คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัฒน์ วรรธนะหทัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่คล้ายกับงานที่มีอยู่แล้ว การปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ใช่การสร้างสรรค์ใหม่
รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามสิทธิบัตรทั้ง 2 คำขอคล้ายกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เสาอากาศรับสัญญาณที่มีผู้อื่นเปิดเผยและเผยแพร่มาก่อน แม้รูปแบบปีกของจำเลยทำให้การรับสัญญาณดีขึ้นก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ มิใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 ประกอบมาตรา 57 (1) (2) (3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 64

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต้องเพิกถอนหากไม่ใช่การออกแบบใหม่ & ไม่เสียหายจากการแสดงสิทธิบัตร
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลไว้ การจะนำคดีมาสู่ศาลจึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอรับสิทธิบัตร
ซองสำหรับบรรจุหลอดตามสิทธิบัตรเกาหลีซึ่งเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกับสิทธิบัตรพิพาทได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องเพิกถอนตามมาตรา 64 ประกอบด้วยมาตรา 56
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซองสำหรับบรรจุหลอดพิพาทย่อมมีสิทธิแสดงตนว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรหลอดดูดพลาสติกพิพาทอีก 6 คำขอ แม้ยังอยู่ระหว่างประกาศโฆษณา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรก็มีสิทธิบอกกล่าวแก่บุคคลทั่วไปให้รู้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว อันเป็นการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริง เมื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ยังซื้อสินค้าของโจทก์อยู่ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่ง และการไม่รับของโดยไม่อิดเอื้อน
ขณะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย สินค้าพิพาทมีสภาพกล่องที่เปียกน้ำ เปื่อย บุบยุบ ฉีกขาด และบางส่วนไม่ได้วางอยู่บนฐานรอง ซึ่งกล่องที่ไม่ได้วางอยู่บนฐานรองนี้แตกต่างจากสภาพสินค้าขณะที่จำเลยรับมอบไว้จากผู้ส่งตามใบตราส่ง ซึ่งระบุว่าสินค้าพิพาทมี 167 กล่อง วางอยู่บนฐานรองรวม 12 ฐาน ขณะที่พนักงานของผู้เอาประกันภัยได้ถ่ายภาพเพื่อเก็บหลักฐานความเสียหายที่ปรากฏในเบื้องต้นนั้น ได้มีการแสดงออกถึงการที่ยังไม่ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยส่งมอบอยู่ในสภาพเรียบร้อยให้พนักงานขับรถและส่งของของจำเลยได้ทราบแล้ว แม้พนักงานของผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อรับสินค้านั้นไว้ก็เพราะปรากฏในเบื้องต้นว่าสินค้าส่งมาครบถ้วนเท่าจำนวนกล่องที่ระบุไว้ในใบตราส่งเท่านั้น จะถือว่าผู้เอาประกันภัยรับเอาสินค้านั้นไว้โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก ส่วนการอ้างประโยชน์ตามมาตรา 623 วรรคสอง ในกรณีความชำรุดบกพร่องมิได้ปรากฏแต่สภาพภายนอกซึ่งเจ้าของสินค้าต้องบอกกล่าวภายใน 8 วัน นับแต่วันรับมอบนั้น กรณีตามมาตรา 623 วรรคสอง ต้องปรากฏว่ามีการรับของโดยไม่อิดเอื้อนและมีการจ่ายค่าระวางพาหนะแล้ว ตามมาตรา 623 วรรคแรกด้วย ความรับผิดของจำเลยจึงจะสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งได้รับของไว้โดยไม่อิดเอื้อนแล้ว แม้ผู้รับตราส่งจะมิได้แจ้งเกี่ยวกับความเสียหายให้จำเลยทราบภายใน 8 วัน ก็ตาม ความรับผิดของจำเลยก็ยังไม่สิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและฟุ่มเฟือย ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำฟ้องโจทก์มีเนื้อหาเกินควรกว่าที่จำเป็นและมีมากตอนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อาทิ ฟ้องข้อ 1 ใช้ถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดระหว่างพิจารณาเนื้อหาสาระผลงาน มาตรา 17, 24, 26 และ 27 พร้อมกฎกระทรวงฉบับที่ 21 และยื่นคำขอเป็นครั้งแรกละเมิดมาตรา 24, 25 และ 26 และข้อหาหรือฐานความผิดเบื้องหลังผลงานพ้นจากมาตรา 24, 25, 26 ไปแล้ว และได้เข้าสู่มาตรา 27 หรือในข้อ 2 มีถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดผิดสัตยาบรรณ รับรองผลไม่เสียหาย ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายในเรื่องใด หรือการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร หรือฟ้องข้อ 3 มีข้อความว่า ข้อหาหรือฐานความผิด คำสั่งยกคำขอมิชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์กล่าวหาผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรว่าเซ็นคำสั่งยกคำขอไม่ถูกต้องเพราะจะปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เนื่องจากไปขัดข้ามตำแหน่งทางปกครองระดับกรมของรองอธิบดีซึ่งปกครองระดับสำนักงานและเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ เป็นต้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับอีกด้วย ทั้งคำฟ้องของโจทก์ยังมีความฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจจึงเป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ชำระค่าระวางตามสัญญาขนส่ง แม้จะมีการตกลงเรื่องการว่าจ้างผู้ขนส่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
เมื่อจำเลยในฐานะผู้รับตราส่งแสดงเจตนาเข้ารับเอาสินค้าอันเป็นการเข้ารับเอาประโยชน์ตามสิทธิในใบตราส่งทางอากาศ จำเลยจึงย่อมมีความผูกพันต้องชำระเงินค่าระวางตามหน้าที่ของผู้ที่เข้ารับเอาประโยชน์ด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าระวาง ไม่ว่าการตกลงว่าจ้างโจทก์ผู้ขนส่งในครั้งพิพาทนั้น จำเลยจะได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือบริษัท ล. ผู้ส่งเป็นผู้ว่าจ้างเองตั้งแต่ที่ต้นทางหรือว่าจ้างแทนจำเลยหรือไม่ก็ตาม ส่วนสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท ล. กับจำเลยจะกำหนดภาระหน้าที่ในเรื่องการขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยไว้อย่างไร ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยผู้ซื้อกับบริษัท ล. ผู้ขาย ซึ่งเป็นคู่สัญญากันตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับหน้าที่ในการขนส่งสินค้าตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงตามสัญญารับขน นอกจากที่ตกลงกันไว้ในใบตราส่งทางอากาศด้วยแล้ว จำเลยต้องรับผิดตามความผูกพันในใบตราส่งทางอากาศ ชำระค่าระวางทั้งสองครั้งพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยใช้เครื่องหมายแพร่หลายก่อนโจทก์จดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ "TOT" เพื่อการติดต่อกับหน่วยงานต่างประเทศเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้คำดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายทั่วไป ขณะที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้คำว่า "TOT" จนเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป และไม่ปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยไม่สุจริตเช่นใดด้วย การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้า ในภายหลัง จึงไม่เป็นสาเหตุที่จะทำให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กลับเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต และเป็นการมุ่งหวังให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งในทำนองว่า จำเลยที่ 1 เป็นหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจที่รัฐมีนโยบายให้จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย ได้ประกอบกิจการโทรศัพท์ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2497 อันเป็นเหตุให้รับฟังว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อรัฐประศาสโนบาย โดยไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ขัดต่อรัฐประศาสโนบายในประเด็นอื่นอย่างไร จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่ หากมีลักษณะคล้ายกับที่เปิดเผยก่อนยื่นคำขอ ย่อมถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์
แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรมีลักษณะที่แท้จริงเป็นหลอดดูดชนิดยืดหดได้ โดยมีส่วนปลายตัดเฉียงเช่นเดียวกับหลอดดูด ซึ่งโจทก์เป็นผู้ผลิต แสดงว่าลักษณะภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยมีความคล้ายกันกับของโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าหลอดดูดของจำเลยไม่มีลักษณะเป็นหลอดหลบซ่อนอยู่ข้างในอย่างหลอดดูดของโจทก์ หากมีลักษณะเหมือนพู่กันทาปากซึ่งเวลาใช้งานจะถอดส่วนหัวนำมาเสียบด้านล่างก็ตาม แต่การพิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์วัตถุมุ่งเน้นที่รูปทรงหรือแบบที่ปรากฏให้เห็นภายนอก โดยไม่คำนึงถึงวิธีการใช้หรือเทคนิคการใช้งานของวัตถุ ซึ่งแบบผลิตภัณฑ์วัตถุที่จะถือว่ามีความใหม่นั้นต้องมีความแตกต่างชัดเจนมากเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ เมื่อปรากฏว่าหลอดดูดของจำเลยตามภาพที่ 1 ถึงภาพที่ 6 มีรูปทรงภายนอกคล้ายกันกับหลอดดูดของโจทก์ ทั้งยังมีรูปทรงภายนอกคล้ายกับภาพหลอดดูดที่ได้มีการขอจดสิทธิบัตรไว้นอกราชอาณาจักรอีกหลายประเทศ แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรจึงมีลักษณะคล้ายกับหลอดดูดที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ข้ออ้างเกี่ยวกับลักษณะหลอดดูดของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงเทคนิคการใช้งานไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการตรวจสอบความใหม่ในกรณีนี้
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ต้องใหม่และไม่เคยปรากฏใช้มาก่อน การออกสิทธิบัตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และ (2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมการประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มาตรา 6 ประกอบมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันให้หมายความไว้ว่าหมายถึงการประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้วมาตรา 6 วรรคสอง ได้ให้ความหมายรวมถึงงานต่างๆไว้หลายประการ ประการหนึ่ง หมายความรวมถึงการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 458 ของจำเลยที่ 1 เป็นการประดิษฐ์ที่มีและใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 6 วรรคสอง การประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับอนุสิทธิบัตรได้ตามมาตรา 65 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 อนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นอนุสิทธิบัตรที่ออกโดยไม่ชอบด้วย มาตรา 65 ทวิ ถือเป็นอนุสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชั่วคราวกับการบังคับคดี: เจ้าหนี้อื่นต้องดำเนินการยึดทรัพย์จากศาลที่ออกหมายยึดชั่วคราว
การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ซึ่งเป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจึงต้องไปดำเนินการยึดทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวนั้นจะมายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้นชั่วคราวเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้ก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7971/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิดและพยานหลักฐานต้องสอดคล้องกัน
หนังสือขอแจ้งความร้องทุกข์กรณีมีการละเมิดลิขสิทธิ์มีข้อความปรากฏอยู่ว่า "... บริษัท อ. ได้รับความเสียหาย โดยปรากฏพบผู้กระทำความผิดดังกล่าว ณ สถานที่ดังนี้... (7) อำเภอกุยบุรี... จึงขอร้องทุกข์ต่อท่านเพื่อโปรดจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำการสอบสวน ตรวจค้น จับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย..." ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมมีความประสงค์ที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสอง
of 78