พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษคดียาเสพติดและไม่ริบเงินจากการขายยา เหตุเงินไม่ใช่ของกลางที่ได้จากการกระทำผิดโดยตรง
เงินของกลางจำนวน 6,000 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบ โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนถูกจับกุมก่อนหน้านี้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่ได้กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดี
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 4 กับยึดรถยนต์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษเป็นของกลาง เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางที่ยึดจากจำเลยที่ 4 เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่ามิได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นการมิชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยและพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของจึงเป็นการมิชอบเช่นกัน และโจทก์หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของโจทก์และอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 โดยให้บังคับคดีลงโทษจำเลยที่ 4 ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และการริบโทรศัพท์มือถือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 11,000 เม็ด ไว้ในครอบครอง ซึ่งเมื่อคำนวณน้ำหนักเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 233.633 กรัม ซึ่งเกินกว่า 20 กรัม จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง นอกจากนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ซึ่งตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไม่ส่อพฤติการณ์ให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจหลอกลวงให้รับสารภาพ โดยเฉพาะในชั้นสอบสวน พันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนได้ยืนยันการรับสารภาพและได้มีการแจ้งสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาให้จำเลยทั้งสองทราบก่อนลงมือสอบปากคำจำเลยทั้งสองอันเป็นการสอบสวนโดยชอบแล้ว ส่วนในชั้นจับกุมขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานตำรวจต้องแจ้งสิทธิก่อนทำการจับกุม จึงหาจำต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวไม่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง
ทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษในคดีนี้อย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ตามขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคูความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
ทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษในคดีนี้อย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ตามขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคูความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: รถยนต์ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่สามารถริบได้
จำเลยที่ 3 นั่งโดยสารมาในรถยนต์กระบะ ถือกางเกงซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่มาด้วย หาได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเป็นที่ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางไม่ รถยนต์กระบะจึงมิใช่ยานพาหนะซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง โดยคืนให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบกระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำ: ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยใช้กระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำสำหรับซุกซ่อนธนบัตรที่ได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ใช้สำหรับซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ ของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดประเภท 1 และ 2 ผสมกัน และประเภท 1 อย่างเดียว ถือเป็นความผิดหลายกรรม ต้องเรียงกระทงลงโทษ
ยาเสพติดให้โทษของกลางจำนวนแรกเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 (คีตามีน) ผสมกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) จำเลยจึงมีเจตนาครอบครองยาเสพติดใด้โทษรวมกันไปไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนของกลางจำนวนที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนแบบเกล็ด) และ (3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน) ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกัน เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยมียาเสพติดให้โทษจำนวนแรกและจำนวนที่ 2 และที่ 3 ไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละบท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต้องเรียงกระทงลงโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ กรรมเดียวไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 อีกกระทงหนึ่งได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
การที่จำเลยมียาเสพติดให้โทษจำนวนแรกและจำนวนที่ 2 และที่ 3 ไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละบท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต้องเรียงกระทงลงโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ กรรมเดียวไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 อีกกระทงหนึ่งได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยอุทธรณ์เฉพาะโทษ ไม่โต้แย้งข้อเท็จจริงเดิม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นความผิด
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดทั้งสองดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เพียงขอให้ลดมาตราส่วนโทษและลงโทษสถานเบาเท่านั้น จำเลยที่ 2 หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวด้วยไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นการโต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้ว และเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดโดยตรง และการลดโทษจำคุกจากประหารชีวิต
ธนบัตรของกลางดังกล่าวไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ดังนั้น จึงไม่อาจริบธนบัตรของกลางที่ไม่ได้มาจากการกระทำความผิดคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อยาเสพติด: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ และการริบเงินล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เงิน 100 บาท ของกลางที่ใช้ในการล่อซื้อมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใดซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่อาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อยในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้โดยลดโทษให้หนึ่งในสาม ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้เฉพาะโทษ กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ขอให้ลงโทษประหารชีวิต เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว