คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 295 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กลับ การถอนการบังคับคดี และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดในคดีหมายเลขแดงที่ ย. 211/2546 ของศาลแพ่ง เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โดยขณะนำยึดทรัพย์สินนั้นคำพิพากษาของศาลแพ่งยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่และยังไม่ได้ถูกกลับโดยคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคดีดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) และบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี แม้ศาลแพ่งจะได้ออกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไว้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะถอนการบังคับคดีโดยโจทก์หรือจำเลยไม่ต้องร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลที่สั่งบังคับคดีไว้ และแม้เมื่อยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี อันเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 153 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีเป็นผู้ชำระและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ได้ชำระก็เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพื่อชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 ตรี ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 (3) เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินหลังศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา: ผลของฎีกาต่อการคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยหลายรายการเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามอันมีผลให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอุทธรณ์ชนะในข้อสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 251 (เดิม) ซึ่งบังคับใช้ในขณะยื่นฟ้อง จำเลยจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือคืนเงินจำนวนที่วางไว้ต่อศาลในข้อนั้น ๆ ก็ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามยังฎีกา โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกากำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ด้วยการมีคำสั่งให้การบังคับคดียังคงมีผลต่อไป และศาลฎีกาได้มีคำสั่งคำร้องที่ 1315/2556 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ว่า แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่ก็มิใช่คำพิพากษาถึงที่สุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) เพราะโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ยังฎีกาอยู่ การยึดและอายัดทรัพย์สินจึงยังคงมีผลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีหลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น และหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมอายัด
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากธนาคารของจำเลย การที่จำเลยได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคสาม นั้น ก็เพื่อมิให้ถูกบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ในระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 (1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงให้งดการบังคับคดีไว้ตามคำสั่งศาลชั้นต้นโดยให้ถอนการอายัดเงินฝากธนาคารของจำเลย หากคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีการบังคับคดีอยู่ไม่ถูกกลับในชั้นที่สุด ค่าธรรมเนียมในกรณีอายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ย่อมตกแก่จำเลยในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 169/2 วรรคหนึ่ง แต่ในคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความรวม 80,000 บาทมีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นลูกหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติข้อพิพาทโดยโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีและเรียกร้องใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป และให้ผู้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมหรือเงินใด ๆ ตามคำพิพากษามีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาลได้ก็ตาม ก็มีผลเพียงเป็นการยุติการดำเนินคดีของโจทก์และให้โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมหรือเงินใด ๆ ที่วางไว้ตามคำพิพากษาคืนจากศาลเท่านั้น ไม่มีผลเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องแต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์และจำเลยย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว โจทก์จึงไม่สามารถดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้อีกและทำให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำเนินไปแล้วถูกเพิกถอนไปกรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเป็นการถอนการบังคับคดีไปด้วยเหตุคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีนั้นถูกกลับในชั้นที่สุดโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) อันเป็นการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 295 (1) ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 169 /2 วรรคสี่ บัญญัติให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขออายัดเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีอายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21019/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ถอนการบังคับคดีเมื่อคำพิพากษาเดิมถูกกลับโดยศาลอุทธรณ์ ผู้ขอบังคับคดีต้องรับผิด
จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นก็เพื่อมิให้ถูกบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระหว่างอุทธรณ์ ไม่มีผลเป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตกลงไม่เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินและจำเลยไม่ต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยมิได้ตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีเป็นอย่างอื่น และศาลอุทธรณ์พิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุด โจทก์จึงไม่สามารถบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้อีก ทำให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไป จึงเป็นกรณีการถอนการบังคับคดีด้วยเหตุคำพิพากษาที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) เป็นกรณีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 295 (1) ซึ่งตามมาตรา 169/2 วรรคสี่ ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดค่าฤชาธรรมเนียมการบังคับคดีในชั้นที่สุด หากโจทก์ไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีค่าธรรมเนียมดังกล่าวแก่โจทก์ได้ตามมาตรา 295 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาฎีกา ศาลมีอำนาจสั่งให้ถอนการบังคับคดี
การบังคับคดีย่อมอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก และการแปลคำพิพากษาต้องพิเคราะห์เกี่ยวกับข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังคงเป็นของโจทก์ จำเลยไม่อาจขอให้ขับไล่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายได้ จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีขับไล่โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมยึดทรัพย์สินของโจทก์ออกขายทอดตลาด ก็เพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาบังคับไปตามฟ้องแย้งจำเลย เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องแย้งจำเลยเท่ากับคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดี และเมื่อศาลยังไม่ส่งคำสั่งถอนการบังคับคดีให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) โจทก์ผู้ถูกบังคับย่อมร้องขอต่อศาลเพื่อให้ส่งคำสั่งดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาเพื่อให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นการส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการถอนการบังคับคดีโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดี และการคืนเงินที่รับชำระเกินจำนวนที่ชนะคดี
การถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 295(3) มีสองกรณี กรณีแรกคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด กรณีที่สองหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสียเมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งกรณีที่สองนี้แปลความได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีก็คือศาลที่ออกหมายบังคับคดีอันได้แก่ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจนกระทั่งจำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์ไปบางส่วน แต่ในเมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำเงินที่รับชำระไปบางส่วนดังกล่าวนั้นมาคืนให้แก่จำเลยแสดงว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีแล้วจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ในศาลฎีกา ปรากฏว่าคดีประธานของคดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ชนะคดีบางส่วนซึ่งยังไม่ทราบจำนวนแน่นอน หากจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปเกินกว่าที่โจทก์ชนะคดี โจทก์ก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินไปจากที่โจทก์ชนะคดีนั้นให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก
การถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) มีสองกรณี กรณีแรกคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด กรณีที่สองหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสียเมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรณีที่สองนี้แปลความได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีก็คือศาลที่ออกหมายบังคับคดีอันได้แก่ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจนกระทั่งจำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์ไปบางส่วน แต่ในเมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำเงินที่รับชำระไปบางส่วนดังกล่าวนั้นมาคืนให้แก่จำเลยแสดงว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีแล้ว จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3)
ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ในศาลฎีกา ปรากฏว่าคดีประธานของคดีนี้ ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ชนะคดีบางส่วน ซึ่งยังไม่ทราบจำนวนแน่นอน หากจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปเกินกว่าที่โจทก์ชนะคดี โจทก์ก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินไปจากที่โจทก์ชนะคดีนั้นให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน และอำนาจฎีกาของผู้ไม่มีส่วนได้เสีย
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีนี้หลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ไปแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดี แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หากการบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดที่ได้ดำเนินการโดยชอบแล้วเสียไป สำหรับกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีที่มีคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 295(3) นั้น หมายถึงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไป มิได้หมายความว่าการบังคับคดีที่ผ่านไปแล้วกลายเป็นการบังคับคดีที่มิชอบแต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินพิพาทไว้ 291,000 บาทตรงกับราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง17,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไปเพียง 125,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมินกว่าสองเท่าตัว แม้จะมีการประกาศขายถึง 5 ครั้ง แต่เป็นการเลื่อนการขายเพราะไม่มีผู้นำขายถึง 2 ครั้ง อีก 3 ครั้งเลื่อนเพราะมีผู้เสนอราคาต่ำ เห็นได้ว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอไปนั้นเป็นราคาที่ต่ำเกินไป หากเลื่อนการขายออกไปอาจมีผู้เสนอราคาสูงกว่านั้นได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีน่าจะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของการขายทอดตลาด เป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาด: การยกเลิกเนื่องจากราคาต่ำกว่าประเมิน และอำนาจในการคัดค้านหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ขณะที่คดีขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดใหม่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาได้พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์จึงมีคำพิพากษาในเรื่องบังคับคดีโดยให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป ทั้งโจทก์มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงไม่มีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีต่อไป เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หากการบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดที่ได้ดำเนินการโดยชอบแล้วเสียไป กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีที่มีคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) นั้นหมายถึงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไปมิได้หมายความว่าการบังคับคดีที่ผ่านไปแล้ว กลายเป็นการบังคับคดีที่มิชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินกว่าสองเท่าตัว แม้จะมีการประกาศขายถึง 5 ครั้งแต่เป็นการเลื่อนการขายเพราะไม่มีผู้นำขายถึง 2 ครั้ง อีก 3 ครั้งเลื่อนเพราะมีผู้เสนอราคาต่ำ การขายในครั้งนี้แม้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ที่มีผู้เสนอราคา แต่ก็เห็นได้ว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอต่ำเกินไป หากเลื่อนการขายออกไปอีกอาจมีผู้เสนอราคาสูงกว่าก็ได้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็น่าจะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดครั้งนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง