คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปดารณี ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดคำสั่งรับฎีกาเป็นโมฆะ
ขั้นตอนในการขออนุญาตฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาซึ่งครบกำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2554 การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทมีหน้าที่จัดทำงบดุล หากปฏิเสธการร่วมงาน อาจไม่เป็นผู้เสียหาย
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสามไม่จัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายในกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1196, 1197 ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 18, 25 แต่ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเชิญพิจารณารับรองงบดุล - งบการเงินแล้วแจ้งเหตุขัดข้องปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมกรรมการ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่สามารถจัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามที่กฎหมายกำหนดได้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นจึงมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาเสพติด – การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหา – ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษฐานครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้ข้อกล่าวหาเดิมไม่ตรง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ ศ. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 3 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซื้อเมทแอมเฟตามีน มาจากจำเลยที่ 2 จำนวน 10 เม็ด ได้เสพไปจนเหลือ 3 เม็ด แล้วจำเลยที่ 1 กับ ศ. นำเม็ดแอมเฟตามีนไปจำหน่ายให้แก่สายลับ โดยจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องในข้อสาระสำคัญ ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาดังกล่าวได้
การที่จำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 3 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3661/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้ง: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งเดิมไม่ได้ หากศาลชั้นต้นมิได้ใช้ดุลพินิจผิด
เนื่องด้วยระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ข้อ 4 ระบุว่า อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 7 และตารางท้ายระเบียบนี้ ดังนั้น อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 จึงมี 2 อัตรา คือ อัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 7 และอัตราที่กำหนดไว้ตามตารางอัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ท้ายระเบียบ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดเงินรางวัลทนายความผิดกฎหมายหรือระเบียบ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่อาจก้าวล่วงไปกำหนดเงินรางวัลทนายความเพิ่มเติม เพราะอำนาจในการกำหนดเงินรางวัลทนายความเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีในคดีอาญาต้องรอคดีถึงที่สุด แม้คำพิพากษาจะมีผลทันที
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 188 จะบัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป แต่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 คืนหรือชดใช้เงินแก่โจทก์ร่วมทั้งสาม ก็ยังไม่มีผลให้โจทก์ร่วมทั้งสามซึ่งเป็นผู้เสียหายสามารถบังคับคดีได้ทันที เพราะคำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคาที่ยังไม่ได้คืนเนื่องจากการกระทำความผิดเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44 วรรคสอง ซึ่งการบังคับคดีต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยเรื่องการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง กำหนดให้การบังคับตามคำพิพากษาในคดีอาญาจะกระทำได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมทั้งสามจึงยังไม่อาจบังคับตามคำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคาที่ยังไม่ได้คืนเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้ การออกหมายบังคับคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย 2544: การโอนสิทธิโดยชอบตามกฎหมายเฉพาะไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติ ป.พ.พ.
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายที่ตราออกมาใช้บังคับเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศตามหมายเหตุแนบท้าย พ.ร.ก. และข้อความในตอนต้นของ พ.ร.ก. ก็ระบุไว้อย่างแจ้งชัดแล้วว่า พ.ร.ก. นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของกฎหมาย พ.ร.ก. ดังกล่าวมิได้ใช้บังคับกับการทำนิติกรรมทั่ว ๆ ไป ดังเช่นที่ใช้ใน ป.พ.พ. แต่ใช้เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับหนี้สินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.ก. เท่านั้น บทบัญญัติต่าง ๆ ที่ระบุไว้จึงย่อมแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. รวมทั้งเรื่องการบังคับจำนองหรือการเอาทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนอง การที่โจทก์บังคับจำนองทรัพย์สินคือที่ดินพิพาทหลุดเป็นสิทธิโดยอาศัยอำนาจตามที่ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว แม้ไม่ได้ดำเนินการตามที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ก็ไม่ทำให้การโอนที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบปากคำผู้เสียหายในคดีอาญา: ผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขต่อความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐาน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่ใช้บังคับขณะที่มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งสอง แตกต่างจาก ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 เมื่อไม่ปรากฏว่า ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายทั้งสองเข้าให้การตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.3 และ จ.4 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว และคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ เป็นเพียงคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายทั้งสองมิได้มีการร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำดังที่บัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไข) แต่อย่างใด การที่พนักงานสอบสวน ถามปากคำผู้เสียหายทั้งสองและบันทึกไว้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการทำรถยนต์เสียหาย และการชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาเช่าซื้อ
ค่าเช่าซื้อนั้นมีราคารถยนต์รวมอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง มิใช่ค่าเช่าหรือค่าใช้รถยนต์เพียงอย่างเดียว เมื่อรถยนต์สูญหายนอกจากจะทำให้ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้รับรถยนต์คืนหรือไม่ได้รับค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ยังทำให้โจทก์ผู้เช่าซื้อไม่อาจได้รับกรรมสิทธิ์รถยนต์หากชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนด้วย แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสองผู้ซ่อมแซมรถยนต์แล้วรถยนต์สูญหายไปได้ชดใช้เงินให้แก่บริษัทประกันภัยที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้อไป กับให้โจทก์ผู้เช่าซื้อไปอีก 80,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปงวดละ 13,905 บาท รวม 16 งวด แต่โจทก์ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเพียง 80,000 บาท ประกอบด้วยแล้ว เห็นได้ว่า โจทก์ยังคงได้รับความเสียหายอยู่อีก จำเลยทั้งสองจึงยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์อีกด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์เพิ่มอีก 50,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเหตุป้องกันในคดีฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา โจทก์ฎีกาแต่ถูกยกคำร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จำเลยให้การต่อสู้อ้างเหตุป้องกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ อันถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยมิได้กระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.อ. มาตรา 288 โดยเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน โจทก์จึงฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยมิได้เป็นการกระทำเพื่อป้องกันอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ เริ่มนับจากวันที่ป่วย ไม่ใช่วันที่แพทย์วินิจฉัย
โจทก์เป็นผู้ประกันตน โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายตั้งแต่เริ่มป่วย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 โจทก์จึงเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 71 ตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มป่วย ไม่ใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์ (วันที่ 13 มกราคม 2549) นายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยมีผลเป็นการเลิกจ้างในเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2545 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตั้งแต่วันที่ขาดรายได้หรือวันที่นายจ้างเลิกจ้างคือวันที่ 1 มิถุนายน 2545
of 32