พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบได้ แม้ไม่ใช่โทษจำคุก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 97, 102 ป.อ.มาตรา 91,83, 32, 33 และมีคำขอให้ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ได้ที่เบาะนั่งคนขับโดยใช้แผ่นยางปูพื้นรถปิดไว้ ถือได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเหตุอันควรสงสัย
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 ได้บัญญัติให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบเป็นทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และพิสูจน์ว่าผู้ที่ร้องเข้ามาไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิดดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ตามมาตรา 30,31 ต่อมาได้มีการประกาศ ในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็น เจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวซึ่งมีความประสงค์ จะคัดค้านได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีแล้ว และศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้นัดไต่สวนพร้อมไปกับสืบพยานโจทก์และจะมีคำสั่ง ในคำพิพากษา ซึ่งในคดีดังกล่าวผู้ร้องซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธและนำสืบพยานว่ารถยนต์ของกลาง เป็นของจำเลยที่ 2(ผู้ร้อง) จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการ ขอให้ริบรถยนต์ของผู้ร้องตาม พระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 และผู้ร้องได้เข้ามา ในกระบวนการที่กำหนดในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว การจะริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าเป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ก็ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ปรากฏเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสองดังนั้น เมื่อต่อมาในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องแล้วผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นคดีนี้อีก ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ผู้มีสิทธิคัดค้านต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว สิทธิเรียกร้องคืนสิ้นสุด
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 ได้บัญญัติให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบเป็นทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และพิสูจน์ว่าผู้ที่ร้องเข้ามาไม่มีโอกาสทราบ หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามมาตรา 30, 31 ต่อมาได้มีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวซึ่งมีความประสงค์จะคัดค้านได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดไต่สวนพร้อมไปกับสืบพยานโจทก์และจะมีคำสั่งในคำพิพากษา ซึ่งในคดีดังกล่าวผู้ร้องซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธและนำสืบพยานว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 2 (ผู้ร้อง) จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการขอให้ริบรถยนต์ของผู้ร้องตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 30, 31 และผู้ร้องได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดในมาตรา 30 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว การจะริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534 มาตรา 30 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ก็ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ปรากฏเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบ หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อต่อมาในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นคดีนี้อีก ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-ระงับสิทธิฟ้อง: คดีผลิตและครอบครองยาเสพติด
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่ เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีน ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยาย ฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีน โดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน 3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิตดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่ จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของ จำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32,33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – การระงับสิทธิฟ้องคดีซ้ำ – การริบของกลาง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากความผิด: ศาลมีอำนาจริบเงินได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่ของกลางในคดีปัจจุบัน
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำผิดในคดีปัจจุบัน ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (กัญชา) ที่ศาลลืมวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 32 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (ยาเสพติด) ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225