พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนหลังการหย่าตกทอดถึงทายาทและปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ โดยสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น แม้จะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 1598/41 ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่ความตาย ประกอบกับโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตามสิทธิแล้ว สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์โดยแท้ และเป็นกองมรดกของโจทก์ตามมาตรา 1600 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายสิทธินี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหย่า: ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นสิทธิเฉพาะตัว หักกลบลบหนี้อื่นไม่ได้ แม้มีหนี้ครัวเรือนร่วมกัน
จำเลยได้เงินจากการออกจากงาน จำเลยย่อมสามารถนำมาชำระแก่โจทก์ตามสัญญาหย่าได้ แต่จำเลยก็หากระทำไม่ กลับอ้างลอย ๆ ว่านำไปชำระหนี้นอกระบบหมด จำเลยจะอ้างเอาเงินที่ได้ไปชำระหนี้ที่จำเลยอ้างว่านอกระบบ ซึ่งหมายความว่าไม่มีมูลที่จะเรียกร้องตามกฎหมายมามีเหตุผลเหนือกว่าการชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่าที่จำเลยมีตามสัญญาที่ตนกระทำอันเป็นหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมอันดีในฐานะบิดาที่จะต้องดูแลบุตรผู้เยาว์หาได้ไม่ ส่วนหนี้ครัวเรือนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีส่วนรับผิดนั้น เห็นว่า ตามสัญญาหย่ามีข้อตกลงชัดเจนที่จำเลยจะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเกี่ยวกับการศึกษาบุตร มีลักษณะเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีต่อกันในการจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง หากจำเลยมีข้ออ้างว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้ร่วมกันจริง ก็ควรมีการยกขึ้นพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยก่อนที่จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับภาระผูกพันที่จำเลยจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสัญญาหย่าว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์โดยระบุว่า หนี้สินไม่ประสงค์ให้มีการบันทึก จึงต้องถือว่า หนี้สินระหว่างจำเลยกับโจทก์ ไม่ว่าจะมีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่กระทบต่อข้อตกลงที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาหย่า ทั้งสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนหรือสละได้ คดีนี้โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นมารดากระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงยังเป็นของบุตรผู้เยาว์ จำเลยไม่อาจนำมาอ้างขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยได้ ดังนั้นจำเลยจะมาหยิบยกภาระหนี้ดังกล่าวมาอ้างเพื่อขอหักกลบลบหนี้ที่ตนมีต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขัดต่อกฎหมาย และการแก้ไขจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ตามบันทึกข้อตกลงในสำเนารายงานประจำวัน ระบุว่า โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยอีกนั้น ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 ข้อตกลงในส่วนนี้จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ จึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16040/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อบิดามารดาเสียชีวิต ไม่ตกทอดเป็นมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 กำหนดถึงสิทธิของผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาว่าจะสละหรือโอนไม่ได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี สิทธิหน้าที่เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ทรงสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวเช่นกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังทายาท เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วสภาพบุคคลของโจทก์ก็หมดสิ้นไป ภาระหน้าที่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นับแต่มีคำพิพากษาจนบุตรบรรลุนิติภาวะจึงยุติไปด้วย แม้โจทก์จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไว้ก็ตาม หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ก็ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 กองมรดกของโจทก์ไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่จำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร คำนึงรายได้บิดา ฐานะผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี การกำหนดรวมกันไม่ถูกต้อง
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรผู้เยาว์แต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งร้างและการอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา
หลังจากโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว โจทก์กับจำเลยไปอยู่กินกันที่บ้านมารดาโจทก์ ต่อมามารดาและพี่สาวโจทก์มีเรื่องทะเลาะกับจำเลย จำเลยกับบุตรจึงต้องออกไปอาศัยอยู่ที่อื่นซึ่งโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยละทิ้งร้างโจทก์ส่วนการที่โจทก์ไปอยู่กับจำเลยได้ประมาณ 3 เดือน แล้วกลับออกมาอยู่กับมารดาโจทก์โดยอ้างว่ามีเรื่องทะเลาะกับจำเลยและจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าบ้านนั้นก็เป็นเรื่องระหองระแหงกันระหว่างสามีภริยาซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาแต่โจทก์กลับละทิ้งจำเลยและบุตรกลับมาอยู่บ้านมารดาโจทก์โดยไม่สนใจนำพาจำเลยแม้ต่อมาจำเลยจะย้ายบ้านมาอยู่ข้างบ้านมารดาโจทก์ห่างออกไปเพียง 5 ถึง 6 ห้องเพื่อต้องการให้โจทก์มาอยู่กินด้วย แต่โจทก์ก็ไม่มา เมื่อจำเลยต้องย้ายที่อยู่ใหม่ห่างประมาณ 3 ป้ายรถประจำทาง แต่โจทก์ก็ไม่เคยมาหาหรือชักชวนจำเลยกับบุตรให้กลับไปอยู่ด้วยกัน อันเป็นการผิดปกติวิสัยของสามีที่จะพึงมีต่อภริยาแสดงให้เห็นว่าโจทก์สิ้นความรักความผูกพันต่อจำเลยแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลย มิใช่จำเลยละทิ้งร้างโจทก์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของบิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ หากไม่อุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษา บุตรผู้เยาว์ย่อมฟ้องเรียกเอาค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามมาตรา 1598/38 และสิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นก็จะสละมิได้ตามมาตรา 1598/41 ฉะนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้เยาว์ไม่ยอมรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากโจทก์ผู้เป็นบิดาที่เสนอให้ ย่อมไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เสียไป
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของบิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ หากไม่อุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษา บุตรผู้เยาว์ย่อมฟ้องเรียกเอาค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามมาตรา 1598/38 และสิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นก็จะสละมิได้ตามมาตรา 1598/41 ฉะนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้เยาว์ไม่ยอมรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากโจทก์ผู้เป็นบิดาที่เสนอให้ ย่อมไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงวนสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายหลังเกิดอุบัติเหตุ และผลของการทำสัญญาแทนผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน90,000 บาทโจทก์ที่ 5 และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตกลงใช้เงินจำนวน150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1574(8) เดิม(มาตรา 1574(12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์, สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสาร-ประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน 90,000 บาท โจทก์ที่ 5และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2ที่ 5 และที่ 6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระงับสิ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และขอบเขตการผูกพันสัญญาต่อผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่3ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิดจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดโจทก์ที่2ที่5และที่6ฎีกาว่าจำเลยที่3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิดเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่2จำนวนเงิน90,000บาทโจทก์ที่5และที่6จำนวนเงินคนละ60,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่2ที่5และที่6แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง จำเลยที่4และที่5ฎีกาว่าโจทก์ที่3และที่4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพ. ปรากฏว่าจำเลยที่4และที่5ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่3และที่4เป็นบุตรของพ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรองซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่3และที่4เป็นบุตรของพ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่4และที่5ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่พ. ถึงแก่ความตายโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่4และที่5ตกลงใช้เงินจำนวน150,000บาทและโจทก์ที่1ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไปโจทก์ที่1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆจากจำเลยที่4และที่5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5ที่มีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852เมื่อจำเลยที่4และที่5ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่1ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วโจทก์ที่1จะมาฟ้องจำเลยที่4และที่5เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่2ที่3และที่4ยังเป็นผู้เยาว์การที่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่4และที่5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574(8)เดิม(มาตรา1574(12)ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่2ที่3และที่4ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่4และที่5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่5และที่6เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5และที่6ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่4และที่5สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่5และที่6