พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคุ้มครองชั่วคราวเพิกถอนสิทธิบัตร: ศาลไม่อนุญาตหากกระทบสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตรและเป็นบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ผานจานสำหรับรถไถนาที่จำเลยออกให้บริษัท ด. และโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ผลิตและจัดจำหน่ายผานจานโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด ดังนี้ การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์เนื่องจากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างพิจารณาคดี แต่ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือนร้อนคือบริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ทั้งสี่ให้กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีหาได้ไม่ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าเป็นเพราะจำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวอ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือห้ามโจทก์ทั้งสี่นั้น การที่จำเลยออกสิทธิบัตรเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งสี่มิได้อ้างว่าจำเลยร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามโจทก์ซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด และในเบื้องต้นบริษัท ด. เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ ขาย เสนอขาย ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 63 ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ คำร้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำร้องโจทก์ทั้งสี่โดยมิได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง การลวงขาย และการใช้ชื่อทางการค้าโดยไม่ชอบ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเลียนแบบเครื่องหมายการค้าตราเด็กสมบูรณ์และคำว่า หยั่นหว่อหยุ่น ของโจทก์ โดยนำเอารูปรอยประดิษฐ์ตลอดจนสีสันในฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปดัดแปลงเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเพื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันทำให้สาธารณชนผู้บริโภคเกิดความสับสนในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ดังนี้ ตามฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการลวงขายนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ เพียงแต่คล้ายกันเช่นอย่างที่ปรากฏในคดีนี้ก็ถือว่าเป็นการลวงขายได้แล้ว ที่สำคัญก็คือเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ฉะนั้น แม้ภาคส่วนอื่นๆ ในฉลากที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้ตามมาตรา 46 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บค่าตอบแทน ไม่ใช่ผู้เสียหาย
โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ป. ให้จัดเก็บค่าตอบแทนการนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผู้ที่ประสงค์จะนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ออกเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยนำเอาเพลง "รักสาวผมแดง" อันเป็นงานดนตรีกรรมซึ่ง ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ออกให้ปรากฏซึ่งดนตรีและคำร้องที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ภายในห้องคาราโอเกะในร้าน ป. กุ้งเผาของจำเลยเพื่อให้บริการอันเป็นการนำงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น จากการบรรยายฟ้องและหนังสือมอบอำนาจเห็นได้ชัดว่าโจทก์เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้สิทธิในลิขสิทธิ์และดำเนินคดีแก่ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมเพลง "รักสาวผมแดง" หรือในงานโสตทัศนวัสดุ ที่บันทึกเสียงดนตรีและคำร้องเพลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามตนเอง ทั้งการกระทำของจำเลยที่นำเพลงดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้าหากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอสิทธิบัตร: การคุ้มครองทั้งกรรมวิธีและผลิตภัณฑ์ภายใต้กฎหมายและอนุสัญญา TRIPs
เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ แล้ว ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ย่อมอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้หากการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่เป็นการเพิ่มเติมสาระสำคัญของการประดิษฐ์ โดยขอก่อนวันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว ย่อมอาจขออนุญาตต่ออธิบดีในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ข้อ 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอที่อ้างว่าเป็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม และหากอธิบดีไม่อนุญาต คำสั่งของอธิบดีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้น และผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คดีนี้โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้ แต่โจทก์ไม่นำคดีมาฟ้องต่อศาลกลับเลือกดำเนินการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับใหม่ ซึ่งมีข้อถือสิทธิที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากตามคำขอรับสิทธิบัตรฉบับเดิม โจทก์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยขอถือสิทธิในกรรมวิธีสำหรับเตรียมเกลือเบสซิลเลทของแอมโลไดปีน ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ เป็นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่ขอถือสิทธิในผลิตภัณฑ์เกลือเบสซิลเลทของแอมโลไดปีน กระบวนการในการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่จึงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทั้งหมด
บทบัญญัติข้อ 70 (7) ของความตกลงทริปส์เพียงแต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองในการประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แต่เดิม แม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติใดๆ ของความตกลงทริปส์ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามความตกลงทริปส์นับแต่เมื่อใดก็ตาม การที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 20 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญและมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)ฯ ไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงหาได้มีข้อความใดขัดหรือแย้งกับความตกลงทริปส์
บทบัญญัติข้อ 70 (7) ของความตกลงทริปส์เพียงแต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองในการประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แต่เดิม แม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติใดๆ ของความตกลงทริปส์ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามความตกลงทริปส์นับแต่เมื่อใดก็ตาม การที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 20 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญและมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)ฯ ไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงหาได้มีข้อความใดขัดหรือแย้งกับความตกลงทริปส์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำขอสิทธิบัตรและการยื่นคำขอใหม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โจทก์สามารถดำเนินการตามข้อ 22 ของกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว โจทก์อาจขออนุญาตต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ในคดีนี้ โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2535 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลใด กรณีหาใช่ว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใหม่ซึ่งมีข้อถือสิทธิต่างไปจากเดิม กระบวนการตรวจสอบจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายทั้งหมด ข้ออ้างที่ว่าการขอรับสิทธิบัตรใหม่เป็นการขอเพื่อเพิ่มเติมคำขอเดิมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง แม้สินค้าต่างชนิดกัน หากทำให้สาธารณชนสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามภาพถ่ายรวม 10 รูปมีทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยไม่มีตัวอักษรอยู่ด้วย และเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยมีอักษรไทยคำว่า "ตราเสือ" และอักษรโรมันคำว่า "TIGER" อยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 10 เครื่องหมายจึงมีลักษณะเด่นอยู่ที่ภาพเสือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" เพื่อแสดงว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า "ไทเกอร์" แม้จะไม่มีภาพเสือ หรือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" อยู่ด้วย แต่คำว่า "ไทเกอร์" ก็เป็นคำอ่านในภาษาอังกฤษของคำว่า "TIGER" จึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง-อายุความ-ตัวแทน: กรณีฟ้องซ้ำคดีเดิม & ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องตัวแทน
ศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยื่นฟ้องขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุด ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเช่นกัน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 เพราะไม่ทำให้ผลคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการหักหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามประกาศธนาคาร
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทหักกับบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่กับโจทก์เพื่อชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีท อันเป็นการให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะดำเนินการตามข้อตกลงที่ระบุไว้โดยไม่จำต้องขอรับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีก ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงที่บังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติเสมอไป การที่โจทก์มิได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์เป็นจำนวนสูงเกือบเต็มวงเงินที่จะเบิกเกินบัญชีได้ ทั้งนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 หากโจทก์นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้งสองรายการไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระหนี้สินมากขึ้น ประกอบกับก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเบิก ดังนี้กรณีที่โจทก์มิได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักทอนในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของสิทธิบัตร
บริษัทโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสิทธิบัตรดังกล่าวจึงย่อมได้รับความคุ้มครองเฉพาะภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่มีกฎหมายยอมรับบังคับให้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรดังกล่าวจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรหรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ดังกล่าวไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้นโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบด้วยมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 85
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 84