พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีจำหน่ายยาเสพติด: ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพยานหลักฐานและอำนาจริบของกลาง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้ฟ้องฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ได้ความจากร้อยตำรวจเอก ส. ว่า ขวดพลาสติกพร้อมหลอดโลหะของกลางเป็นอุปกรณ์สำหรับเสพเมทแอมเฟตามีน ดังนั้น ขวดพลาสติกพร้อมหลอดโลหะของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ริบขวดพลาสติกพร้อมหลอดโลหะของกลางนั้น จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศ: เจตนาผู้ส่งสินค้าสำคัญกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศมีข้อจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อสินค้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัมแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า การที่ผู้เอาประกันภัยจงใจกรอกข้อความด้านหน้าใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ข้อ 3 ว่าขอแจ้งมูลค่าสินค้าเป็นเงิน 5,430 ดอลลาร์สหรัฐไว้เฉพาะในช่อง "Value for Customs" หรือมูลค่าเพื่อการศุลกากร ส่วนในช่อง "Total Declared Value for Carriage" หรือมูลค่าที่แจ้งทั้งหมดเพื่อการขนส่งไม่ขอแจ้งโดยขีดฆ่าออก เพราะทราบดีกว่า "Value for Customs" มีความหมายแตกต่างกับ "Total Declared Value for Carriage" แต่ผู้เอาประกันภัยก็ยังคงเลือกแสดงเจตนาที่จะไม่ระบุแจ้งมูลค่าเพื่อการขนส่งเพื่อที่จะได้เสียค่าระวางต่ำโดยยอมตกลงให้ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดตามเนื้อความด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศได้ ประกอบกับในขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์ก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งในวงเงินประกันที่คุ้มมูลค่าของสินค้าไว้ก่อนจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าระวางเพิ่มเพื่อให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีกอันเป็นการลดต้นทุนของผู้เอาประกันภัย จึงเชื่อได้ว่าผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น อันเป็นเหตุให้ข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับได้ เมื่อสินค้าพิพาทมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ส่ง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าการคำนวณน้ำหนักของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, อัตราดอกเบี้ยสูงสุด, กฎหมายบริษัทบริหารสินทรัพย์, การบังคับคดี, หักหนี้
ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ลักษณะแห่งตราสารอันดับที่ 7 ใบมอบอำนาจ หมายถึง ใบตั้งตัวแทน และในส่วนค่าอากรแสตมป์นั้นหากมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท หากมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ซึ่งแม้การตั้งตัวแทนนั้นอาจต้องมอบให้ตัวแทนกระทำการหลายอย่างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตัวการต้องการก็เป็นเรื่องปกติของการตั้งตัวแทนให้กระทำการแทนในกิจการต่าง ๆ แล้วแต่ว่ากิจการนั้นจะต้องกระทำการอย่างเดียวหรือหลายอย่าง และหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้ค่าอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับการกระทำแทนอย่างเดียวหรือหลายอย่างในการตั้งตัวแทนครั้งเดียว หากแต่กำหนดค่าอากรแสตมป์โดยเพียงให้ขึ้นอยู่กับการตั้งตัวแทนให้กระทำการเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งหากมอบอำนาจให้กระทำการได้หลายครั้งก็ต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท เท่านั้นโดยไม่จำกัดว่าในการกระทำการแทนหลายครั้งนั้น แต่ละครั้งจะต้องมีการกระทำกี่อย่าง ดังนั้น แม้ในการกระทำการแทนแต่ละครั้ง ผู้รับมอบอำนาจจะต้องกระทำการอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ก็คงต้องเสียค่าอากรเพียง 30 บาท เท่านั้น
โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากผู้ฝากเงิน แล้วนำมาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อโดยเฉพาะหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท คดีนี้มีมูลหนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อสินค้าจากผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจึงขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อประกอบการสั่งซื้อและชำระค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้านั้น โดยโจทก์ยอมตนเข้าผูกพันชำระเงินค่าสินค้าเองตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่โจทก์เป็นผู้ออก ซึ่งเมื่อโจทก์ชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแล้วย่อมถือว่าเป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวแก่โจทก์ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อรับเอกสารจากโจทก์ไปใช้รับสินค้าจากผู้ขนส่งก่อน โดยตกลงจะชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายหลังตามเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จึงเห็นได้ว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาก่อผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการให้สินเชื่อแล้วเรียกเอาหนี้จากการให้สินเชื่อนั้นโดยตรง หาใช่กรณีที่โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องส่งมอบของแก่จำเลยที่ 1 หรือทำการงานหรือดูแลกิจการให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบหรือค่าการงานที่ทำหรือค่าดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแต่อย่างใด จึงมิใช่สิทธิเรียกร้องอันมีกำหนดอายุความ 2 ปี แต่เป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ถือไม่ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ส่วนที่อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (7) ด้วย นั้น ตามคำให้การก็ไม่ได้ให้การยกอายุความตามมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และเมื่อหนี้ตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นหนี้ร่วม การชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ สมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาดังกล่าวด้วย
โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากผู้ฝากเงิน แล้วนำมาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อโดยเฉพาะหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท คดีนี้มีมูลหนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อสินค้าจากผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจึงขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อประกอบการสั่งซื้อและชำระค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้านั้น โดยโจทก์ยอมตนเข้าผูกพันชำระเงินค่าสินค้าเองตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่โจทก์เป็นผู้ออก ซึ่งเมื่อโจทก์ชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแล้วย่อมถือว่าเป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวแก่โจทก์ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อรับเอกสารจากโจทก์ไปใช้รับสินค้าจากผู้ขนส่งก่อน โดยตกลงจะชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายหลังตามเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จึงเห็นได้ว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาก่อผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการให้สินเชื่อแล้วเรียกเอาหนี้จากการให้สินเชื่อนั้นโดยตรง หาใช่กรณีที่โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องส่งมอบของแก่จำเลยที่ 1 หรือทำการงานหรือดูแลกิจการให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบหรือค่าการงานที่ทำหรือค่าดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแต่อย่างใด จึงมิใช่สิทธิเรียกร้องอันมีกำหนดอายุความ 2 ปี แต่เป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ถือไม่ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ส่วนที่อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (7) ด้วย นั้น ตามคำให้การก็ไม่ได้ให้การยกอายุความตามมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และเมื่อหนี้ตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นหนี้ร่วม การชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ สมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารจากชั้นไต่สวนมูลฟ้อง: ข้อจำกัดเมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาศาล
แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งศาลต้องบันทึกไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แต่การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้นำบันทึกคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และจ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ได้รับบาดเจ็บ พยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหรือไม่นั้นข้อเท็จจริงได้ความว่า ในการสืบพยานโจทก์ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบ ว. และจ่าสิบตำรวจ ส. พยานโจทก์ เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่ละเลยเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ในการส่งหมายเรียกให้พยานหรือนำพยานมาศาล จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของ ว. และจ่าสิบตำรวจ ส. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 ที่แก้ไขใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังนั้น แม้จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจนำบันทึกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองปากในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากชั้นไต่สวนมูลฟ้องในชั้นพิจารณาคดี: ข้อจำกัดเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
คำเบิกความของ ว. และ ส. พยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องซึ่งศาลต้องบันทึกไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยทั้งสองมีผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ตามมาตรา 226 แต่ในการสืบพยานโจทก์ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบ ว. และ ส. เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่ละเลยเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ในการส่งหมายเรียกให้พยานหรือนำพยานมาศาล จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของ ว. และ ส. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในชั้นพิจารณาได้ตามมาตรา 226/5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาคดี: ศาลต้องพิจารณาตามกระบวนการ หากละเลยอาจทำให้การพิพากษาไม่ถูกต้อง
การที่ศาลชั้นต้นรับฟังหรือไม่รับฟังพยานหลักฐานใด จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน ก็เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยให้ถูกต้อง แล้ววินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์อุทธรณ์ ไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันจะเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้วินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาหรือไม่ ตามที่โจทก์อุทธรณ์ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้พิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีการควบคุมมาตรฐานสูงเข้าข่ายสัญญาจ้างทำของ
แม้สัญญาซื้อขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะมีรายละเอียดของแบบสินค้า จำนวนชุด ราคา วันจัดส่งและระบุด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อ ส่วนโจทก์เป็นผู้ขาย แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผ้า วัสดุอุปกรณ์ กรรมวิธีการผลิต หีบห่อ และเศษวัสดุจากการตัดเย็บและสินค้าคุณภาพรองไว้ โดยสินค้าจะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของโรงงานและเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนด อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้าจะต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 เสียก่อน และก่อนลงมือผลิตสินค้า โจทก์จะต้องส่งตัวอย่างสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อทำการอนุมัติและทดสอบก่อน หากไม่ผ่านการทดสอบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าได้ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้แก่จำเลยที่ 1 โดยผ้าและวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานและได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 ก่อน ทั้งจำเลยที่ 1 จะต้องส่งชุดต้นแบบไปให้แก่โจทก์เพื่อทำชุดตัวอย่างสำหรับลองขนาด สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยทั่วไปที่โจทก์ได้ผลิตสินค้าไว้เรียบร้อยแล้ว หรือโจทก์สามารถผลิตสินค้าขึ้นตามแบบที่โจทก์คิดขึ้นได้เอง แต่เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยผ้า วัตถุดิบ รูปแบบการตัดเย็บ และขั้นตอนการผลิตล้วนอยู่ในการควบคุมมาตรฐานของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบทบังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 7 ในเรื่องจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5031/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ครอบครอง-จำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตเถื่อนและปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแยกบรรยายฟ้องข้อ 2 (ก) ในส่วนของการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบซิกาแรตเครื่องหมายการค้า "กรองทิพย์ 90" (KRONGTHIP 90) จำนวน 190 ซอง ที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ ตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ ซึ่งเกินกว่า 500 กรัม และไม่ใช่ยาเส้นที่ทำจากใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ข้อ 2 (ข) ในส่วนของการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้า "กรองทิพย์ 90" (KRONGTHIP 90) ปลอมที่ผู้อื่นทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย และข้อ 2 (ง) ในส่วนของการจำหน่ายหรือขายซึ่งสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรต ที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายและเป็นสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้า "กรองทิพย์ 90" (KRONGTHIP 90) อันเป็นเครื่องหมายการค้าปลอม ที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายตามข้อ (ก) และ (ข) จำนวน 20 ซอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินค้ายาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ และเป็นสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ดังกล่าว คดีย่อมเป็นอันรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่ายหรือขายสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตตามฟ้อง (ง) อีกกระทงหนึ่งด้วย เพราะการมีสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายสินค้ายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตมีลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสัญญาโอนสิทธิบัตร
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยเป็นสัญญาโอนขายสิทธิบัตร โดยมีข้อกำหนดว่าผู้โอนคือโจทก์ทั้งสี่ที่เป็นผู้ขายจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้รับโอนคือจำเลยด้วย จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่มีหน้าที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์ทั้งสี่ ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสี่รับว่ามีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยจริง และแจ้งให้จำเลยหักชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระแก่จำเลย ต่อมาจำเลยส่งใบหุ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ ย่อมแสดงว่าจำเลยยอมรับการชำระหนี้ค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยอมรับว่ายังไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่จำเลย โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายจากสัญญาสิทธิการดำเนินงานสถานีน้ำมัน: ไม่เข้าข่ายสินค้าซื้อมาขายไป อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องคดีตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีน้ำมัน โดยเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลย คือ เงินค้างชำระเกี่ยวกับค่าใช้สิทธิ ค่าซื้อสินค้า ค่าส่งเสริมการขาย และค่าซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำมันซึ่งโจทก์ส่งมอบให้จำเลยก็มิใช่สินค้าที่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นปกติธุระของโจทก์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ค่าเสียหายดังกล่าวจึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี เมื่อสัญญาให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30