พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทหารกองประจำการกับการเป็นข้าราชการเพื่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4 (8) บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการ จะแปลความให้หมายความรวมถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่เป็น 'ข้าราชการ' จึงไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดีจำหน่ายยาเสพติด
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการ
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้