คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้าย: ป้ายในอาคารและหน้าที่สืบหาเจ้าของป้าย
พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาคาร" ไว้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้ที่จะต้องเสียภาษีอากร ซึ่งคำว่า "อาคาร" นี้ ตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายความถึง เรือน โรง สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สถานีบริการน้ำมันโดยปกติแล้วจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ตัวอาคารที่เป็นที่ทำการตู้จำหน่ายน้ำมันและหลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน รวมทั้งจะต้องเปิดโล่งให้รถยนต์เข้าไปเติมน้ำมันได้ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้รวมกันเป็นสถานีบริการน้ำมันจึงถือว่าเป็นอาคาร
ป้ายที่มีข้อความว่า "ซูพรีม97ซูพรีม 92" และ "ESSO รูปเสือ"อยู่ใต้หลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน เป็นป้ายที่อยู่ภายในอาคารของสถานีบริการน้ำมันที่ใช้ประกอบการค้า ทั้งป้ายที่มีข้อความว่า "ซูพรีม 97ซูพรีม 92" มีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 70 เซนติเมตร และป้ายที่มีข้อความว่า "ESSO รูปเสือ" มีขนาดกว้าง 50 เซนติเมตรยาว 100เซนติเมตร อันเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8(5) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่มีข้อความว่า "AMERICANEXPRESS" ซึ่งติดตั้งอยู่ในอาคารของโจทก์ ไม่ใช่ป้ายที่โจทก์เป็นเจ้าของ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลย ไม่ได้สืบหาเจ้าของป้ายผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 18พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีป้ายดังกล่าวไปยังโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'อาคาร' ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย และการแจ้งประเมินภาษีป้ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาคาร" แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่ชัดแจ้ง ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้ที่จะต้องเสียภาษีอากร คำว่า "อาคาร" ตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายความถึง เรือน โรง สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สถานีบริการน้ำมันโดยปกติแล้วจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ตัวอาคารที่เป็นที่ทำการตู้จำหน่ายน้ำมันและหลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน รวมทั้งจะต้องเปิดโล่งให้รถยนต์เข้าไปเติมน้ำมันได้ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้รวมกันเป็นสถานีบริการน้ำมัน จึงถือว่าเป็นอาคาร
ป้ายที่มีข้อความว่า "ซูพรีม 97 ซูพรีม 92" และ "ESSO รูปเสือ" อยู่ใต้หลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน เป็นป้ายที่อยู่ภายในอาคารของสถานีบริการน้ำมันที่ใช้ประกอบการค้า ทั้งเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร ย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8 (5) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 จึงไม่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่มีข้อความว่า "AMERICAN EXPRESS" ซึ่งติดตั้งอยู่ในอาคารของโจทก์ ไม่ใช่ป้ายที่โจทก์เป็นเจ้าของ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยไม่ได้สืบหาเจ้าของป้ายผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จึงเป็นการไม่ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 18 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีป้ายดังกล่าวไปยังโจทก์