พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างประเภท แม้ชื่อคล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์โดยผลของพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้แก่การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถึงแม้ว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและมีคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยในฐานะที่เป็นกรมซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติงานในเรื่องนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายบริการ: การร่วมลงทุน, การออกแบบ, และการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์จ้าง ส. ออกแบบเครื่องหมายบริการพิพาทแทนบริษัท ฟ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 2 ในบริษัท ฟ. บริษัท ฟ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจึงมีสิทธิในเครื่องหมายบริการพิพาท แม้โจทก์จะเป็นผู้คิดค้นคำว่า LA FIESTA อ่านว่า ลา เฟียสต้า แต่เป็นการกระทำในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 2 ในบริษัท ฟ. และการจ้างออกแบบเครื่องหมายบริการพิพาทก็เป็นการกระทำแทนบริษัท ฟ. บริษัท ฟ. จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการพิพาทที่แท้จริง การที่ ป. ได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทและต่อมาโอนให้แก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ร่วมกับพวกนำเครื่องหมายบริการพิพาทไปขอจดทะเบียนแล้วโอนมาเป็นของโจทก์เพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การชักจูงให้กระทำผิด
จำเลยไม่มีเจตนาแต่แรกที่จะขายแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย แต่เป็นกรณีที่ฝ่ายผู้เสียหายได้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์โดยผู้เสียหายที่ชักจูงให้เกิดความผิด อำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์ไม่ชอบ
การที่ผู้เสียหายได้ใช้ให้ อ. สั่งให้จำเลยซื้อแผ่นซีดีละเมิดสิขสิทธิ์ของกลางจากตลาดนัดมาให้เพื่อที่จะได้หลักฐานในการกระทำความผิด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าด้วยความสมัครใจของตนเองมาก่อนและพร้อมที่จะจัดหาแผ่นซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาได้ทันที นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่ทราบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในคดีนี้ และไม่ทราบเรื่องที่ อ. ได้ติดต่อขอซื้อแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจากจำเลยไว้ก่อน แต่เป็นการที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง แล้วแจ้งความร้องทุกข์เพื่อนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่ผู้เสียหายได้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และไม่อาจถือว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้เสียหายต้องแสดงเจตนาการกระทำความผิดของผู้กระทำ การชักจูงให้กระทำความผิดทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
พยานหลักฐานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะขายแผ่นซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีเป็นเรื่องที่ผู้แทนผู้เสียหายชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำผิด จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: โอนสิทธิโดยไม่ชอบ เจ้าของสิทธิที่แท้จริงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้จนกว่าจะมีสิทธิบัตร
ส. เป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐ สิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งได้ประดิษฐ์ขึ้นในฐานะข้าราชการมหาวิทยาลัยดังกล่าวจึงมิใช่ของตน เมื่อ ส. โอนสิทธิไปให้โจทก์ โจทก์นั้นจึงไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรได้ ประกอบกับยังมีกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับผู้มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์พิพาทที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายการละเมิดสิทธิบัตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว
การฟ้องเรียกค่าเสียหายการละเมิดสิทธิบัตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: อำนาจฟ้อง, สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว.ยื่นฟ้องต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ หาได้ระบุมอบอำนาจให้ ว.ฟ้องผู้คัดค้านเป็นการเฉพาะคดีแต่ประการใดไม่ ว.จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้รับมอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าผู้คัดค้านก็ได้มีคำชี้ขาดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อ 5 (1) โดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามความจำเป็นในการยกเลิกทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือโอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วแต่ผู้คัดค้านจะเลือก อันเป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาหรืองดเว้นจากการกระทำตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่ข้อพิพาทที่ไม่อาจระงับได้โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน ข้อ 31, 32 ได้กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไว้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านจึงต้องตระหนักและผูกพันตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับที่ใช้แก่คู่สัญญาทั่วไปที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกันโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศหรือสัญชาติของคู่สัญญา
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าผู้คัดค้านก็ได้มีคำชี้ขาดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อ 5 (1) โดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามความจำเป็นในการยกเลิกทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือโอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วแต่ผู้คัดค้านจะเลือก อันเป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาหรืองดเว้นจากการกระทำตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่ข้อพิพาทที่ไม่อาจระงับได้โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน ข้อ 31, 32 ได้กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไว้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านจึงต้องตระหนักและผูกพันตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับที่ใช้แก่คู่สัญญาทั่วไปที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกันโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศหรือสัญชาติของคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีขนส่งระหว่างประเทศ: ศาลไทยมีอำนาจพิจารณา แม้มีข้อตกลงระบุฟ้องที่ฮ่องกง
แม้ข้อตกลงในใบตราส่งจะระบุให้นำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นฟ้องต่อศาลเมืองฮ่องกง แต่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และมาตรา 7 (5) ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายหรือสูญหายในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 มูลคดีจึงเกิดจากสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำในราชอาณาจักรไทย กฎหมายที่ใช้บังคับคือกฎหมายไทย พยานหลักฐานต่าง ๆ ก็อยู่ในเขตอำนาจศาลไทยเป็นส่วนใหญ่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจย่อมพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วย หาจำต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลเมืองฮ่องกงแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่
กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งคือบริษัท อ. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลดังกล่าวจึงต้องเป็น พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งคือบริษัท อ. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลดังกล่าวจึงต้องเป็น พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรอง: การให้เช่าวีดีโอซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ไม่มีข้อห้าม ก็ถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรองโดยนำงานที่ทำขึ้นละเมิดลิขสิทธิ์ออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) ซึ่งมีองค์ประกอบความผิด คือ
(1) มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 31 (1) ถึง (4) ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่า
(2) ต้องเป็นการกระทำต่องานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยให้เช่าหรือเสนอให้เช่าวีดีโอซีดีภาพยนตร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ทำขึ้นก็ถือว่าครบองค์ประกอบแล้ว เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทำซึ่งวีดีโอซีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 (1) แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 31
(3) ผู้กระทำรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยจะรู้หรือไม่อย่างไรเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
(4) เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า การนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โจทก์จึงบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (3) บัญญัติให้สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานของโสตทัศนวัสดุและภาพยนตร์ และมาตรา 28 (3) บัญญัติว่า การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เห็นได้ว่า บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานแม้จะเป็นของแท้หรือชอบด้วยกฎหมายยังต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ดังนั้น เมื่อวีดีโอซีดีของกลางเป็นของที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ยังนำออกให้เช่าเพื่อหากำไรในทางการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
(1) มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 31 (1) ถึง (4) ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่า
(2) ต้องเป็นการกระทำต่องานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยให้เช่าหรือเสนอให้เช่าวีดีโอซีดีภาพยนตร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ทำขึ้นก็ถือว่าครบองค์ประกอบแล้ว เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทำซึ่งวีดีโอซีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 (1) แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 31
(3) ผู้กระทำรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยจะรู้หรือไม่อย่างไรเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
(4) เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า การนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โจทก์จึงบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (3) บัญญัติให้สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานของโสตทัศนวัสดุและภาพยนตร์ และมาตรา 28 (3) บัญญัติว่า การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เห็นได้ว่า บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานแม้จะเป็นของแท้หรือชอบด้วยกฎหมายยังต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ดังนั้น เมื่อวีดีโอซีดีของกลางเป็นของที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ยังนำออกให้เช่าเพื่อหากำไรในทางการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคุ้มครองชั่วคราวเพิกถอนสิทธิบัตร: ศาลไม่อนุญาตหากกระทบสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตรและเป็นบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ผานจานสำหรับรถไถนาที่จำเลยออกให้บริษัท ด. และโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ผลิตและจัดจำหน่ายผานจานโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด ดังนี้ การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์เนื่องจากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างพิจารณาคดี แต่ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือนร้อนคือบริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ทั้งสี่ให้กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีหาได้ไม่ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าเป็นเพราะจำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวอ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือห้ามโจทก์ทั้งสี่นั้น การที่จำเลยออกสิทธิบัตรเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งสี่มิได้อ้างว่าจำเลยร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามโจทก์ซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด และในเบื้องต้นบริษัท ด. เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ ขาย เสนอขาย ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 63 ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ คำร้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำร้องโจทก์ทั้งสี่โดยมิได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว