คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1718

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย: ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ขัดคุณสมบัติ
ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เมื่อมีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (3) โดยมิได้บัญญัติว่าผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกแต่บังคับว่าผู้ที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ดังนั้น ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งบุคคลภายนอกเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ หากบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก
การที่ ค. เจ้าบ้านแจ้งย้ายผู้คัดค้านเข้ามาอยู่ในบ้านต่อนายทะเบียนในฐานะบุตรของตน ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดารับรองแล้ว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานของ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทของ ค. ตามมาตรา 1713 เมื่อผู้คัดค้านบรรลุนิติภาวะแล้ว มีอาชีพรับราชการและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 1718 จึงมีเหตุสมควรตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และประโยชน์ของกองมรดก
การขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น ส่วนการที่ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก และภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718 ฉะนั้น แม้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องของผู้ร้องคัดค้านที่ 2 จะมิได้บรรยายว่าผู้คัดค้านที่ 2 ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ ก็เป็นคำร้องขอที่ชอบ เพราะคำร้องขอเช่นว่านี้ไม่จำต้องบรรยายบทบังคับให้ศาลต้องปฏิบัติไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดก, การจัดการทรัพย์มรดก, และสิทธิในการถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพียงไม่เป็นบุคคลซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้วก็อาจถูกร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องก็มีอำนาจกระทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกซึ่งได้แก่การรวบรวมทรัพย์มรดกแล้วดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไป ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องร่วมกันจัดการและถือเอาเสียงข้างมาก จะจัดการโดยลำพังไม่ได้หากผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุให้ถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ และหากมีเหตุอันเกิดจากฝ่ายผู้ร้องในทำนองเดียวกันผู้คัดค้านทั้งสองก็มีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกันกับผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานผู้ร้องภายหลังที่ผู้ร้องสืบพยานได้เพียง 2 ปาก ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองจึงยังฟังไม่ได้ว่ามีเหตุต้องถอนฝ่ายใดจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงไม่ควรด่วนสั่งงดสืบพยานดังกล่าวควรสืบพยานต่อไปให้เสร็จสิ้นกระแสความแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดก แม้ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย และการถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกจะเป็นใครก็ได้ ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แต่ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตาย แม้ผู้ร้องจะไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกแต่เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็มีอำนาจกระทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกซึ่งได้แก่การรวบรวมทรัพย์มรดกแล้วดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไปถือได้ว่ากระทำแทนทายาทผู้มีสิทธิและในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องร่วมกันจัดการและถือเอาเสียงข้างมาก จะจัดการโดยลำพังไม่ได้ หากผู้คัดค้านทั้งสองละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุให้เพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมรดกที่จงใจละเลยหน้าที่ และการแต่งตั้งบุตรผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกแทน
การที่ผู้คัดค้านจงใจไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีพฤติการณ์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทอื่น ดังนี้เป็นเหตุสมควรถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อยังมีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อจัดการต่อไปภายหลังที่เพิกถอนผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตายทั้งไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ผู้ร้องทั้งสองจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดสิทธิทายาทโดยธรรม การตั้งผู้จัดการมรดกตามเจตนาผู้ตาย
แม้ผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตาย แต่เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ อ. แต่ผู้เดียว และห้ามบุคคลอื่นเกี่ยวข้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกและไม่มีฐานะเป็นทายาทที่จะร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็น ผู้จัดการมรดก จึงสมควรให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดมรดก: บุตรถูกตัดสิทธิจากมรดก จึงไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
แม้ผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตาย แต่เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ อ. แต่ผู้เดียว และห้ามบุคคลอื่นเกี่ยวข้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกและไม่มีฐานะเป็นทายาทที่จะร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงสมควรให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ศาลต้องคำนึงถึงความสุจริตและประโยชน์ของกองมรดกเป็นสำคัญ แม้ไม่มีผู้คัดค้าน
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก จึงไม่เหมาะสมที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้อง.
of 9