คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1718

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกของนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไปไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วยเป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้นไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไปก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้วการมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้จึงสมบูรณ์ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733 สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกที่เป็นนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไป ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วย เป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้น ไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้ว การมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้อง คดีนี้ จึงสมบูรณ์ ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดา เมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก พิจารณาประโยชน์กองมรดกและความขัดแย้งระหว่างทายาท
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจถึงความเหมาะสม หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วยเมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้อง ซึ่งเป็นทายาทมีความขัดแย้งกับทายาทอื่นอยู่ ถ้าตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้จัดการมรดกอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ถึงแม้ผู้ร้อง จะไม่เป็นบุคคล ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามศาลก็ไม่จำต้องตั้งผู้ร้องตามคำร้องทุกกรณีเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก พิจารณาประโยชน์กองมรดกและความขัดแย้งระหว่างทายาท
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจถึงความเหมาะสม หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วยเมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้อง ซึ่งเป็นทายาทมีความขัดแย้งกับทายาทอื่นอยู่ ถ้าตั้งผู้ร้อง ให้เป็นผู้จัดการมรดกอาจก่อ ให้เกิดความเสียหายได้ ถึงแม้ผู้ร้อง จะไม่เป็นบุคคล ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามศาลก็ไม่จำต้องตั้งผู้ร้องตามคำร้องทุกกรณีเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกร่วม
เมื่อปรากฏในคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และในคำคัดค้านของพนักงานอัยการว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกและทายาทบางคนมีจิตฟั่นเฟือนไม่สามารถจัดการมรดกได้ พนักงานอัยการผู้คัดค้านจึงมีอำนาจคัดค้านคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและมีอำนาจขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการคัดค้านและเสนอผู้จัดการมรดก กรณีมีเหตุขัดข้องและทายาทไร้ความสามารถ
เมื่อปรากฏในคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และในคำคัดค้านของพนักงานอัยการว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกและทายาทบางคน มีจิตฟั่นเฟือนไม่สามารถจัดการมรดกได้ พนักงานอัยการผู้คัดค้าน จึงมีอำนาจคัดค้านคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และมีอำนาจขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดวัตถุประสงค์ และไม่เป็นหน้าที่เฉพาะบุคคล
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคล
เป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรทั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
จ.เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วย เมื่อ ล.ตายแล้ว จ.จดทะเบียนสมรสกับ ฉ.ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ ฉ.ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ.ก็ตายไปก่อนแล้ว ศาลตั้งให้ จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ.ก็ตายไป ก่อนตาย จ.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้อง แม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ. ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ.จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ในกองมรดกของ ฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดก แม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และบุตรบุญธรรม
จ. เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วยเมื่อ ล. ตายแล้ว จ. จดทะเบียนสมรสกับ ฉ. ไม่มีบุตรด้วยกันแต่ ฉ. ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ. ก็ตายไปก่อนแล้วศาลตั้งให้ จ. เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ. ก็ตายไป ก่อนตาย จ. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้องแม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ.ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ. จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรสทรัพย์สินต่างๆในกองมรดกของฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ร่วมกัน
of 9