พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดสัญญาขนส่ง: การสำแดงมูลค่าสินค้า, ความสัมพันธ์ค่าระวาง, และความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ. ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพหรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น และวรรคสาม (1) กำหนดให้ข้อตกลงยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น การจะพิจารณาว่าข้อจำกัดความผิดของจำเลยทั้งสองตามใบรับขนของทางอากาศเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าข้อจำกัดความรับผิดนั้นเป็นผลให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดความรับผิดได้เปรียบผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ เห็นว่า สัญญารับขนของทางอากาศระหว่างผู้ส่งกับจำเลยทั้งสองมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนกัน โดยหนี้ที่ผูกพันฝ่ายหนึ่งเป็นมูลฐานของการชำระหนี้ของอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง หากสินค้าสูญหายหรือเสียหายอันเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนผู้ส่งก็มีหน้าที่ที่ต้องชำระค่าระวางขนส่งตามอัตราที่ตกลงกัน ซึ่งจากเงื่อนไขการขนส่งที่กล่าวมาเห็นได้ชัดเจนว่า อัตราค่าระวางที่ผู้ส่งต้องรับภาระจะสัมพันธ์โดยตรงกับมูลค่าสินค้าที่สำแดงเพื่อการขนส่งเช่นเดียวกับจำนวนความรับผิดกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายโดยเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามกันหากสำแดงราคาสินค้าไว้สูง ผู้ส่งก็จะต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นแต่หากสินค้าสูญหายหรือเสียหายก็จะได้รับการชดใช้ตามมูลค่าที่สำแดงไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้น มูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งที่ระบุจึงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคาค่าระวางขนส่งและจำนวนความรับผิด การที่ผู้ขนส่งคิดค่าระวางเพิ่มขึ้นก็เนื่องมาจากมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มภาระในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หนี้ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องชำระตอบแทนกันในส่วนนี้ จึงถือเป็นหนี้ที่มีความสำคัญขนาดเดียวกัน หากผู้ส่งต้องการค่าสินไหมทดแทนที่มากขึ้นก็ต้องยอมจ่ายค่าระวางขนส่งสูงขึ้นจึงจะเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าที่ผู้ส่งจ้างให้จำเลยทั้งสองขนส่งมีมูลค่าเกินกว่าจำนวนสูงสุดที่จำเลยที่ 2 อนุญาตให้สำแดงได้ไปมาก ประกอบพฤติการณ์ที่ผู้ส่งซึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 2 ไปต่างประเทศอยู่เป็นประจำย่อมทราบดีถึงเงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 แต่สมัครใจเข้าทำสัญญารับขนของทางอากาศกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้แจ้งหรือระบุมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ ทั้งยังได้ทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยจากการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งกับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้าโดยยอมเสียเบี้ยประกันภัยอันเป็นทางเลือกอย่างอื่น แสดงให้เห็นชัดถึงเจตนาที่จะเข้าเอาประโยชน์จากการที่จะไม่ต้องเสียค่าระวางเพิ่มและหากสินค้าสูญหายหรือเสียหายผู้ส่งยังได้รับชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์ ทางเลือกและทางได้เสียทุกอย่างของผู้ส่งกับจำเลยทั้งสอง เห็นว่า เงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความผิดตามใบรับขนของทางอากาศดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือทำให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้เปรียบผู้เอาประกันภัยเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329-5331/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีทุจริตต่อหน้าที่ และการกำหนดขอบเขตความรับผิดร่วม
เงินที่มีการทุจริต บางส่วนเป็นเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคในสังกัดของโจทก์ บางส่วนเป็นงบกลางอยู่ภายใต้การครอบครองดูแลของคลังจังหวัดอุบลราชธานี แต่กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีจะต้องทำฎีกาขอเบิกจากคลังจังหวัดอุบลราชธานี ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2520 เมื่อคลังจังหวัดอุบลราชธานีจ่ายเงินให้กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว เงินดังกล่าวก็อยู่ในความครอบครองดูแลของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ถ้ามีเงินเบิกเกินมาแล้วไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด ส่วนราชการผู้เบิกต้องนำส่งคืนคลังภายใน 15 วัน นับจากวันรับเงินจากคลัง ตามข้อ 53 วรรคสอง และข้อ 66 วรรคหนึ่ง ของระเบียบฉบับเดียวกัน การที่มีการทุจริตไม่นำเงินที่เกินกว่าหลักฐานการจ่ายส่งคืนคลังจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการเบียดบังเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุว่าให้ฟ้องผู้ใดบ้าง แต่การระบุให้ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการทุจริต หรือต้องชดใช้เงินคืนทุกเรื่องเกี่ยวกับการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ย่อมหมายความถึงดำเนินการฟ้องร้องหรือเรียกเงินคืนจากผู้ทุจริตหรือผู้ต้องรับผิดชอบคืนเงินที่เบียดบังเอาเงินงบประมาณของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบจนทราบตัวข้าราชการที่ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินของโจทก์ได้แล้ว
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 มิได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ร่วมกันทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 ผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ตามสายงานต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 จะต้องรับผิดชอบเฉพาะการกระทำในส่วนที่จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 แต่ละคนได้กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่อเท่านั้น
การที่ผู้เบิกได้ลงลายมือชื่อในฎีกาเบิกเงินเดือนโดยตรวจข้อความและหลักฐานของแต่ละฎีกาที่เสนอขึ้นมาให้ลงลายมือชื่อแล้วมีจำนวนเงินตรงกันกับหลักฐาน ไม่อาจถือได้ว่าผู้เบิกปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ อย่างไรก็ตาม หากผู้เบิกที่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเบิกเงินในฎีกาเบิกเงินเดือนเป็นประจำหรือบ่อยครั้งอาจตรวจพบความผิดปกติในฎีกาเบิกเงินจากจำนวนเงินที่ขอเบิกสูงกว่าฎีกาอื่นอย่างมากและเป็นการเบิกซ้ำซ้อนกับที่เคยขอเบิกไปแล้ว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี จึงไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกา และรับผิดชอบตรวจสอบเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัด แต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแทนจำเลยที่ 15 เฉพาะในกรณีที่จำเลยที่ 15 ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า มีการเบิกเงินจำนวนสูงผิดปกติ และซ้ำซ้อนกับที่เบิกมาแล้วหรือไม่ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังและประมาทเลินเล่อ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีอาวุโส รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแล้วยังต้องรับผิดชอบดูแลรักษาเงินการจ่ายเงิน หลักฐานการจ่ายเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดและตรวจสอบบัญชีเงินคงเหลือตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 การที่จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่า ได้มอบหมายให้สารวัตรการเงินและบัญชีดูแลรับผิดชอบโดยจะตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเป็นครั้งคราวเท่านั้น หากไม่ได้รับรายงานเงินคงเหลือก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีจำนวนเงินที่ต้องส่งคืนคลังจังหวัดหรือไม่ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ตรวจสอบหลักฐานการใช้จ่ายเงินที่เบิกมา ทำให้มีการทุจริตเบียดบังเอาเงินคงเหลือที่เกินกว่าหลักฐานการจ่ายไป ถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 17 เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ต้องดูแลรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายและระเบียบแบบแผนของทางราชการการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตทำให้ราชการได้รับความเสียหาย แม้จะมีบุคคลหลายคนร่วมกันทำเป็นขบวนการ แต่ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 17 ไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 17 ทราบอยู่แล้วว่า มีเงินที่จะต้องเบิกจากคลังจังหวัดเป็นประจำทุกเดือนและจ่ายให้แก่ผู้รับในวันสิ้นเดือนนั้น มีฎีกาเบิกเงินเดือน และฎีกาเบิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ที่จะต้องทำฎีกาเบิกจากคลังจังหวัดภายในทุกวันที่ 15 ของเดือน แต่ละประเภทเดือนละ 1 ครั้ง และนำไปจ่ายให้แก่ข้าราชการในวันสิ้นเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2527 ซึ่งจำเลยที่ 17 เข้าดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี มีการทุจริตทำฎีกาไม่ปกติเบิกเงินเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ทุกเดือนเสนอสลับไปกับฎีกาปกติเบิกเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ตามปกติ ทำให้จำนวนฎีกาที่นำเสนอเบิกเงินจากคลังจังหวัดมีมากขึ้น จำนวนเงินที่ขอเบิกในแต่ละเดือนก็เพิ่มมากขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ก่อนเข้ารับตำแหน่งจำเลยที่ 17 ก็ทราบบ้างแล้วถึงความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่แผนการเงินและบัญชี จึงทำเรื่องเสนอขอให้กรมตำรวจย้ายจำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินและบัญชีออกไป แต่ก็ไม่อาจย้ายได้โดยทันที ดังนั้น จำเลยที่ 17 จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบและลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกในแต่ละฎีกาให้เข้มงวดมากขึ้น แม้ข้อความและหลักฐานในฎีกาเบิกเงินที่เสนอให้จำเลยที่ 17 ลงลายมือชื่ออาจไม่พบข้อพิรุธหรือความผิดปกติ แต่จำเลยที่ 17 ควรต้องระแวงสงสัยว่าจำนวนฎีกาและจำนวนเงินรวมที่เสนอขอเบิกจากคลังจังหวัดมีจำนวนมากและสูงผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 17 ยังต้องรับผิดชอบตรวจสอบบัญชีเงินสดและบัญชีเงินคงเหลือเพื่อดูแลรักษาเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดว่ายังมีเงินค้างจ่ายในแต่ละวัน แต่ละเดือน ที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายอันจะต้องส่งคืนคลังจังหวัดมากน้อยเพียงใด หากจำเลยที่ 17 ได้ทำการตรวจสอบเป็นปกติตามระเบียบการเก็บรักษาและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ย่อมต้องทราบว่าเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดมาแล้วยังไม่มีการจ่ายมีมากน้อยเพียงใด เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจกระทำการทุจริต ทำฎีกาเท็จเบิกเงินซ้ำซ้อนแล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ของตนได้โดยง่าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ที่จำเลยที่ 17 ฎีกาว่า หลังจากทราบการกระทำผิด จำเลยที่ 17 ได้ติดตามยึดทรัพย์คืนได้จากผู้กระทำผิดจำนวนถึง 30 ล้านบาทเศษ จึงต้องนำจำนวนเงินดังกล่าวหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 17 ต้องรับผิด และหากรวมค่าเสียหายที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดจะเกินกว่าทุนทรัพย์ตามฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่เกินไปกว่าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการจะติดตามทรัพย์สินคืนได้เพียงใดก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 17 ชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดี
จำเลยที่ 11 เป็นคลังจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกาเบิกเงินทุกประเภทแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในวันหนึ่ง ๆ คลังจังหวัดต้องลงลายมือชื่ออนุมัติฎีกาประมาณ 100 ถึง 200 ฎีกา เป็นที่เห็นได้ว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกานั้น จำเลยที่ 11 ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วเพื่อให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในจังหวัดอุบลราชธานีนำเงินไปใช้ในการบริหารงานในส่วนราชการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การตรวจอนุมัติฎีกาของจำเลยที่ 11 เป็นการกระทำในขั้นตอนสุดท้ายของการเสนอขอเบิกเงินจากคลังจังหวัดซึ่งแต่ละฎีกากว่าจะทำเสนอให้จำเลยที่ 11 ตรวจและลงลายมือชื่ออนุมัตินั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากข้าราชการระดับล่างหลายขั้นตอนจนถึงผู้ช่วยคลังจังหวัด ซึ่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำเสนอให้จำเลยที่ 11 อนุมัติ เห็นว่า การตรวจสอบก่อนลงลายมือชื่ออนุมัติ จำเลยที่ 11 จะต้องตรวจสอบว่ามีการลงลายมือชื่อครบถ้วนและถูกต้องในฎีกาเป็นลำดับหรือไม่ มีการแก้ไขจำนวนเงินหรือไม่ และจำนวนเงินที่ขอเบิกตรงกันกับใบหน้างบและเอกสารแนบท้ายฎีกาหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้อนุมัติฎีกาแล้ว การที่จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่ออนุมัติในฎีกาที่มีการตรวจผ่านตามลำดับขั้นตอน และตามระเบียบราชการ แม้จะเป็นฎีกาที่ไม่ปกติ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 11 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีหลายฎีกาที่นอกจากจำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้อนุมัติฎีกา จำเลยที่ 11 ยังได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจฎีกาแทนที่ผู้ช่วยคลังจังหวัดอีกฐานะหนึ่งด้วย ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ในส่วนนี้ จำเลยที่ 11 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความยิ่งกว่าการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อนุมัติฎีกาเพียงฐานะเดียว โดยเฉพาะฎีกาที่ไม่ปกติหลายฎีกาต่อเนื่องกัน หากตามพฤติการณ์จำเลยที่ 11 ควรทราบถึงความผิดสังเกตของฎีกาไม่ปกติแล้ว จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อตรวจผ่านและลงลายมือชื่ออนุมัติในฐานะคลังจังหวัดด้วยแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ
อายุความเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดนั้น ต้องนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความถึงว่าผู้เสียหายต้องรู้ถึงความเสียหายด้วย รายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีนั้น มุ่งสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดอาญาและการฟ้องร้องผู้กระทำผิดให้รับโทษทางอาญา ในรายงานการสอบสวนและบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏจำนวนความเสียหายว่ามากน้อยเพียงใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับอายุความ 1 ปี อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับทราบรายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการทุจริต
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 15 รับผิดสำนวนแรกโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 19,597,486.38 บาท ให้จำเลยที่ 17 และที่ 18 รับผิดสำนวนที่สอง โดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 40,271,015.97 บาท และให้รับผิดสำนวนที่สามโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 27,275,927.55 บาท ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 15 ถึงที่ 18 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทุกสำนวนแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามสำนวนรวม 100,000 บาท นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยแต่ละคนร่วมรับผิดตามจำนวนเงินที่ฟ้องทั้งหมดโดยไม่แบ่งแยกเป็นรายสำนวน ซึ่งมีผลให้จำเลยบางคนต้องร่วมรับผิดในสำนวนที่ไม่ถูกฟ้องหรือข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความไม่ปรากฏความรับผิดร่วมด้วย เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) รวมทั้งเพื่อความถูกต้องในการบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุว่าให้ฟ้องผู้ใดบ้าง แต่การระบุให้ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการทุจริต หรือต้องชดใช้เงินคืนทุกเรื่องเกี่ยวกับการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ย่อมหมายความถึงดำเนินการฟ้องร้องหรือเรียกเงินคืนจากผู้ทุจริตหรือผู้ต้องรับผิดชอบคืนเงินที่เบียดบังเอาเงินงบประมาณของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบจนทราบตัวข้าราชการที่ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินของโจทก์ได้แล้ว
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 มิได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ร่วมกันทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 ผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ตามสายงานต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 จะต้องรับผิดชอบเฉพาะการกระทำในส่วนที่จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 แต่ละคนได้กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่อเท่านั้น
การที่ผู้เบิกได้ลงลายมือชื่อในฎีกาเบิกเงินเดือนโดยตรวจข้อความและหลักฐานของแต่ละฎีกาที่เสนอขึ้นมาให้ลงลายมือชื่อแล้วมีจำนวนเงินตรงกันกับหลักฐาน ไม่อาจถือได้ว่าผู้เบิกปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ อย่างไรก็ตาม หากผู้เบิกที่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเบิกเงินในฎีกาเบิกเงินเดือนเป็นประจำหรือบ่อยครั้งอาจตรวจพบความผิดปกติในฎีกาเบิกเงินจากจำนวนเงินที่ขอเบิกสูงกว่าฎีกาอื่นอย่างมากและเป็นการเบิกซ้ำซ้อนกับที่เคยขอเบิกไปแล้ว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี จึงไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกา และรับผิดชอบตรวจสอบเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัด แต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแทนจำเลยที่ 15 เฉพาะในกรณีที่จำเลยที่ 15 ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า มีการเบิกเงินจำนวนสูงผิดปกติ และซ้ำซ้อนกับที่เบิกมาแล้วหรือไม่ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังและประมาทเลินเล่อ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีอาวุโส รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแล้วยังต้องรับผิดชอบดูแลรักษาเงินการจ่ายเงิน หลักฐานการจ่ายเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดและตรวจสอบบัญชีเงินคงเหลือตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 การที่จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่า ได้มอบหมายให้สารวัตรการเงินและบัญชีดูแลรับผิดชอบโดยจะตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเป็นครั้งคราวเท่านั้น หากไม่ได้รับรายงานเงินคงเหลือก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีจำนวนเงินที่ต้องส่งคืนคลังจังหวัดหรือไม่ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ตรวจสอบหลักฐานการใช้จ่ายเงินที่เบิกมา ทำให้มีการทุจริตเบียดบังเอาเงินคงเหลือที่เกินกว่าหลักฐานการจ่ายไป ถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 17 เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ต้องดูแลรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายและระเบียบแบบแผนของทางราชการการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตทำให้ราชการได้รับความเสียหาย แม้จะมีบุคคลหลายคนร่วมกันทำเป็นขบวนการ แต่ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 17 ไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 17 ทราบอยู่แล้วว่า มีเงินที่จะต้องเบิกจากคลังจังหวัดเป็นประจำทุกเดือนและจ่ายให้แก่ผู้รับในวันสิ้นเดือนนั้น มีฎีกาเบิกเงินเดือน และฎีกาเบิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ที่จะต้องทำฎีกาเบิกจากคลังจังหวัดภายในทุกวันที่ 15 ของเดือน แต่ละประเภทเดือนละ 1 ครั้ง และนำไปจ่ายให้แก่ข้าราชการในวันสิ้นเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2527 ซึ่งจำเลยที่ 17 เข้าดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี มีการทุจริตทำฎีกาไม่ปกติเบิกเงินเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ทุกเดือนเสนอสลับไปกับฎีกาปกติเบิกเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ตามปกติ ทำให้จำนวนฎีกาที่นำเสนอเบิกเงินจากคลังจังหวัดมีมากขึ้น จำนวนเงินที่ขอเบิกในแต่ละเดือนก็เพิ่มมากขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ก่อนเข้ารับตำแหน่งจำเลยที่ 17 ก็ทราบบ้างแล้วถึงความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่แผนการเงินและบัญชี จึงทำเรื่องเสนอขอให้กรมตำรวจย้ายจำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินและบัญชีออกไป แต่ก็ไม่อาจย้ายได้โดยทันที ดังนั้น จำเลยที่ 17 จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบและลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกในแต่ละฎีกาให้เข้มงวดมากขึ้น แม้ข้อความและหลักฐานในฎีกาเบิกเงินที่เสนอให้จำเลยที่ 17 ลงลายมือชื่ออาจไม่พบข้อพิรุธหรือความผิดปกติ แต่จำเลยที่ 17 ควรต้องระแวงสงสัยว่าจำนวนฎีกาและจำนวนเงินรวมที่เสนอขอเบิกจากคลังจังหวัดมีจำนวนมากและสูงผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 17 ยังต้องรับผิดชอบตรวจสอบบัญชีเงินสดและบัญชีเงินคงเหลือเพื่อดูแลรักษาเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดว่ายังมีเงินค้างจ่ายในแต่ละวัน แต่ละเดือน ที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายอันจะต้องส่งคืนคลังจังหวัดมากน้อยเพียงใด หากจำเลยที่ 17 ได้ทำการตรวจสอบเป็นปกติตามระเบียบการเก็บรักษาและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ย่อมต้องทราบว่าเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดมาแล้วยังไม่มีการจ่ายมีมากน้อยเพียงใด เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจกระทำการทุจริต ทำฎีกาเท็จเบิกเงินซ้ำซ้อนแล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ของตนได้โดยง่าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ที่จำเลยที่ 17 ฎีกาว่า หลังจากทราบการกระทำผิด จำเลยที่ 17 ได้ติดตามยึดทรัพย์คืนได้จากผู้กระทำผิดจำนวนถึง 30 ล้านบาทเศษ จึงต้องนำจำนวนเงินดังกล่าวหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 17 ต้องรับผิด และหากรวมค่าเสียหายที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดจะเกินกว่าทุนทรัพย์ตามฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่เกินไปกว่าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการจะติดตามทรัพย์สินคืนได้เพียงใดก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 17 ชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดี
จำเลยที่ 11 เป็นคลังจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกาเบิกเงินทุกประเภทแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในวันหนึ่ง ๆ คลังจังหวัดต้องลงลายมือชื่ออนุมัติฎีกาประมาณ 100 ถึง 200 ฎีกา เป็นที่เห็นได้ว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกานั้น จำเลยที่ 11 ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วเพื่อให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในจังหวัดอุบลราชธานีนำเงินไปใช้ในการบริหารงานในส่วนราชการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การตรวจอนุมัติฎีกาของจำเลยที่ 11 เป็นการกระทำในขั้นตอนสุดท้ายของการเสนอขอเบิกเงินจากคลังจังหวัดซึ่งแต่ละฎีกากว่าจะทำเสนอให้จำเลยที่ 11 ตรวจและลงลายมือชื่ออนุมัตินั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากข้าราชการระดับล่างหลายขั้นตอนจนถึงผู้ช่วยคลังจังหวัด ซึ่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำเสนอให้จำเลยที่ 11 อนุมัติ เห็นว่า การตรวจสอบก่อนลงลายมือชื่ออนุมัติ จำเลยที่ 11 จะต้องตรวจสอบว่ามีการลงลายมือชื่อครบถ้วนและถูกต้องในฎีกาเป็นลำดับหรือไม่ มีการแก้ไขจำนวนเงินหรือไม่ และจำนวนเงินที่ขอเบิกตรงกันกับใบหน้างบและเอกสารแนบท้ายฎีกาหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้อนุมัติฎีกาแล้ว การที่จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่ออนุมัติในฎีกาที่มีการตรวจผ่านตามลำดับขั้นตอน และตามระเบียบราชการ แม้จะเป็นฎีกาที่ไม่ปกติ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 11 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีหลายฎีกาที่นอกจากจำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้อนุมัติฎีกา จำเลยที่ 11 ยังได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจฎีกาแทนที่ผู้ช่วยคลังจังหวัดอีกฐานะหนึ่งด้วย ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ในส่วนนี้ จำเลยที่ 11 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความยิ่งกว่าการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อนุมัติฎีกาเพียงฐานะเดียว โดยเฉพาะฎีกาที่ไม่ปกติหลายฎีกาต่อเนื่องกัน หากตามพฤติการณ์จำเลยที่ 11 ควรทราบถึงความผิดสังเกตของฎีกาไม่ปกติแล้ว จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อตรวจผ่านและลงลายมือชื่ออนุมัติในฐานะคลังจังหวัดด้วยแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ
อายุความเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดนั้น ต้องนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความถึงว่าผู้เสียหายต้องรู้ถึงความเสียหายด้วย รายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีนั้น มุ่งสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดอาญาและการฟ้องร้องผู้กระทำผิดให้รับโทษทางอาญา ในรายงานการสอบสวนและบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏจำนวนความเสียหายว่ามากน้อยเพียงใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับอายุความ 1 ปี อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับทราบรายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการทุจริต
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 15 รับผิดสำนวนแรกโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 19,597,486.38 บาท ให้จำเลยที่ 17 และที่ 18 รับผิดสำนวนที่สอง โดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 40,271,015.97 บาท และให้รับผิดสำนวนที่สามโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 27,275,927.55 บาท ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 15 ถึงที่ 18 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทุกสำนวนแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามสำนวนรวม 100,000 บาท นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยแต่ละคนร่วมรับผิดตามจำนวนเงินที่ฟ้องทั้งหมดโดยไม่แบ่งแยกเป็นรายสำนวน ซึ่งมีผลให้จำเลยบางคนต้องร่วมรับผิดในสำนวนที่ไม่ถูกฟ้องหรือข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความไม่ปรากฏความรับผิดร่วมด้วย เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) รวมทั้งเพื่อความถูกต้องในการบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4671/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศต่อความสูญหายของสินค้า และขอบเขตการจำกัดความรับผิดตามสัญญา
จำเลยจะต้องเป็นผู้ออกใบรับขนของทางอากาศ (AIRWAYBILL) ให้แก่โจทก์เมื่อสินค้าได้มีการชั่งน้ำหนักและผ่านพิธีการทางศุลกากรแล้ว โดยระบุปลายทางของการขนส่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งและสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ส่วนการที่โจทก์มีหน้าที่ชำระเงินค่าขนส่งระหว่างบริษัทโจทก์ไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพให้แก่จำเลยก็เป็นเพียงข้อตกลงแบ่งแยกความรับผิดชอบในการชำระเงินค่าขนส่ง ส่วนที่อยู่ภายในประเทศให้แก่โจทก์เท่านั้น
การที่จำเลยทำสัญญารับขนส่งทางอากาศกับโจทก์ ซึ่งสัญญาขนส่งประเภทนี้ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ใช้บังคับโดยเฉพาะเหมือนดังเช่นการขนส่งของทางทะเลที่มี พ.ร.บ.รับขนของทางทะเลฯ ใช้บังคับ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 8 ว่าด้วยรับขน ตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 616 แห่ง ป.พ.พ.บัญญัติให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหาย หรือบุบสลายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือรับตราส่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องของโจทก์ จำเลยรับสินค้าตามฟ้องของโจทก์มาอยู่ในความดูแลของตนแล้วมีคนมาลักเอาสินค้าตามฟ้องไป ดังนี้การสูญหายของสินค้าตามฟ้องมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากสภาพของสินค้าหรือเกิดจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับชดใช้ค่าสินค้าตามฟ้องให้แก่โจทก์ แต่อย่างไรก็ตามในการทำสัญญารับขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยได้มีข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไว้ ซึ่งจำเลยอาจอ้างข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวขึ้นได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 371 ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยนำสินค้าของโจทก์ไปกองรวมกับสินค้าของลูกค้ารายอื่นเพื่อรอชั่งน้ำหนักตามวิธีการขนส่งสินค้าธรรมดาแต่สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมหายไป ซึ่งยังฟังไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยอย่างไรที่ทำให้เกิดการสูญหายของสินค้าโจทก์ จำเลยจึงอ้างข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวขึ้นได้
การที่จำเลยทำสัญญารับขนส่งทางอากาศกับโจทก์ ซึ่งสัญญาขนส่งประเภทนี้ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ใช้บังคับโดยเฉพาะเหมือนดังเช่นการขนส่งของทางทะเลที่มี พ.ร.บ.รับขนของทางทะเลฯ ใช้บังคับ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 8 ว่าด้วยรับขน ตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 616 แห่ง ป.พ.พ.บัญญัติให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหาย หรือบุบสลายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือรับตราส่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องของโจทก์ จำเลยรับสินค้าตามฟ้องของโจทก์มาอยู่ในความดูแลของตนแล้วมีคนมาลักเอาสินค้าตามฟ้องไป ดังนี้การสูญหายของสินค้าตามฟ้องมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากสภาพของสินค้าหรือเกิดจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับชดใช้ค่าสินค้าตามฟ้องให้แก่โจทก์ แต่อย่างไรก็ตามในการทำสัญญารับขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยได้มีข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไว้ ซึ่งจำเลยอาจอ้างข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวขึ้นได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 371 ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยนำสินค้าของโจทก์ไปกองรวมกับสินค้าของลูกค้ารายอื่นเพื่อรอชั่งน้ำหนักตามวิธีการขนส่งสินค้าธรรมดาแต่สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมหายไป ซึ่งยังฟังไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยอย่างไรที่ทำให้เกิดการสูญหายของสินค้าโจทก์ จำเลยจึงอ้างข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก: ความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อเกิดข้อจำกัดในการขนส่ง
สัญญาขนส่งสินค้าระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นสัญญารับขนของโดยมีการขนส่งทางทะเลและทางอื่นรวมอยู่ด้วย อันเข้าเป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของ และลักษณะของสัญญามุ่งเน้นการขนส่งทางทะเลเป็นสาระสำคัญ การที่ใบจองระวางเรือและใบตราส่งสินค้าพิพาทระบุจุดหมายปลายทางของการขนส่งทั้งสองเที่ยวว่าเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงว่าความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้ส่งของที่รับขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งที่จุดหมายปลายทางเรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยทั้งสองเรียกเก็บค่าระวางจากโจทก์ในลักษณะการขนส่งทางทะเลบวกกับการขนส่งทางบก ก็ไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งทางบกโดยรถไฟเป็นสาระสำคัญของสัญญาขนส่งตามฟ้อง เพราะสภาพแห่งสัญญามุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้างโดยการที่สินค้าพิพาทไปถึงมือผู้รับตราส่งที่เมืองปลายทางเท่านั้น การที่สินค้าของโจทก์ไม่อาจขนส่งทางรถไฟจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์ได้เพราะมีข้อจำกัดของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศแคนาดา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งสินค้าพิพาททั้งสองเที่ยวอันเป็นการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ตามสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องกลายเป็นพ้นวิสัย เพราะสินค้าตามฟ้องสามารถขนส่งไปยังเมืองปลายทางได้โดยทางรถบรรทุก ทั้งไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งทางรถบรรทุกอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงขนส่งสินค้า การที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์อันเป็นสถานที่ปลายทางตามสัญญาขนส่งสินค้าโดยโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์เกรงว่าหากปล่อยเวลาเนิ่นนานไปจะเกิดความเสียหายเพราะผู้ซื้ออาจปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้า จึงได้แจ้งแก่จำเลยที่ 2 ว่าจะขนส่งสินค้าช่วงจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังปลายทางเอง ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมตกลงส่งมอบตู้สินค้าให้แก่บุคคลภายนอกที่โจทก์ติดต่อให้รับขนส่งต่อ โดยจำเลยที่ 2 ตกลงไม่เรียกเก็บค่าเสียเวลาตู้สินค้าที่เมืองแวนคูเวอร์ และจะไปรับตู้สินค้าคืนที่เมืองปลายทาง รวมทั้งยินยอมคืนค่าระวางบางส่วนให้แก่โจทก์ ถือเป็นส่วนที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชอบและไม่มีสิทธิได้รับค่าระวางในส่วนนั้นอยู่แล้ว ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทั้งสองสมัครใจเลิกสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องต่อกัน เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททั้งสองรายการจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองปลายทางโดยทางรถยนต์เป็นเงิน 46,370 ดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ โดยหักเงินค่าระวางส่วนต่างจากท่าเรือเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองปลายทางทั้งสองเที่ยวที่จำเลยทั้งสองส่งคืนให้แก่โจทก์แล้วออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขน กรณีสัญญารับขนมีอายุความเฉพาะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการรับขนจัดส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศแก่บุคคลทั่วไปเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ จำเลยได้ขนสินค้าผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และตามเงื่อนไขจำเลยมีหน้าที่และรับผิดชอบมอบสินค้ายังสถานที่ปลายทาง แต่ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหมด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสินค้า ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนดังกล่าว และให้จำเลยรับผิดในการที่ของสูญหาย จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขน ต้องนำอายุความลักษณะรับขนตามมาตรา 624 มาใช้บังคับ มิใช่นำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญาขนส่งและประกันภัย: ศาลฎีกาชี้ขาดความสมเหตุสมผลของข้อตกลง
สินค้าที่ผู้ขนส่งจ้างให้จำเลยทั้งสองขนส่งทางอากาศมีมูลค่าเกินกว่าจำนวนสูงสุดที่จำเลยที่ 2 อนุญาตให้สำแดงได้ คือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ไปมาก ผู้ส่งทราบถึงเงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 แล้ว แต่สมัครใจเข้าทำสัญญารับขนกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้แจ้งหรือระบุมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ ทั้งยังได้ทำประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งกับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้าโดยยอมเสียเบี้ยประกันภัย แสดงถึงเจตนาที่จะเข้าเอาประโยชน์จากการที่จะไม่ต้องเสียค่าระวางเพิ่มและหากสินค้าสูญหายหรือเสียหายผู้ส่งยังได้รับชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มตามมูลค่าของสินค้า นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ประกอบกิจการรับขนสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยเฉพาะให้ผู้ส่งได้เลือกใช้บริการ แต่จะคิดค่าระวางขนส่งที่สูงกว่าจำเลยที่ 2 ดังนั้น ผู้ส่งจึงมิได้อยู่ในฐานะที่ต้องเสียเปรียบหรือต้องผูกมัดให้ทำสัญญาโดยไม่มีผู้ประกอบการรายอื่นที่จะเลือกใช้บริการเงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือทำให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้เปรียบผู้เอาประกันภัยเกินสมควร จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญาขนส่งทางอากาศ: พิจารณาความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ทำสัญญาและเจตนาของผู้ส่ง
การจะพิจารณาว่าข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามใบรับขนของทางอากาศเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวเป็นผลให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดความรับผิดนั้นได้เปรียบผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ เมื่อใบรับขนของทางอากาศซึ่งเป็นแบบฟอร์มของจำเลยที่ 2 มีช่องย่อยสำหรับให้ผู้ส่งกรอกสำแดงรายการราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ซึ่งไม่บังคับให้ผู้ส่งต้องสำแดง หากผู้ส่งไม่สำแดงราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จะจำกัดไว้สูงสุดไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า แต่หากประสงค์จะให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามจำนวนราคาสินค้าที่สำแดงไว้เป็นจำนวนสูงกว่าข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว ผู้ส่งจะต้องสำแดงราคาสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ในใบรับขนของทางอากาศโดยเสียค่าธรรมเนียมการขนส่งบวกค่าบริการประกันภัยเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ขนส่งคิดค่าระวางเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากภาระในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเป็นหนี้ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องชำระตอบแทนกัน จึงถือเป็นหนี้ที่มีความสำคัญขนาดเดียวกันและเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เมื่อผู้ส่งทราบถึงเงื่อนไขในการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวแล้วไม่ได้ระบุราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง แต่ได้ทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยจากการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าระหว่างขนส่งกับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้าอันเป็นทางเลือกอย่างอื่น แสดงให้เห็นชัดถึงเจตนาที่จะเข้าเอาประโยชน์จากการที่ไม่ต้องเสียค่าระวางเพิ่ม และหากสินค้าสูญหายหรือเสียหาย ผู้ส่งยังรับชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มมูลค่าของสินค้า ประกอบกับตามพฤติการณ์ ทางเลือกและทางได้เสียทุกอย่าง ผู้ส่งมิได้อยู่ในฐานะที่ต้องเสียเปรียบ หรือต้องผูกมัดให้ทำสัญญาโดยไม่มีผู้ประกอบการรายอื่นที่จะเลือกใช้บริการ ดังนั้น เงื่อนไขในการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดตามใบรับขนของทางอากาศดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรับภาระเกินกว่าวิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือทำให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้เปรียบผู้เอาประกันภัยเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 และมาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับตราส่งในการชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าเมื่อไม่รับมอบและส่งคืนตู้
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง จำเลยยอมรับเอาหน้าที่ที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดในใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของซีวาย ตัวหลัง และโจทก์ได้ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทางทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างอยู่ในตู้จนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้าดังกล่าวคืนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าและชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าตามใบตราส่งและเงื่อนไขการขนส่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง ซึ่งแม้ใบตราส่งไม่ปราฏข้อกำหนดหน้าที่ให้จำเลยต้องดำเนินพิธีการศุลกากร ขนถ่ายสินค้าออกจากตู้และส่งมอบตู้สินค้าคืนแก่โจทก์ภายใน 7 วัน แต่ใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้ที่ต้องได้รับแจ้งการมาถึงของสินค้า และการขนส่งรายนี้มีเงื่อนไขการขนส่งแบบ เอฟ.ซี.แอล ซีวาย/ซีวาย ข้อความดังกล่าวเป็นการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องแจ้งการมาถึงของสินค้าให้จำเลยทราบและส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และเมื่อตู้สินค้าถูกขนส่งถึงท่าปลายทาง โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งต้องส่งมอบตู้สินค้าทั้งตู้แก่จำเลยในฐานะผู้รับตราส่งเพื่อนำไปเปิดที่โกดังของตนเอง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าสินค้ามาถึงแล้ว ทั้งการที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอเปลี่ยนสถานที่ส่งมอบโดยตกลงที่จะชำระค่าบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประกันในการดำเนินการ และตกลงจะรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโจทก์ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับเอาหน้าที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดของใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของ ซีวาย ตัวหลังแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการเพื่อรับมอบสินค้าในเวลาอันสมควร และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและทวงถาม จำเลยได้ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้บางส่วนถึง 2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในใบตราส่งเพื่อที่จะเข้าครอบครองถือประโยชน์ในสินค้า โดยตกลงที่จะรับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทาง และพร้อมที่จะส่งมอบทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างจนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดี เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้า