พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นการฟ้องคดีมรดก จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก มิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดกไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จในคดีผู้จัดการมรดก: ประเด็นสำคัญของคดีไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จหรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่า ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีจึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่า ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีจึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก: ประเด็นสำคัญไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่าผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทของเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่าผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทของเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยบุตรที่พินัยกรรมกำหนด และการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน มารดาของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านคดีหลัง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกัน และผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านคู่ความทั้งสองคดีมิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีหลังในระหว่างที่คดีก่อนยังพิจารณาอยู่ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้อน เพราะผู้ร้องมิได้เคยร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ในคดีก่อนมาก่อน
พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดตั้งบุตรห้าคนเป็นผู้จัดการมรดกแต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการมรดกได้และบุตรอีกคนหนึ่งไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดก ดังนี้บุตรอีกสองคนซึ่งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ย่อมร้องขอต่อศาล ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้
พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดตั้งบุตรห้าคนเป็นผู้จัดการมรดกแต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการมรดกได้และบุตรอีกคนหนึ่งไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดก ดังนี้บุตรอีกสองคนซึ่งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ย่อมร้องขอต่อศาล ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิของผู้รับมรดกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและการฟ้องซ้ำ
คดีก่อน มารดาของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านคดีหลัง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกัน และผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านคู่ความทั้งสองคดีมิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีหลังในระหว่างที่คดีก่อนยังพิจารณาอยู่ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้อน เพราะผู้ร้องมิได้เคยร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ในคดีก่อนมาก่อน
พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดตั้งบุตรห้าคนเป็นผู้จัดการมรดกแต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการมรดกได้และบุตรอีกคนหนึ่งไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดก ดังนี้บุตรอีกสองคนซึ่งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ย่อมร้องขอต่อศาล ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้
พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดตั้งบุตรห้าคนเป็นผู้จัดการมรดกแต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการมรดกได้และบุตรอีกคนหนึ่งไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดก ดังนี้บุตรอีกสองคนซึ่งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ย่อมร้องขอต่อศาล ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดให้บริจาคเงินและทรัพย์สินเพื่อการกุศล มิใช่เงื่อนไขทำให้พินัยกรรมมีผล
ข้อความในพินัยกรรมที่สั่งให้ขายทรัพย์ ได้เงินเท่าใดให้มอบให้กรมการศาสนาจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งเป็นมูลนิธิเอาเงินผลประโยชน์บำรุงการกุศล ส่วนเงินที่เหลือกับทรัพย์อื่นยกให้แก่บุคคลอีคนหนึ่งนั้น มิใช่เงื่อนไขซึ่งกำหนดให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับต่อเมื่อเงื่อนไขหรือข้อกำหนดตามพินัยกรรมได้ทำสำเร็จแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้พินัยกรรม: การมอบเงินให้กรมการศาสนาเพื่อบำรุงกุศล ไม่เป็นเงื่อนไขทำให้พินัยกรรมมีผล
ข้อความในพินัยกรรมที่สั่งให้ขายทรัพย์ ได้เงินเท่าใดให้มอบให้กรมการศาสนาจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งเป็นมูลนิธิเอาเงินผลประโยชน์บำรุงการกุศล ส่วนเงินที่เหลือกับทรัพย์อื่นยกให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นมิใช่เงื่อนไขซึ่งกำหนดให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับต่อเมื่อเงื่อนไข หรือ ข้อกำหนดตามพินัยกรรมได้ทำสำเร็จแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ประเด็นเฉพาะการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ไม่รวมข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยกล่าวว่า ก่อนตาย ผู้ตายมีทรัพย์คือหุ้นอยู่ในห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งยังมิได้คิดบัญชีกัน แม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่าหุ้นส่วนนั้น เป็นของผู้คัดค้านแต่ผู้เดียว และศาลชั้นต้นได้สั่งให้ดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทมาก็ตาม คดีมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้นการที่ผู้ตายจะมีหุ้นส่วนหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก จากการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่เฉพาะ ไม่ครอบคลุมข้อพิพาทเรื่องหุ้นส่วน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยกล่าวว่า ก่อนตาย ผู้ตายมีทรัพย์คือหุ้นอยู่ในห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งยังมิได้คิดบัญชีกันแม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่าหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนนั้น เป็นของผู้คัดค้านแต่ผู้เดียว และศาลชั้นต้นได้สั่งให้ดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทมาก็ตามคดีมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้นการที่ผู้ตายจะมีหุ้นส่วนหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก จากการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผู้รับมฤดกเมื่อไม่มีผู้จัดการมฤดก สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากกองมฤดก
ในเวลาเป็นความไม่มีผู้จัดการมฤดก เจ้าหนี้ย่อมฟ้องผู้รับมฤดกคนหนึ่งคนใดเป็นจำเลยได้