คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 17 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างนายเรือมีกำหนดเวลา vs. ไม่มีกำหนดเวลา: การตีความสัญญาและการคุ้มครองแรงงาน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งเป็นนายเรือ โดยมีข้อตกลงตามสัญญาว่าในกรณีเรือที่ลูกจ้างทำงานเดินทางกลับมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯ ภายหลังวันครบกำหนดสัญญาจ้างมิให้ถือว่าเป็นการต่อสัญญาจ้างหรือเป็นการจ้างโดยมิได้กำหนดเวลาแต่อย่างใด การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่งนั้น เป็นการอุทธรณ์ให้มีการตีความข้อความในสัญญาว่าชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย และที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีระยะเวลาติดต่อกันมาโดยตลอด หาได้สิ้นสุดเป็นคราว ๆ ไม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เป็นการอุทธรณ์ให้ตีความสัญญาว่าชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับหรือไม่ กับเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดตามกำหนด สิทธิค่าชดเชยพิจารณาจากระยะเวลาทำงานรวม
เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างถึงวันที่ครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานที่มีการแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วงโดยมีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกัน เพื่อแสดงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ถือว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20