คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 102

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดยาเสพติด: สันนิษฐานความเชื่อมโยงกับความผิดและภาระการพิสูจน์
จำเลยคดีนี้กับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วมิใช่บุคคลคนเดียวกัน เหตุแห่งการขอริบธนบัตรจำนวนเดียวกัน คดีอีกคดีหนึ่งโจทก์ขอริบโดยอ้างเหตุว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยในคดีดังกล่าวได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 แต่คดีนี้ผู้ร้อง อ้างเหตุให้ริบว่าเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้ ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 22, 27, 29 และ 31 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลพิจารณาริบธนบัตรจำนวนนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงหาเป็นการร้องซ้อนหรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอีกคดีหนึ่ง หรือทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ไม่
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะใช้ในการกระทำผิดยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องมีคำร้องเฉพาะตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้รถยนต์ขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ อันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดและมีคำขอให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33ซึ่งคำขอในลักษณะเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สิน ต่างจากพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สินฉะนั้น เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาล และศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินสดจากคดียาเสพติด และหลักการเพิ่มลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เงินสดจำนวน 2,800 บาท ของกลางที่โจทก์ขอให้ริบ ไม่อยู่ในความหมายเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่อาจริบได้
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง: เงินล่อซื้อ, เงินจากการขายยา, และเข็มฉีดยา - หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
เมื่อปรากฏว่าธนบัตรของกลางจำนวน 240 บาทที่เจ้าพนักงานตำรวจนำมาใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสามเป็นเงินที่เจ้าพนักงานตำรวจตระเตรียมมา หาใช่เป็นของจำเลยทั้งสามไม่ จึงริบไม่ได้ต้องคืนแก่เจ้าของ ส่วนเงินสดของกลางอีกจำนวน 4,320 บาทก็เป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามได้มาจากการจำหน่ายเมทเแอมเฟตามีนก่อนหน้านี้ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิดในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่อาจริบได้ สำหรับเข็มฉีดยาโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเสพเฮโรอีนมา เข็มฉีดยาไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงไม่อาจริบได้เช่นกัน แม้จำเลยทั้งสามไม่ได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาและการริบยาเสพติดให้โทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 8 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 13 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้โทษเฉพาะในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจากโทษ จำคุก 8 ปี เป็นจำคุก 5 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ความผิดแต่ละกระทงดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 หนักขึ้นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาโต้แย้ง ดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 มิได้บัญญัติให้ริบยาเสพติดให้โทษให้แก่กระทรวงสาธารณสุขการริบบรรดายาเสพติดให้โทษตามมาตรา 102 ศาลจึงกล่าวแต่เพียงว่าให้ริบยาเสพติดให้โทษเท่านั้น โดยไม่ต้องกล่าวว่า ริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลไม่ต้องระบุให้ริบแก่กระทรวงสาธารณสุข
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 บัญญัติแต่เพียงว่า บรรดายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4หรือประเภท 5 เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น มิได้บัญญัติให้ริบยาเสพติดให้โทษให้แก่กระทรวงสาธารณสุขดังที่โจทก์ขอ ดังนั้น ศาลจึงสั่งแต่เพียงว่าให้ริบยาเสพติดให้โทษจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7959/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากความผิดยาเสพติด: ต้องมีการฟ้องและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายเสียก่อน จึงจะริบได้
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบเงินของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของ แม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7959/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากความผิดยาเสพติดต้องมีฟ้องและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่าย
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดตามป.อ.มาตรา 33 (2) ได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบเงินของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของ แม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7959/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากการกระทำผิดยาเสพติด ต้องมีฟ้องและพิสูจน์การกระทำความผิดฐานจำหน่ายด้วย
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของแม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปรับบทความผิดจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ เมื่อเมทแอมเฟตามีนถูกระบุเป็นยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเพื่อขายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกัน และถูกจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุ แห่งการกระทำต่างชนิดกัน แต่เมื่อเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เมื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 แล้ว แต่ไม่ถึง 20 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ไม่เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอีกต่อไป เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันกับมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบท ลงโทษมาตรา 67 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และการริบเมทแอมเฟตามีนก็ไม่อาจริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้เพราะ ไม่ได้ลงโทษตามาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
of 13