พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การโต้แย้งสิทธิ และการเพิกถอนทะเบียน
การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีส่วนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 40 ทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 35 ไว้หรือไม่ก็ตาม เพราะตามบทบัญญัติ มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มิได้มีข้อกำหนดจำกัดสิทธิของโจกท์ว่าจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนฟ้องคดี
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยชี้ให้เห็นว่าจำเลยจงใจลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ราคาสินค้า จะแตกต่างกันอย่างมาก ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีนี้ได้ เพราะผู้ซื้ออาจหลงผิดไปว่าเป็นสินค้า ลดราคาของโจทก์ได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับโจทก์ จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือ หลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่จะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (33) และ 13 (2)
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยชี้ให้เห็นว่าจำเลยจงใจลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ราคาสินค้า จะแตกต่างกันอย่างมาก ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีนี้ได้ เพราะผู้ซื้ออาจหลงผิดไปว่าเป็นสินค้า ลดราคาของโจทก์ได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับโจทก์ จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือ หลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่จะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (33) และ 13 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากพื้นฐานที่มาและรูปแบบลวดลาย
โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย รวมทั้งกางเกงยีน โจทก์เป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้า รูปลวดลายเส้นโค้งคู่สองชั้น ปลายส่วนโค้งคู่ชนกัน และรูปลวดลายเส้นโค้งคู่สองชั้น ปลายส่วนโค้งคู่ชนกัน อยู่ภายในกรอบรูปห้าเหลี่ยมคล้ายกระเป๋าหลัง มีแถบอยู่ด้านซ้ายบนภายในแถบมีคำว่า "LeVI'S" และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยและประเทศ สหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LeVI'S" กับสินค้ากางเกงยีนจนเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียง แพร่หลายทั่วไป ขณะเมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ระบุว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเป็นรูปและคำ เครื่องหมายการค้าในส่วนที่เป็นรูป เป็นรูปเส้นโค้งคู่สองชั้นคล้ายปีกนก แสดงว่ารูปที่โจทก์นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ได้มีพื้นฐานมาจากการนำอักษรโรมันมาประดิษฐ์ใช้ ส่วนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปลวดลายเส้นประคล้ายอักษร V และ W วางซ้อนทับกัน โดยมีพื้นฐานจากการนำอักษรโรมันมาประดิษฐ์ดัดแปลงเพื่อมาใช้ เมื่อพื้นฐานของรูปของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีที่มาแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะรูปแบบลวดลายที่มีความแตกต่างกัน ฉะนั้น รูปเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7871/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า 'Panabishi' และ 'Panasonic' อาจทำให้สาธารณชนสับสนถึงความเป็นเจ้าของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าเป็นรูปสามเหลี่ยมประดิษฐ์ และคำว่า "Panabishi" กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จดทะเบียนคำว่า "Panasonic" มีคำ 2 พยางค์แรกเป็นคำว่า Pana คำเดียวกัน แม้คำพยางค์อื่นที่นำมาประกอบในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะแตกต่างกัน แต่ปรากฏว่ามีตัวอักษรที่เหลือจำนวน 5 ตัวเท่ากัน ทำให้เข้าใจว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panabishi" อยู่ในเครือเดียวกันกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panasonic" นอกจากนี้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Panasonic" ในสินค้าจำพวกที่ 8 (เดิม) สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งรวมถึงเครื่องปรับอากาศและยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 11 (ใหม่) รายการสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ ก่อนที่โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panabishi" เกือบ 10 ปี แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้วย แต่คำว่า "Panabishi" และ "Panasonic" มีตัวอักษร 9 ตัวเท่ากัน มีลักษณะเด่นที่คำว่า "Pana" การเรียกขานก็คล้ายกัน และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้สำหรับสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งโจทก์ก็ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "PANA" และ "Panasonic" จึงนับได้ว่าคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้แล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมีอำนาจสั่งระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้