พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามสัญญา แม้ผู้ว่าจ้างรับมอบเรือแล้ว คดีไม่ขาดอายุความ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการและโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้วก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไรเหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็น การกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาทซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขภายใน 30 วันจำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600,601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างก่อสร้างและขอบเขตความยินยอมของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า อาคารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบให้โจทก์เสร็จแล้วเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่โจทก์รับมอบงาน โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่จัดการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เป็นที่เรียบร้อย โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารได้โดยสมบูรณ์ โจทก์จึงได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างที่โจทก์ได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อความชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 เพราะโจทก์ฟ้องบังคับตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาต่อกันอยู่อีก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ่ายค่าจ้างที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ณ. ไป จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาได้การฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผลเพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง, สัญญาจ้างซ่อม, การปฏิบัติผิดสัญญา, การหักลดค่าจ้าง, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 คู่ความ มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและ มีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลย ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความ ของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส. มีกรรมการ ของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้อ. เป็นทนายความโดย ส. เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่อง ความสามารถ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้อง ดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลัง ไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกพร่อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ1 ปี ไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความสามารถของจำเลย และอายุความฟ้องแย้งจากการผิดสัญญา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส.กรรมการของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายความโดย ส.เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างต่อความเสียหายหลังส่งมอบงานแต่ละงวด
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะ ที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6 นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆ รวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างหลังส่งมอบงานงวดแรกก่อนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ และผลของการเกิดเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4 ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆรวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: ขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่องหลัง 1 ปี และการบังคับใช้มาตรา 600
สัญญาก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กบนพื้นดินระบุไว้ว่าถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลา1 ปี ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย หมายความว่าแม้จะเลยกำหนดระยะเวลา1 ปีแล้ว หากมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันส่งมอบงานที่จ้าง ผู้รับจ้างก็ยังต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดกับงานที่จ้างนั้นตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบงานชำรุดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชา เป็นเหตุให้รั้วพังล้มลง แม้โจทก์จะอ้างว่า จำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้น โจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจ้างต้องรับผิดจากงานชำรุดบกพร่อง แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเป็นเหตุให้รั้วพังล้มลงแม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้นโจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างจากงานชำรุดบกพร่อง แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้าง
โจทก์รับจ้างสร้างรั้วแต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเป็นเหตุให้รั้วพังล้มลงแม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้นโจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา600โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ.