พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางอากาศ: การไม่แจ้งราคาสินค้าถือเป็นการยอมรับเงื่อนไขจำกัดความรับผิด
การรับขนของทางอากาศเป็นการขนส่งประเภทหนึ่ง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 625 บัญญัติว่า "ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น" ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งจะต้องรับผิดเพียงใด จึงต้องวินิจฉัยตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอปล่อยตัวชั่วคราวและการคืนทรัพย์สินหลังพ้นการควบคุมตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90
สิทธิของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 นั้น มีอยู่เพียงชั่วระยะยาวเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้วโดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้ กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะยื่นคำร้องแล้วผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตามมาตรา 90 ได้อีกต่อไป หากการจับเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้องด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ต่อไป สำหรับทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยมิชอบด้วยกำหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น ก็มิใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 ได้เช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์: คำให้การเพิ่มเติมทางวาจาและบันทึกชั้นสอบสวนถือเป็นคำร้องทุกข์ที่มีรายละเอียดครบถ้วน
แม้ในบันทึกประจำวันผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายจะแจ้งเฉพาะชื่อและที่อยู่ของตน รวมทั้งการที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายได้แจ้งด้วยวาจาเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ถึงสถานที่ที่ความผิดเกิด และเมื่อจับกุมผู้กระทำผิดได้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายได้ให้การเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำความผิด ความเสียหายที่ได้รับ และชื่อผู้กระทำผิด ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายที่มีรายละเอียดครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) ประกอบด้วยมาตรา 123 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลไม่รับฟ้อง: เริ่มนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มีความหมายว่า กำหนดระยะเวลา 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นซึ่งได้รับคำฟ้องไว้แต่แรกมีคำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 9 พร้อมกับมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 กำหนดระยะเวลา 60 วัน ย่อมนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2548 มิใช่นับแต่วันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นวันที่ประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4518/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากการประดิษฐ์มีอยู่แล้วก่อนขอรับสิทธิบัตร แม้ผู้ขอเป็นผู้เผยแพร่เอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้นั้น พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ บัญญัติไว้ 2 อนุมาตรา รวมความว่า ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้ ซึ่งปัญหาความใหม่นั้น เมื่อพิจารณามาตรา 65 ทศ ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 6 และอีกหลายมาตราในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มาใช้บังคับกับหมวดว่าด้วยอนุสิทธิบัตรโดยอนุโลม โดยในมาตรา 6 วรรคแรก บัญญัติว่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว และในวรรคสองบัญญัติว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วให้หมายความถึงการประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (2) การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ นอกจากนี้ ในมาตรา 6 วรรคท้าย บัญญัติความตอนหนึ่งว่า การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตรมิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์จำหน่ายเทปโฟมกาวสองหน้ามาตั้งแต่ปี 2538 ก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 แล้ว การประดิษฐ์ดังกล่าวของโจทก์จึงมีหรือใช้อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร และการที่โจทก์จำหน่ายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดย่อมเป็นการจำหน่ายแพร่หลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 วรรคสอง อนุมาตรา (1) ดังกล่าว และถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์ต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ ตามอนุมาตรา (2) ด้วย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นได้ว่าการประดิษฐ์ของโจทก์ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งมาก การประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถึงแม้โจทก์จะเป็นผู้ทำให้เทปโฟมกาวสองหน้านั้นมีหรือใช้แพร่หลาย และเป็นผู้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์นั้นเองดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกระทำเกินกว่ากำหนดเวลาสิบสองเดือนก่อนโจทก์ขอรับอนุสิทธิบัตร กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 6 วรรคท้าย ที่จะไม่ถือว่าเป็นการทำให้แพร่หลายและเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดการประดิษฐ์ก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร เทปโฟมกาวสองหน้าซึ่งเป็นการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 แม้โจทก์ได้รับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ก็เป็นอนุสิทธิบัตรที่ได้ออกให้โดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามอนุสิทธิบัตร โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนสิทธิเด็ดขาดของโจทก์ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร และไม่อาจใช้มาตรการบังคับจำเลยทั้งสามตามสิทธิของอนุสิทธิบัตรนั้น ซึ่งศาลมีอำนาจยกความไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 65 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง: สัญญาขนส่งระหว่างประเทศ, การยอมรับเงื่อนไข, การรับช่วงสิทธิประกันภัย
บริษัท ก. โดยบริษัท พ. ได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งมีข้อความกำหนดว่า เป็นการเข้าทำสัญญาตามเงื่อนไขด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และเงื่อนไขดังกล่าวกำหนดไว้ในข้อความจำกัดความรับผิดว่าความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง เสียหาย ล่าช้า... ถูกจำกัดตามใบตราส่ง คือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อการขนส่ง หรือ 9.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ปอนด์ (20 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม) ที่ใบกำกับสินค้าระบุราคาสินค้าว่ามีมูลค่า 5,080 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่องมูลค่าการขนส่ง (Total Declared Value For Carriage) ระบุไว้เพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่าการขนส่งรายพิพาทนี้บริษัท ก. เจ้าของสินค้าได้มอบหมายให้บริษัท พ. เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งแทน โดยมีพนักงานของบริษัทดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ส่ง ทั้งได้ความว่า มีประเพณีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศกำหนดไว้เช่นนั้น บริษัท ก. ได้ใช้บริการของจำเลยทั้งสองมาหลายครั้งจึงฟังได้ว่า บริษัท ก. ผู้ตราส่งยอมรับข้อตกลงตามเงื่อนไขข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 แล้ว จำเลยทั้งสองย่อมรับผิดต่อบริษัท ก. เป็นจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐ เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผิดนัด: จำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากสินค้าที่โจทก์ต้องขายราคาต่ำกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายขดม้วนโลหะรีดร้อนกับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ปริมาณ 10,000 เมตริกตัน ในราคา 2,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ กำหนดส่งสินค้าทางเรือในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2543 เป็นอย่างช้า ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2543 โจทก์ขนสินค้าเข้ามาในประเทศไทยพร้อมที่จะส่งมอบ วันที่ 7 กันยายน 2543 จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ว่า จำเลยทั้งสองประสบปัญหาทางการเงิน ขอเลื่อนการชำระเงินรวมทั้งบอกปัดในทำนองที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาด้วยการแจ้งให้โจทก์นำสินค้าไปขายให้แก่บุคคลอื่นก่อน โจทก์จึงขายสินค้าให้แก่บุคคลอื่นไปเพื่อบรรเทาความเสียหายได้เงินทั้งสิ้น 1,886,880 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้โจทก์ขาดทุน 413,120 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย คำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 แล้ว ไม่ได้เคลือบคลุมดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจัดทำเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขาย หาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายพิพาทกันไว้ สัญญาซื้อขายพิพาทจึงผูกพันคู่สัญญาและมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันทำสัญญา การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายพิพาทมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทด้วยการทำตั๋วแลกเงินและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายพิพาท
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายพิพาทโดยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ต้องขายสินค้าพิพาทให้แก่ผู้อื่นในราคาต่ำกว่าราคาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินที่โจทก์ควรจะได้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าว
ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ ส. ได้ความว่า พยานดังกล่าวทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย มีหน้าที่ติดต่อขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย พยานดังกล่าวให้การตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นในเรื่องการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง การผิดสัญญาซื้อขายพิพาทของจำเลยทั้งสอง และความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การผิดสัญญาซื้อขายพิพาท พยานดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้การเป็นพยานโดยตรงจึงหาต้องห้ามมิให้รับฟังตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 เห็นว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งส่วนใหญ่เป็นต้นฉบับเอกสาร ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้คัดค้านสำเนาเอกสารฉบับใดของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างใด คงมีเพียงทนายจำเลยที่ 1 แถลงต่อศาลว่าเอกสารหมาย จ. 20 ที่โจทก์นำส่งเป็นเพียงสำเนาเอกสารเท่านั้น เมื่อเอกสารหมาย จ. 20
ซึ่งมีถึง 63 แผ่นมีทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนา ทั้งเป็นเอกสารเกี่ยวกับค่าขนส่ง ค่าตรวจสอบสินค้า ค่านายหน้าและค่าระวางเรือ ซึ่งศาลมิได้นำเอกสารดังมากล่าวพิจารณาในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจัดทำเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขาย หาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายพิพาทกันไว้ สัญญาซื้อขายพิพาทจึงผูกพันคู่สัญญาและมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันทำสัญญา การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายพิพาทมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทด้วยการทำตั๋วแลกเงินและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายพิพาท
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายพิพาทโดยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ต้องขายสินค้าพิพาทให้แก่ผู้อื่นในราคาต่ำกว่าราคาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินที่โจทก์ควรจะได้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าว
ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ ส. ได้ความว่า พยานดังกล่าวทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย มีหน้าที่ติดต่อขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย พยานดังกล่าวให้การตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นในเรื่องการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง การผิดสัญญาซื้อขายพิพาทของจำเลยทั้งสอง และความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การผิดสัญญาซื้อขายพิพาท พยานดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้การเป็นพยานโดยตรงจึงหาต้องห้ามมิให้รับฟังตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 เห็นว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งส่วนใหญ่เป็นต้นฉบับเอกสาร ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้คัดค้านสำเนาเอกสารฉบับใดของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างใด คงมีเพียงทนายจำเลยที่ 1 แถลงต่อศาลว่าเอกสารหมาย จ. 20 ที่โจทก์นำส่งเป็นเพียงสำเนาเอกสารเท่านั้น เมื่อเอกสารหมาย จ. 20
ซึ่งมีถึง 63 แผ่นมีทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนา ทั้งเป็นเอกสารเกี่ยวกับค่าขนส่ง ค่าตรวจสอบสินค้า ค่านายหน้าและค่าระวางเรือ ซึ่งศาลมิได้นำเอกสารดังมากล่าวพิจารณาในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ ห้ามใช้คำที่บ่งบอกลักษณะสินค้าโดยตรง
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ซึ่งทำขึ้นก่อนฟ้อง หลังจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตาม ได้มอบอำนาจไว้อย่างกว้างขวางและระบุไว้ชัดเจนว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีต่อสู้คดีทางอาญาและทางแพ่งอันเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในศาลได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นการมอบอำนาจแก่ผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์แล้ว
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญสองส่วน คือคำที่เป็นตัวอักษรโรมันสองคำรวมกันในลักษณะประดิษฐ์ คือคำว่า POPCORN อ่านว่า ป๊อบคอร์น แปลว่า ข้าวโพดคั่ว และคำว่า CHICKEN อ่านว่า ชิคเคน แปลว่าไก่ เมื่อรวมคำกันแล้วแปลว่า ไก่ข้าวโพดคั่ว เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า 18 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เน้นที่สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม คำว่า POPCORN CHICKEN อาจจัดอยู่ในความหมายของสินค้ารายการที่ 1) เนื้อสัตว์ 2) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 4) สัตว์ปีกไม่มีชีวิต 5) ผลิตภัณฑ์ทำจากสัตว์ปีก และ 6) สัตว์ล่าไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม ทั้งเมื่อพิเคราะห์เฉพาะคำว่า POPCORN มีความหมายเดียวกันกับสินค้ารายการที่ 9) ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี และที่ 10) ผักที่ผ่านกรรมวิธี ส่วนลำพังคำว่า CHICKEN ก็เป็นคำสามัญในการค้าขายสินค้าตามรายการข้างต้น เครื่องหมายการค้า POPCORN CHICKEN เมื่อจะนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ ตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่แสดงออกไว้ในคำขอจดทะเบียน จึงนับได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 (1) หากยอมรับให้จดทะเบียนคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงเช่นนี้ได้ย่อมจะทำให้โจทก์ผูกขาดการใช้คำสามัญที่แสดงลักษณะของการนำพืชหรือสัตว์มาทำการแปรรูปเป็นอาหาร อันเป็นการกีดกันสิทธิของบุคคลทั่วไปที่จะใช้คำเหล่านั้นโดยชอบเกี่ยวกับการค้าของตน
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญสองส่วน คือคำที่เป็นตัวอักษรโรมันสองคำรวมกันในลักษณะประดิษฐ์ คือคำว่า POPCORN อ่านว่า ป๊อบคอร์น แปลว่า ข้าวโพดคั่ว และคำว่า CHICKEN อ่านว่า ชิคเคน แปลว่าไก่ เมื่อรวมคำกันแล้วแปลว่า ไก่ข้าวโพดคั่ว เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า 18 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เน้นที่สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม คำว่า POPCORN CHICKEN อาจจัดอยู่ในความหมายของสินค้ารายการที่ 1) เนื้อสัตว์ 2) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 4) สัตว์ปีกไม่มีชีวิต 5) ผลิตภัณฑ์ทำจากสัตว์ปีก และ 6) สัตว์ล่าไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม ทั้งเมื่อพิเคราะห์เฉพาะคำว่า POPCORN มีความหมายเดียวกันกับสินค้ารายการที่ 9) ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี และที่ 10) ผักที่ผ่านกรรมวิธี ส่วนลำพังคำว่า CHICKEN ก็เป็นคำสามัญในการค้าขายสินค้าตามรายการข้างต้น เครื่องหมายการค้า POPCORN CHICKEN เมื่อจะนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ ตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่แสดงออกไว้ในคำขอจดทะเบียน จึงนับได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 (1) หากยอมรับให้จดทะเบียนคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงเช่นนี้ได้ย่อมจะทำให้โจทก์ผูกขาดการใช้คำสามัญที่แสดงลักษณะของการนำพืชหรือสัตว์มาทำการแปรรูปเป็นอาหาร อันเป็นการกีดกันสิทธิของบุคคลทั่วไปที่จะใช้คำเหล่านั้นโดยชอบเกี่ยวกับการค้าของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายเครื่องจักรต่างประเทศ, เช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้, การชำระหนี้ด้วยการหักเงิน, อายุความ
การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, อำนาจฟ้อง, เช็ค, การชำระหนี้, และการบังคับตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ...เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง..." และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ดังนั้น การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมเครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมสินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเอง โดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว