คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปดารณี ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเหมาเรือ: ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกเรือ หากการจัดการเรือเป็นอำนาจของเจ้าของเรือ
ตามสัญญาเช่าเหมาเรือลงวันที่ 21 มกราคม 2553 ข้อ 6 เอ ซีและดีมีใจความโดยสรุปว่า การเช่าเรือครั้งนี้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้เช่าเรือมุ่งหมายเอาผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการของบริษัท ด. ผู้เป็นเจ้าของเรือ นายเรือและเจ้าหน้าที่ในการเดินเรือเป็นสำคัญ ส่วนการเดินเรือและการจัดการเกี่ยวกับเรือไม่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยร่วม แต่เป็นอำนาจโดยเด็ดขาดของบริษัท ด. ยิ่งไปกว่านั้นในข้อ 7.เอ ยังมีข้อความระบุว่าบริษัท ด. มีหน้าที่จัดหาและจ่ายเสบียงอาหาร ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่นายเรือ เจ้าหน้าที่และลูกเรือด้วยตนเอง จำเลยร่วมไม่มีส่วนรับผิดในค่าใช้จ่ายเหล่านั้นด้วย คงรับผิดชอบชำระค่าเรือให้แก่บริษัท ด. ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเท่านั้น ลูกเรือของเรือเฮอริเทจเซอร์วิสและจำเลยทั้งห้าจึงไม่ใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วม จำเลยร่วมไม่จำต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกเรือดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: คดีจัดการมรดกใช้มาตรา 1733 วรรคสอง ไม่ใช่ 1754/1755
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 ต่างเป็นทายาทโดยธรรมของ พ. เจ้ามรดกลำดับเดียวกัน ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน ทั้งมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันจนกว่าจะแบ่งมรดกแล้วเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวจากจำเลยที่ 2 ได้ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกกระทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่บังคับตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2537 จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือดังกล่าวภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนั้น วันเวลาที่โจทก์ที่ 2 ไปติดต่อกับจำเลยที่ 2 น่าจะอยู่ภายในเดือนมกราคม 2538 นอกจากนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในฟ้องว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใช้หนังสือค้ำประกันปลอม นั้น ศาลอาญาธนบุรีมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ในคดีนี้จึงมิได้มีมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคท้าย กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องจำเลยทั้งสี่ภายใน 1 ปี นับแต่เดือนมกราคม 2538 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 จึงเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่นำมาฟ้องคดีนี้จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประชาชนผู้อื่นต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดอาญา
ป.วิ.อ. ได้บัญญัติถึงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในชั้นแจ้งข้อหาตามมาตรา 134 ซึ่งความในวรรคหนึ่งกำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ที่เกิดของผู้ต้องหาเป็นประการแรก ต่อจากนั้นจึงแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบ รวมทั้งให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตน ดังนั้น เมื่อเริ่มทำการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตนเองตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสภาพบังคับทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 367 ภายใต้หลักเกณฑ์ที่พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคสี่เพื่อให้การสอบสวนดำเนินต่อไปได้ถูกต้องและชอบธรรม ส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาอันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 บัญญัติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการให้ทนายความและบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ ซึ่งเป็นขั้นตอนเมื่อผ่านการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว ไม่อาจแปลความไปถึงขนาดให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะปฏิเสธอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเมื่อเริ่มทำการสอบสวนดังกล่าวข้างต้น จำเลยแจ้งความเท็จและแจ้งให้ร้อยตำรวจโท ด. เจ้าพนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การของจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นว่าจำเลยเป็น ธ. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว หลังจากนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนเรียกตัวจำเลยไปสอบถามเนื่องจากจำเลยผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของ ธ. เพื่อให้ร้อยตำรวจโท ด. หลงเชื่อว่าจำเลยเป็น ธ. จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการให้การและใช้สิทธิในขั้นตอนการทำคำให้การที่จำเลยเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 (1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267, 367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6947/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายงานข้ามประเภทหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง
ผู้ร้องประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายและสินค้าทั่วไป แม้ผู้คัดค้านทำงานในตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตราย แต่ก็ไม่มีข้อตกลงว่าผู้ร้องจะมอบหมายงานให้ผู้คัดค้านขับรถบรรทุกสินค้าทั่วไปไม่ได้ ทั้งผู้คัดค้านมีใบอนุญาตขับรถที่สามารถขับรถบรรทุกได้ทุกประเภท เมื่องานด้านบรรทุกสารเคมีลดลง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ผู้คัดค้านขับรถบรรทุกหัวลากนำสินค้าจากบริษัทไปส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง จากนั้นให้ไปรับสารเคมีที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพื่อเตรียมนำส่งให้แก่ลูกค้า จึงไม่ใช่การเพิ่มหน้าที่และเพิ่มงาน แต่เป็นการใช้อำนาจบริหารงานภายในบริษัทให้เหมาะสมเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านไม่ได้รับมอบหมายจากสหภาพแรงงานให้เข้าร่วมฟังผลการสอบสวนพนักงานที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน และไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นอย่างไรที่ผู้คัดค้านจะต้องอยู่รอฟังผลการสอบสวน ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนวินัย ต้องถูกพิจารณาโทษตามลักษณะแห่งความผิดตามข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง ที่ศาลแรงงานภาค ๒ อนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านโดยตักเตือนเป็นหนังสือจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: ศาลวินิจฉัยผิดประเด็นจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่รับรอง ย้อนสำนวนให้วินิจฉัยใหม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เป็นพนักงาน ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เป็นพนักงานจริง แต่มิได้เลิกจ้างหรือถอดถอนโจทก์จากการเป็นพนักงาน เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าโจทก์เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การว่าโจทก์มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นั้น ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "ให้รอไว้สอบโจทก์ในวันนัด" แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางมิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด กรณีถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำให้การตามคำร้องดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานหลอกลวงเจ้าหนี้ โดยการขายฝากและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี ถือเป็นกรรมเดียว
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ย.1062/2550 ของศาลแพ่ง จำเลยจดทะเบียนขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 121938 ตำบลดอนช้าง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ของจำเลยให้แก่ ร. ต่อมาจำเลยตกลงกับ ร. ว่าให้จำเลยขายที่ดินแล้วนำเงินที่ได้มามอบให้แก่ ร. เป็นสินไถ่ จึงมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยก่อนโอนขายให้แก่ ว. ในวันเดียวกัน แล้วนำเงินที่ได้มอบให้แก่ ร. ดังนี้ การกระทำของจำเลยสำเร็จเป็นความผิดนับแต่ขายฝากที่ดินให้แก่ ร. เพื่อให้พ้นจากการบังคับชำระหนี้ แม้ต่อมาจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยก่อนโอนขายให้แก่ ว. แล้วมอบเงินที่ได้เป็นสินไถ่ให้แก่ ร. ไม่ว่าจำเลยได้รับส่วนต่างจากเงินค่าขายที่ดินหรือไม่ ก็เป็นการกระทำเพื่อให้การขายที่ดินสำเร็จตามข้อตกลงเท่านั้น ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นความผิดขึ้นใหม่อีกกรรมหนึ่งแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: หนังสือเตือนครั้งสุดท้ายและพฤติการณ์ฝ่าฝืนคำสั่งซ้ำ
หนังสือเตือนทั้งสองฉบับในการกระทำความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา มีข้อความว่า "ลงโทษโดยเตือนเป็นครั้งสุดท้าย" วิญญูชนย่อมเข้าใจว่าเป็นข้อความเตือนไม่ให้กระทำผิดในประเภทเดียวกันซ้ำอีก ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าโทษลำดับถัดจากการเตือนเป็นครั้งสุดท้ายคือการเลิกจ้าง โจทก์ย่อมเข้าใจได้ว่าหากกระทำผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซ้ำอีกโจทก์อาจถูกลงโทษสถานหนักโดยการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์กระทำผิดในเรื่องเดียวกันซ้ำอีกภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์กระทำผิดตามหนังสือเตือน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434-3440/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยควบคุมความปลอดภัยท่าเทียบเรือทำให้เกิดเหตุจมน้ำ เสียชีวิตและบาดเจ็บ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชดใช้
จำเลยที่ 3 เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ การขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 89 (3) (6) (8) (9) และ (20) แม้จะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกชนเช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบท่าเทียบเรือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งควบคุมความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่ประชาชนผู้มาใช้ท่าเทียบเรือและโป๊ะเทียบเรือ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมาย การปิดป้ายประกาศไว้เพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจป้องกันและควบคุมประชาชนจำนวนมากที่ต้องการใช้บริการเรือด่วนไม่ให้ลงไปอยู่บนโป๊ะเทียบเรือได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการปิดป้ายประกาศดังกล่าวมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติการณ์รื้อค้นหาทรัพย์สินในเคหสถานโดยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ ถือเป็นความพยายามลักทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย แล้วลักเงิน 20,000 บาท ซึ่งอยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไป ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วรื้อค้นลิ้นชักพลาสติกที่เชิงบันได โดยเมื่อค้นในลิ้นชักอันบนสุดพบกระเป๋าสะพายและกระเป๋าสตางค์ใบเล็ก จำเลยก็ดึงออกมาจากลิ้นชักแล้วค้นหาสิ่งของในกระเป๋าสะพายและกระเป๋าสตางค์ดังกล่าว จากนั้นจำเลยเดินขึ้นบันไดไปบนระเบียงชั้นบนของบ้านและค้นหาสิ่งของที่กองเครื่องมือของใช้ที่วางอยู่บนระเบียงเป็นเวลานาน แล้วกลับลงไปรื้อค้นหาสิ่งของที่ลิ้นชักพลาสติกชั้นอื่นทุกลิ้นชัก เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาค้นหาเงินและของมีค่าอื่นในจุดที่จำเลยคาดว่าผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวผู้เสียหายน่าจะเก็บหรือซุกซ่อนไว้ ฟังได้ว่ามีเจตนาค้นหาและประสงค์จะลักเงินของผู้เสียหายไปนั่นเอง ถือว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดและกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเพราะไม่มีเงินที่จะลักอยู่ในกระเป๋าสะพายและจุดรื้อค้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามลักเงินของผู้เสียหาย แต่การกระทำไม่อาจบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ เป็นการพยายามกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก ประกอบมาตรา 81
of 32