พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด ณ วันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความล่าช้าในการจ่ายค่าชดเชย
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ทันที กำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ก่อนได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทน ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์เรื่องเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย