนวณภาระภาษีอากรจำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไปนั้นผู้ร้องสามารถชี้แจงได้หรือไม่ และลูกหนี้ต้องรับผิดภาษีจำนวนเท่าใด และส่วนที่ 2 ภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามามีอายุเกิน 2 ปี นับแต่วันนำเข้าเป็นภาระภาษีอากรที่ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ส่วนที่ 1 และเมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งประเด็นดังกล่าว ศาลล้มละลาย จึงต้องมีคำสั่งโดยวินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ป็นที่ชัดแจ้งว่าจะใช้จำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไป ณ วันใดเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากร มีสินค้าประเภทใดขาดหายไป จำนวนเท่าใด แล้วเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าทำให้ สินค้าขาดหายนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และหากเหตุดังกล่าวมีอยู่จริงถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ จากเหตุดังกล่าว ลูกหนี้ต้องรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจากวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 13/2534 เรื่องระเบียบเกี่ยวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ข้อ 17 และข้อ 19 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ทวิ (2) แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือไม่ เพียงใด และในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจาก นำวัตถุดิบเข้ามาค้างเกิน 2 ปี ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ค่าภาษีอากรเนื่องจากจำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปหรือไม่ อย่างไร เมื่อคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและ แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ผู้ร้องประสงค์จะอ้างหรือขอให้เรียกพยานเอกสารอีกหลายฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี อีกทั้งได้ระบุรายละเอียดของเอกสารดังกล่าวมาแล้วในคำร้องคัดค้านและคำฟ้องอุทธรณ์ พร้อมทั้ง ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติม นอกจากนี้ในคำร้องและคำคัดค้านยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอีกหลายประการ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย จึงจำต้อง ย้อนสำนวนคืนไปยังศาลล้มละลายเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยไม่ชำระค่าธรรมเนียมส่งสำเนาอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน แต่จำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แม้ตามทางปฏิบัติจะมีหนังสือแจ้งให้ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแทนก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง ส่วนเงินที่โจทก์ได้วางไว้ในขณะยื่นคำฟ้องเป็นประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 11 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 6 มิใช่เงินที่โจทก์ได้วางไว้เป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้า หากโจทก์ประสงค์จะให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเป็นค่าธรรมเนียมในคดีจากเงินประกันดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบและได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นก่อน ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายนำหมายของศาลชั้นต้นว่าได้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลแล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าจะดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยหักเงินค่าธรรมเนียมในการส่งจากเงินประกันดังกล่าว แม้เป็นความจริงก็เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ เมื่อโจทก์มิได้ชำระเงิน ค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลย เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และมาตรา 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672-1674/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายค่าวิชาชีพผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการหลังศาลล้มละลายกลางแก้ไขคำสั่ง และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดค่าตอบแทนแล้ว
คดีนี้ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งสามและตั้งผู้ทำแผน ต่อมาผู้ทำแผนยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขออนุญาตเบิกจ่ายเงินของลูกหนี้ทั้งสามเพื่อชำระค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผน ศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาต ต่อมามีการโอนสำนวนไปยังศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของศาลแพ่ง ผู้ทำแผนจึงยื่นคำร้องขอเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายส่วนที่ค้างต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลล้มละลายกลางสั่งยกคำร้อง ผู้ทำแผนจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ทำแผนเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายจากบัญชีของลูกหนี้ทั้งสามได้ เมื่อปรากฏว่าภายหลังจากที่ผู้ทำแผนยื่นอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งสามโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้กำหนดค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายหรือคดีฟื้นฟูกิจการโดยหักจากเงินในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายให้ผู้ทำแผนแล้วโดยผู้ทำแผนมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เท่ากับว่าผู้ทำแผนสามารถเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้อยู่แล้วตามคำสั่งศาลดังกล่าว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ทำแผนอีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ