คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,524 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งประทับฟ้องเด็ดขาด, การยกฟ้องโดยศาลอุทธรณ์, และการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวนโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีเสียใหม่ แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องขัดคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย จึงมิชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกข้อเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดี จึงเป็นการยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวน ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ทั้งหกในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายที่ไม่ชัดเจนถึงอันตรายร้ายแรง ทำให้ความผิดเป็นเพียงลหุโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 80 และ 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ (ค) ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ท่อนไม้และขวดขว้างใส่ผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาทำร้าย จำเลยทั้งสองกับพวกลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองวิ่งหลบหนีได้ทัน ทำให้ท่อนไม้และขวดไม่ถูกร่างกายของผู้เสียหายทั้งสอง โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นข้อเท็จจริงว่าหากจำเลยทั้งสองขว้างปาท่อนไม้และขวดถูกผู้เสียหายทั้งสอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสองได้อย่างแน่นอน อันเป็นองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวมาด้วย ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นขนาดของขวดและไม้มาพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ซึ่งหากขวดหรือท่อนไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนักขว้างถูกผู้เสียหายทั้งสอง ไม่แน่นอนว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจได้หรือไม่ ฟ้องโจทก์ข้อ (ค) ดังกล่าวนี้ จึงต้องแปลว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองอาจไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสอง ตาม ป.อ. มาตรา 391 ประกอบมาตรา 80 และ 83 เท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองในข้อนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 105

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาต้องแสดงรายละเอียดการกระทำผิดที่ชัดเจน มิฉะนั้นศาลอาจยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) เมื่อประมาณต้นปี 2555 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันถึงวันฟ้อง จำเลยได้ลงโฆษณาสินค้าทางอินเทอร์เน็ท ชื่อเว็บไซต์ www.เจ้าแม่อาหารเสริม.com อ้างว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทสาหร่ายแดงไบโอแอสติน (Bioastin) ซึ่งเป็นความเท็จ รายละเอียดปรากฏตามคำโฆษณาของจำเลยในเว็บไซต์ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป และรอยประดิษฐ์ ไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) ในการประกอบการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์มาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้าหีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) หรือการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ และจำเลยไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จอย่างไรเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ โดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) (3) และ 275 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า สินค้าที่จำเลยจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ และจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108, 109 และ ป.อ. มาตรา 273, 274 หรือจำเลยเป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 หรือ 109 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า บริษัทไซยาโนเทค จำกัด เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใด และสินค้าที่จำเลยจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด อย่างไรอันจะเป็นความผิดตามมาตรา 36, 38 และ 85 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาอีกเช่นกัน ฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำนั้นๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาความผิดดังกล่าวได้ดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องที่ไม่ระบุรายละเอียดตามกฎหมายเลื่อยโซ่ยนต์ และปัญหาการรับคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อ หรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 กล่าวคือ ฎีกาจะต้องมีข้อคัดค้านหรือโต้แย้งคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องในข้อไหนอย่างใด หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ทั้งนี้ ไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ตนประสงค์จะยกขึ้นฎีกา เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ ของจำเลยที่ 1 ทั้งหมด เพียงเพิ่มตอนท้ายว่า บรรดาของกลางที่พบในที่เกิดเหตุไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใด ตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพราะเหตุใด แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำขอท้ายฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสีย ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
ตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้ความหมายรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง ตามคำนิยามจากบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์"มิใช่เป็นการกำหนดความหมายถึงเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ฯ ไว้โดยลำพัง แต่ได้ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย และโดยอาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงไว้ว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วนว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เพราะถือว่ากำลังแรงม้า และขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีรายละเอียดพอสมควร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ไม่สามารถลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด มาตรา 157: การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต้องมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
ป.อ. มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 โจทก์แจ้งความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทำร้ายร่างกายโจทก์จนได้รับอันตรายสาหัส และลักทรัพย์ 450 บาทไป จำเลยที่ 4 หารับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไม่ เท่านั้น โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 4 กระทำไปโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย จึงจะมีความผิดตามมาตรา 157
ป.อ. มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 โจทก์แจ้งความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทำร้ายร่างกายโจทก์จนได้รับอันตรายสาหัส และลักทรัพย์ 450 บาทไป จำเลยที่ 4 หารับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไม่เท่านั้น แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 กระทำไปโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2336/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุรายละเอียดอายุการคุ้มครองและประเภทงานที่ถูกละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าบริษัท ต. ผู้เสียหาย เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ละครเรื่อง "วันพีช" แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ แต่เมื่องานสร้างสรรค์ตามที่โจทก์ฟ้องเป็นภาพยนตร์ที่มีอายุความคุ้มครองห้าสิบปีนับแต่สร้างสรรค์งาน แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานในระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาครั้งแรกตามมาตรา 19 และมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นอกจากโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องด้วยว่างานภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ที่จำเลยกระทำละเมิดนั้นได้สร้างสรรค์หรือมีการนำออกโฆษณาครั้งแรกเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่างานภาพยนตร์ดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างอายุการคุ้มครองคือห้าสิบปีนับแต่วันที่สร้างสรรค์หรือนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรกด้วย เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงมิชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ละครเรื่อง "วันพีช" แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า จำเลยนำสมุดภาพระบายสีที่มีตัวละครเรื่อง "วันพีช" ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมวางจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต มิใช่การนำภาพยนตร์ออกจำหน่าย อันจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายตามฟ้อง กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานประเภทใด ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีทุจริตของพนักงานสอบสวน ป.ป.ช. และการร้องทุกข์โดยมิใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ถือเป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว บุคคลผู้พบเหตุความผิดดังกล่าวมีอำนาจที่จะกล่าวโทษผู้กระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดได้ และพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กล่าวโทษเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้เสียหายหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121
จำเลยมีตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบล บ. เป็นผู้บริหารท้องถิ่น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่บังคับใช้อยู่ใน ขณะเกิดเหตุความผิดคดีนี้ แต่ตำแหน่งของจำเลยเป็นเพียงผู้บริหารท้องถิ่นมิใช่บุคคลที่เป็นข้าราชการการเมืองอื่นตามมาตรา 66 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทำการไต่สวนข้อเท็จจริงและลงมติชี้มูลความผิดส่งให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การกล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จึงต้องบังคับตามมาตรา 84 ที่ให้ผู้กล่าวหายื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือตามมาตรา 89 ที่ให้ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวโทษ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการตามมาตรา 88 เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการสืบสวนสอบสวนคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ และการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทั้งได้ความจากพันตำรวจโท ว. ว่ากองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ได้รับสำนวนการสอบสวนมาจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเข้าลักษณะเป็นกรณีตามมาตรา 84, 88 และ 89 ประกอบประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 ข้อ 6 ดังนั้นพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการย่อมมีอำนาจดำเนินการสอบสวนคดีความผิดนี้ โดยมิพักต้องคำนึงถึงอำนาจของพนักงานสอบสวนในการรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ
แม้คำฟ้องโจทก์กล่าวบรรยายว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร ข. ได้สอบสวนแล้ว และได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นผู้สอบสวนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อเท็จจริงและการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นเพียงการกล่าวบรรยายฟ้องเพื่อให้ทราบว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยมีการสอบสวนแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ นายกเทศมนตรีอนุมัติจ้างเหมาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้คำฟ้องโจทก์กล่าวบรรยายว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรขุนตาลได้สอบสวนแล้ว และได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นผู้สอบสวนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อเท็จจริงและการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นเพียงการกล่าวบรรยายฟ้องเพื่อให้ทราบว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยมีการสอบสวนแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
of 153