พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายรับผิดชอบหนี้ซื้อขาย แม้รับเงินจากผู้ซื้อโดยตรง การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยส่ง ณ สถานที่ที่จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880-4881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมเครื่องหมายการค้า: ศาลพิพากษาชอบธรรมตามอำนาจและข้อตกลง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวร่วมกัน เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 358909, 365222 และ 365223 และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 437187, 437188 และ 437189 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่โอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 50
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 358909, 365222 และ 365223 และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 437187, 437188 และ 437189 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่โอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวม หากแตกต่างกันชัดเจนย่อมไม่ทำให้สับสน
การพิจารณาในเรื่องความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าพิพาท เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วม มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างกัน คือเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเฉพาะคำภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายของจำเลยร่วมมีทั้งคำภาษาอังกฤษและคำภาษาไทย แม้คำว่า 'EXTRA' ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเป็นคำเดียวกับคำว่า 'EXTRA' ซึ่งเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วม แต่คำดังกล่าวเป็นคำธรรมดาที่แปลว่า 'พิเศษ' จึงเป็นคำธรรมดา มิใช่คำประดิษฐ์ แต่เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายอมให้จำเลยร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'EXTRA' เนื่องจากจำเลยร่วมใช้คำดังกล่าวร่วมกับคำว่า 'NESCAFE' จนกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและได้ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า 'EXTRA' ร่วมกับคำว่า 'FREEZE' และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์สละสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้คำว่า 'EXTRA' คำดังกล่าวจึงมิใช่สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ที่คำว่า 'FREEZE' เมื่อพิจารณารูปลักษณะอื่น ๆ ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และจำเลยร่วมประกอบกันแล้ว เครื่องหมายทั้งสองจึงมีความแตกต่างกัน ไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรยาจากสมุนไพร กวาวเครือ ที่ไม่เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องการผลิตทางอุตสาหกรรม ไม่เป็นประโยชน์ทางอุตสาหกรรม คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์หลังหมดอายุสัญญาสิทธิการใช้งาน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เผยแพร่งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้ถึงวันที่ 20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวิดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง มิใช่เป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์หลังหมดอายุสติกเกอร์อนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
สติกเกอร์ที่ติดอยู่ที่ตู้เพลงจำเลยหมดอายุเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวีดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิอยู่ก่อนและสติกเกอร์ขาดอายุการใช้งานจึงเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: สัญญา, อายุความ, ฟ้องแย้ง, ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยกล่าวอ้างว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนย่อมเป็นโมฆะเช่นนี้ ปัญหาว่าโจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาได้หรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถานก็ย่อมกระทำได้ แต่ประเด็นเรื่องอายุความและฟ้องแย้งที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การมาด้วยนั้น เห็นว่า วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ และวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องซึ่งจำเลยทั้งสองก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาตั้งแต่ต้น หากจำเลยทั้งสองมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความย่อมกระทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน หาใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานแต่อย่างใดไม่ ทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ปัญหาความสมบูรณ์ของสัญญาและการสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนที่ว่าสัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะนั้น เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองให้ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้หรือไม่จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน ก็ย่อมกระทำได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: สัญญาอนุญาตใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า และอายุความ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การในส่วนที่ว่า สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามความผูกพันทางสัญญา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยอ้างว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า ซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนยื่นหลังจากวันชี้สองสถานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา และมีสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามข้อต่อสู้นี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของข้อ 2 ว่า "และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด" โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบถึงเรื่องความรับผิดในกรณีที่สัญญาจะมีผลผูกพันต่อกันหรือไม่อยู่แล้ว ไม่มีเหตุสมควรที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนนี้
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องโจทก์ จำเลยก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาแต่ต้น หากจำเลยมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความ ย่อมสามารถจะทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกันมิใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำให้การส่วนในนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา และมีสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามข้อต่อสู้นี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของข้อ 2 ว่า "และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด" โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบถึงเรื่องความรับผิดในกรณีที่สัญญาจะมีผลผูกพันต่อกันหรือไม่อยู่แล้ว ไม่มีเหตุสมควรที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนนี้
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องโจทก์ จำเลยก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาแต่ต้น หากจำเลยมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความ ย่อมสามารถจะทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกันมิใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำให้การส่วนในนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเก็บรักษาทรัพย์จากการบังคับคดี: การพิจารณาหนี้บุริมสิทธิและการงดจ่ายเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับเงินจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โดยอ้างว่าเป็นหนี้บุริมสิทธิในค่าเก็บรักษาทรัพย์ระหว่างบังคับคดีซึ่งผู้ร้องและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมในอีกคดีหนึ่งแล้ว แม้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้ร้องและจำเลยทำกันดังกล่าวจะไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ แต่หากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้บุริมสิทธิจริงตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจากการขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้สามัญ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้งดจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาย่อมไม่ครอบคลุมถึงเงินจำนวนนี้ เพราะมิใช่เงินจำนวนที่ศาลได้มีคำสั่งในข้อพิพาทเดิมระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ในบังคับของคำสั่งศาลที่ให้งดจ่ายเงินโดยมิได้วินิจฉัยในปัญหาเรื่องหนี้บุริมสิทธิตามคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ