พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาตอุทธรณ์ในคดีเยาวชน: อธิบดีศาลเยาวชนฯ มีอำนาจเฉพาะเขตศาลตนเอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 122 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจพิเศษเฉพาะแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้คดีใดอุทธรณ์หรือไม่ แทนที่จะเป็นอำนาจของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนั้นดังเช่นคดีอาญาทั่ว ๆ ไป จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น การที่มาตรา 122 ใช้ถ้อยคำว่า "...อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว..." จึงมิได้หมายความว่าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ในคดีที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้ การระบุชื่อตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งก็เป็นเพียงการระบุชื่อตำแหน่งของผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ของแต่ละศาลให้ถูกต้องกับศาลนั้น ๆ เท่านั้น หากแปลความว่าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ในคดีที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้ด้วย ก็จะมีผลทำให้คดีที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีผู้พิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ถึง 2 คน และได้รับการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวถึง 2 ครั้ง ซึ่งแตกต่างจากคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอันเป็นการได้รับสิทธิไม่เท่าเทียมกัน แม้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 20 จะกำหนดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และอธิบดีผู้พิพากษาภาคตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ก็เป็นความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่เฉพาะที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมระบุไว้เท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 122 ดังนั้น การพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์จึงต้องเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พนักงานอัยการควบคุมตัวเยาวชนมาศาลเมื่อฟ้องคดีอาญา แม้สถานพินิจปล่อยตัวชั่วคราว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องที่พนักงานอัยการโจทก์มีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งตามมาตรา 165 ที่กำหนดให้พนักงานอัยการโจทก์คุมตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องนั้นสามารถนำมาใช้บังคับแก่คดีเด็กหรือเยาวชนได้ และไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยถูกควบคุมตัวที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาแล้วมีการประกันตัวไป แต่ภายหลังสถานพินิจดังกล่าวไม่อาจส่งตัวจำเลยต่อศาลในวันฟ้องได้เนื่องจากจำเลยถูกจับกุมในอีกคดีหนึ่งที่จังหวัดลพบุรี กรณีจึงเป็นเรื่องระหว่างการควบคุมตัวจำเลยในชั้นสอบสวนโดยอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาลประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ที่แก้ไขใหม่ก็มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้เดิมทั้งในปัจจุบันสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรก็เป็นหน่วยงานที่แยกออกไปจากศาลแล้ว ดังนั้น ในชั้นควบคุมตัวจำเลยในสถานพินิจจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาล ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว