พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฎต่อมาในภายหลังว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
แม้ศาลยกคำร้องของ ค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ มิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
แม้ศาลยกคำร้องของ ค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ มิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: อำนาจศาลในการถอดถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่1ถึงที่4เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้วเมื่อปรากฏต่อมาในภายหลังว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้ศาลยกคำร้องของค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้วแต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้งค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: การพิสูจน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องและผู้คัดค้าน รวมถึงการตั้งผู้จัดการมรดกที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. เมื่ออ. ถึงแก่กรรมส. ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับช. ต่อมาช. ถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ดังนี้เมื่อช.ถึงแก่กรรมกองมรดกของช. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรมผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. มิได้เป็นบุตรของช. เจ้ามรดกไม่ปรากฎว่าช. จดทะเบียนร้องผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของช.โดยตรงอีกทั้งช. มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้วผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ การที่ส. มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของช. คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้นซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่าอ. ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช. ผู้เยาว์และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่าผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทนดังนั้นแม้ต่อมานางสาวช. ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะและอ. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้านแต่เมื่อปรากฎว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้วล. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาวช.เป็นผู้จัดการมรดกของช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีสิทธิโดยตรงและผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่กรรม ส.ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. ต่อมา ช.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ดังนี้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม กองมรดกของ ช.ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรม ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. มิได้เป็นบุตรของ ช.เจ้ามรดกไม่ปรากฏว่า ช.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ช.โดยตรง อีกทั้ง ช.มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้ว ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกสำหรับทายาทนอกกฎหมายและผู้เยาว์ โดยคำนึงถึงประโยชน์กองมรดก
การที่ศาลจะมีคำสั่งตั้ง ศ. มารดาผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องได้นั้น ข้อเท็จจริงจะต้องได้ความว่า ผู้คัดค้านเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 และมีเหตุที่จะแต่งตั้ง ศ. เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 เมื่อผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายเกิดกับ ศ. และเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกได้ จึงเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาล
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยังเป็นผู้เยาว์ไม่สามารถจัดการงานด้วยตนเองได้ ผู้ร้องไม่พอใจที่ผู้ตายมีบุตรกับ ศ. และไม่ยอมรับว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ประกอบกับ ศ. มารดาผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 และมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงสมควรตั้ง ศ. มารดาผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง ส่วนที่ว่า ศ. มารดาผู้คัดค้านไม่มีความรู้เรื่องทรัพย์มรดกของผู้ตายและจะมีปัญหายุ่งยากในการจัดการมรดก ก็ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยังเป็นผู้เยาว์ไม่สามารถจัดการงานด้วยตนเองได้ ผู้ร้องไม่พอใจที่ผู้ตายมีบุตรกับ ศ. และไม่ยอมรับว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ประกอบกับ ศ. มารดาผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 และมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงสมควรตั้ง ศ. มารดาผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง ส่วนที่ว่า ศ. มารดาผู้คัดค้านไม่มีความรู้เรื่องทรัพย์มรดกของผู้ตายและจะมีปัญหายุ่งยากในการจัดการมรดก ก็ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียร่วมจากธุรกิจที่ทำร่วมกับผู้ตาย
ผู้คัดค้านได้ร่วมประกอบธุรกิจการค้ากับผู้ตายทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการดังกล่าวจึงเป็นของผู้ตายและผู้คัดค้านร่วมกันเมื่อกิจการนั้นยังคงดำเนินอยู่ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคแรกมีสิทธิร้องคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ทรัพย์ใดจะเกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันของผู้ตายกับผู้คัดค้านหรือไม่ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ ผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าคดีตกลงกันได้โดยจะขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันไม่คัดค้านกันอีกต่อไปตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่26มิถุนายน2535ข้อตกลงของผู้ร้องและผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีบางข้อแม้จะมีการสืบพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไปก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกและคุณสมบัติของผู้จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเมื่อฟังว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้มีสิทธิและคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายแล้วก็จะต้องตั้งให้ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันไปตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา138วรรคแรกแม้จะได้ความจากคำเบิกความของผู้ร้องว่ายอมตกลงตามที่ผู้พิพากษาไกล่เกลี่ยก็ไม่ปรากฎว่าข้อตกลงนั้นฝ่าฝืนต่อกฎหมายการไกล่เกลี่ยของผู้พิพากษาเพื่อให้คู่ความตกลงกันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา20ซึ่งย่อมเป็นไปตามความสมัครใจของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบเอกสารลับและธรรมดา การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"ส่วนลายมือชื่อของว.มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"และว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียวกรณีจึงมีข้อสงสัยว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1653วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา1705เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะแต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ทุกประการพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่าถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดากรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา136เดิมพินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบธรรมดาเมื่อพินัยกรรมแบบเอกสารลับไม่สมบูรณ์ และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของ ว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า "ผู้พิมพ์" ส่วนลายมือชื่อของ ว.มีข้อความต่อท้ายว่า "ผู้พิมพ์" และ ว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม ทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียว กรณีจึงมีข้อสงสัยว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 11 จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1653 วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1656ทุกประการ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา กรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 136เดิม พินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม ทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการ ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: เหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดก, การอ้างทายาทเพิ่มเติม, และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์
ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้ว เหตุแห่งการขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกจึงหมดไปกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีก
ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องปกปิดความจริงว่า ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายอีกคนหนึ่ง และยังมีทรัพย์มรดกอื่นที่ผู้ร้องมิได้ระบุมาในคำร้อง เมื่อผู้คัดค้านมิได้มีข้อเท็จจริงอื่นมาประกอบเพื่อให้รับฟังโดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาปกปิดทรัพย์มรดกและทายาท อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ทั้งคำร้องของผู้คัดค้านก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่สามารถหรือละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ อันจะเป็นเหตุให้สมควรสั่งเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำร้องคัดค้านมาแต่แรก เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็ยังถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้ในกรณีเช่นนี้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจริง ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้
ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องปกปิดความจริงว่า ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายอีกคนหนึ่ง และยังมีทรัพย์มรดกอื่นที่ผู้ร้องมิได้ระบุมาในคำร้อง เมื่อผู้คัดค้านมิได้มีข้อเท็จจริงอื่นมาประกอบเพื่อให้รับฟังโดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาปกปิดทรัพย์มรดกและทายาท อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ทั้งคำร้องของผู้คัดค้านก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่สามารถหรือละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ อันจะเป็นเหตุให้สมควรสั่งเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำร้องคัดค้านมาแต่แรก เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็ยังถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้ในกรณีเช่นนี้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจริง ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้อนุบาลยื่นคำร้องจัดการมรดก และผลกระทบจากการล้มละลายของผู้จัดการมรดก
การที่คำร้องขอของผู้ร้องและชื่อคู่ความในคดีระบุว่า พ.คนไร้ความสามารถ โดย ว.ผู้อนุบาลเป็นผู้ร้อง เมื่ออ่านประกอบกับข้อความในตอนท้ายของคำร้องขอซึ่งบรรยายว่า ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและยังเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมสามารถเข้าใจได้แจ้งชัดว่าผู้ร้องคือ ว.ยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาลของ พ.คนไร้ความสามารถโดยกระทำการแทน พ.คนไร้ความสามารถ มิใช่ พ.คนไร้ความสามารถเป็นผู้ร้องเองหรือ ว.ในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ร้อง คำร้องขอจึงไม่เคลือบคลุม
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้ พ.เป็นคนไร้ความสามารถโดยมี ย.และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ ย.เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลของ ย.สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาล พ.ได้โดยลำพัง
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ย.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาย.ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการมรดก แม้ขณะที่ ย.เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกกับทายาทบางคน ก็ไม่ปรากฏว่า ย.ได้แบ่งทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ทายาทอีกสองคนคือ ก.และ พ.มิได้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยดังนั้น การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีเหตุขัดข้องต้องตั้งผู้จัดการมรดกอีก
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้ พ.เป็นคนไร้ความสามารถโดยมี ย.และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ ย.เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลของ ย.สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาล พ.ได้โดยลำพัง
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ย.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาย.ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการมรดก แม้ขณะที่ ย.เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกกับทายาทบางคน ก็ไม่ปรากฏว่า ย.ได้แบ่งทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ทายาทอีกสองคนคือ ก.และ พ.มิได้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยดังนั้น การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีเหตุขัดข้องต้องตั้งผู้จัดการมรดกอีก