พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนทางจำเป็น: พิจารณาจากความเสียหายของที่ดิน ไม่ใช่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
การกำหนดค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคท้าย เป็นการกำหนดค่าทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ที่ดินที่ตกเป็นทางจำเป็น ไม่ได้กำหนดจากการที่ใช้ทางจำเป็นแล้วจะทำให้ที่ดินของผู้ได้สิทธิใช้ทางจำเป็นมีราคาสูงเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร เพราะไม่ใช่ความเสียหายที่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550
คดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2723/2551 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2551 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ภายหลังที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือเมื่อมีการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์หรือคำร้องเช่นว่านั้นพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว" ดังนี้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195-4197/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันคดีถึงที่สุดหลังถอนฎีกา กรณีจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยก็ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล เมื่อพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวพอแปลความหมายได้ว่าจำเลยต้องการให้ศาลฎีกาอธิบายความหมายของคำสั่งที่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาตามคำร้องว่าในกรณีนี้คดีถึงที่สุดเมื่อใด
ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา แต่ยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดตามที่จำเลยยื่นคำร้องไว้ เมื่อกรณีที่จำเลยขอถอนฎีกาเช่นนี้ ศาลฎีกาเคยมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาแล้วสั่งต่อไปว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาในกรณีที่จำเลยนั้นต้องขังระหว่างฎีกาในขณะยื่นคำร้อง แต่คดีนี้จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาและขณะที่ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จำเลยยังได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ประกันเพิ่งมาขอถอนประกันและส่งตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ฉะนั้น จึงเห็นควรระบุให้ชัดเจนว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 อันเป็นวันที่ผู้ประกันส่งตัวจำเลย
ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา แต่ยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดตามที่จำเลยยื่นคำร้องไว้ เมื่อกรณีที่จำเลยขอถอนฎีกาเช่นนี้ ศาลฎีกาเคยมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาแล้วสั่งต่อไปว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาในกรณีที่จำเลยนั้นต้องขังระหว่างฎีกาในขณะยื่นคำร้อง แต่คดีนี้จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาและขณะที่ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จำเลยยังได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ประกันเพิ่งมาขอถอนประกันและส่งตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ฉะนั้น จึงเห็นควรระบุให้ชัดเจนว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 อันเป็นวันที่ผู้ประกันส่งตัวจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร: การมอบอำนาจฟ้องคดีและการใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่กัน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ตามกฎหมายดังกล่าวมาตรา 46 วรรคสอง กำหนดให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจึงทำหน้าที่เป็นผู้แทนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์โดยที่ประชุมคณะกรรมการมีมติมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองเพื่อบังคับชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภคและค่าบริการสาธารณะ อันเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 50 เป็นบทบัญญัติกำหนดมาตรการในการลงโทษด้วยการจำกัดสิทธิบางประการแก่สมาชิกผู้ที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด หาได้บัญญัติว่าหากโจทก์ใช้มาตรการดังกล่าวแล้วจะถูกจำกัดมิให้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองอีกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นเมื่อปรากฏจำเลยทั้งสองยังคงค้างชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้
พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 50 เป็นบทบัญญัติกำหนดมาตรการในการลงโทษด้วยการจำกัดสิทธิบางประการแก่สมาชิกผู้ที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด หาได้บัญญัติว่าหากโจทก์ใช้มาตรการดังกล่าวแล้วจะถูกจำกัดมิให้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองอีกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นเมื่อปรากฏจำเลยทั้งสองยังคงค้างชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การซื้อขายโดยไม่สุจริตของผู้ซื้อที่รู้ว่าเป็นสินสมรส
แม้โจทก์จะยื่นบัญชีพยานระบุเอกสารหนังสือของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องแจ้งผลการวินิจฉัยโดยฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88, 90 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์หักล้างคำเบิกความของ ว. เจ้าพนักงานที่ดินที่ว่า ต้นฉบับสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.2 ไม่มีข้อความตามหมายเหตุที่โจทก์กล่าวอ้าง ประกอบกับเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการสามารถตรวจสอบถึงความมีอยู่จริงได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเอกสารดังกล่าวตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นเพิ่มเติมต่อศาล โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านไว้และอุทธรณ์คำสั่งพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และเห็นสมควรให้รับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ ซึ่งฟังได้ว่าโจทก์ได้แจ้งคัดค้านการขายที่ดินพิพาทไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามข้อความที่มีหมายเหตุในสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1667/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งราวทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บและการริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับอยู่ล้มลง ผู้เสียหายรับบาดเจ็บที่แขน ขาและตามร่างกาย แต่มิได้กล่าวว่าการที่ผู้เสียหายรับบาดเจ็บดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง คงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าในวรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองและปรับบทให้ถูกต้องได้ ทั้งมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราต้องมีการสอดใส่ถึงจะมีความผิดตามกฎหมาย แม้ขยายขอบเขตอวัยวะที่ถูกกระทำ
ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 เป็นเพียงการขยายขอบเขตของการกระทำชำเราในส่วนของอวัยวะที่ถูกกระทำ ไม่จำเป็นต้องเป็นที่อวัยวะเพศ จะเป็นที่ทวารหนักหรือที่ช่องปากก็ได้ และสิ่งที่ใช้ในการกระทำไม่จำเป็นต้องเป็นอวัยวะเพศเท่านั้น จะเป็นสิ่งอื่นใดก็ได้ ดังนั้น การกระทำชำเราไม่ว่าเป็นการกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่นจึงยังคงต้องมีการสอดใส่อวัยวะเพศหรือสิ่งอื่นใดให้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเพียงการสัมผัสภายนอกกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่นไม่ว่าด้วยอวัยวะส่วนใดหรือด้วยวัตถุสิ่งใดก็จะเป็นการกระทำชำเราไปเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังมรณะ: สิทธิในทรัพย์สินของผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องปลูกสร้างบ้านเลขที่ 7/1 บนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของจำเลยหลังจากจำเลยเสียชีวิตแล้ว แต่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมถึงบ้านเลขที่ 7/1 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย จึงเป็นการนำยึดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง บ้านเลขที่ 7/1 ย่อมเป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของจำเลยหามีสิทธิบังคับชำระหนี้ไม่ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านหลังดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: หมิ่นประมาท-เรียกรับทรัพย์สินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยใส่ความผู้เสียหายที่ 1 ต่อผู้เสียหายที่ 3 และใส่ความผู้เสียหายที่ 1 ต่อผู้เสียหายที่ 4 ในแต่ละครั้ง ก็โดยเจตนาเพื่อเรียกเงินจากผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 นั่นเอง ความผิดฐานหมิ่นประมาทกับฐานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ในแต่ละครั้งจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11466/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่ทำร้ายร่างกายและการใช้กำลังบังคับให้จ่ายเงิน แม้เชื่อว่าผู้เสียหายลักทรัพย์ก็ต้องใช้สิทธิทางกฎหมาย
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งหกและขู่ผู้เสียหายทั้งหกจนผู้เสียหายทั้งหกหาเงินมาให้จำเลยคนละ 1,000 บาท แม้จำเลยจะปักใจเชื่อโดยสุจริตว่า ผู้เสียหายทั้งหกลักเงินจำเลยไป จำเลยก็ชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายโดยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายทั้งหกได้ในทันที จำเลยหามีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินการได้ด้วยตนเองไม่ ทั้งวิธีการที่จำเลยทำเป็นสิ่งที่ผิดต่อกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและกรรโชกอันเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท