พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องหนี้สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราประกาศ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ต้องผูกพันโดยตรงต่อผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับรวมทั้งเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อนจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) การฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของสินค้าที่ถูกยึดหน่วงและขายทอดตลาดตามสัญญารับขนของทางทะเล
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้ามีหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายที่จะต้องส่งสินค้าให้แก่บริษัท ค. ผู้ซื้อที่เมืองดีทรอยท์ประเทศสหรัฐอเมริกา และโจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่จำเลยทั้งสองไม่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญา กลับยึดหน่วงสินค้าไว้แล้วนำไปขายเสีย ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้ส่งของซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ขนส่งย่อมมีสิทธิฟ้องร้องให้ผู้ขนส่งรับผิดต่อโจทก์ได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์จัดส่งสินค้าพิพาทลงเรือแล้ว โจทก์ได้นำใบตราส่งไปส่งมอบให้ธนาคารเพื่อขอรับเงินค่าสินค้าที่ผู้สั่งซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับทางธนาคารดังกล่าว แต่เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อจึงอายัดเงินค่าสินค้า โจทก์จึงยังไม่ได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร และธนาคารได้คืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ โจทก์ยังเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทดังกล่าวทั้งเมื่อบริษัท ค. ผู้ซื้อสินค้าพิพาทจากโจทก์ไม่ได้รับสินค้า บริษัทดังกล่าวก็ไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์ และไม่มีส่วนได้เสียในสินค้าเพราะไม่ใช่เจ้าของ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายและผู้ส่งย่อมได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมขยายเวลาไม่ถือเป็นการสละอายุความ และการคำนวณความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.รับขน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าทุเรียน โดยทั้งสองฝ่ายคาดว่าสินค้าจะถึงดินแดนไต้หวันไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2543 แต่เรือที่ใช้ขนส่งสินค้าเกิดขัดข้องกลางทางไม่สามารถเดินทางต่อได้ จึงขนส่งสินค้าพิพาทกลับและมีการสำรวจความเสียหายเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 เจรจาเรื่องค่าเสียหายกันเรื่อยมาโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน หนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเอกสารหมาย จ. 7 มีเนื้อความว่า " ยินยอมให้ขยายเวลาออกไป 3 เดือน จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2544" จากพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าหนังสือของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ. 7 ทำขึ้นก่อนระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าพิพาทสิ้นสุดลง โดยทำขึ้นเพื่อให้มีผลบังคับผูกพันกันได้จริง ดังนั้น การตีความการแสดงเจตนานั้นตาม ป.พ.พ มาตรา 171 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร จึงแปลเจตนาอันแท้จริงได้ว่าประสงค์จะให้มีผลเป็นหนังสือยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2544 และความยินยอมนี้ใช้บังคับกันได้ตาม พ.ร.บ. รับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 47 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวเนื่องและการแยกฟ้องคดี: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณาเฉพาะความผิดลิขสิทธิ์และศุลกากร/ยาสูบแยกจากกัน
เมื่อลักษณะของการกระทำความผิดตามบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบและแผ่นดิจิตอลวีดีโอดีสไม่มีลักษณะของการกระทำความผิดซึ่งเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกันแต่อย่างใด โดยแยกกันได้เด็ดขาดทั้งการกระทำและบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นความผิด ลำพังแต่เพียงผู้กระทำความผิดทุกข้อหาเป็นบุคคลเดียวกัน กระทำในขณะเดียวกันและในสถานที่เกิดเหตุเดียวกันเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวเนื่องกันตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 36 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 นั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การแยกฟ้องคดีความผิดต่างประเภท แม้ผู้กระทำผิดและสถานที่เกิดเหตุเดียวกัน
คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบระบุว่าเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ และ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นคนละชนิดกับแผ่นดิจิตอลวีดีโอดิสในความผิดต่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ และไม่มีลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกันแยกกันได้เด็ดขาด ลำพังแต่ผู้กระทำความผิดทุกข้อหาเป็นบุคคลเดียวกัน กระทำในขณะเดียวกันและในสถานที่เดียวกันเท่านั้นยังไม่ถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวเนื่องกันตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 36 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ และ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ใหม่ต้องไม่เคยปรากฏหรือใช้แพร่หลายมาก่อน ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์การใช้งานก่อนยื่นคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยโดยกล่าวอ้างว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ใหม่เนื่องจากเหมือนกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ และเหมือนกับการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ที่โจทก์ได้นำออกจำหน่ายอยู่ก่อนแล้วก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ในสาระสำคัญ การประดิษฐ์ที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรจึงไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้วตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสอง (3)
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 เหมือนกับการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลย แต่โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้โฆษณาจำหน่ายการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ในนิตยสารก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร หาใช่โฆษณาจำหน่ายการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ไม่ ทั้งการโฆษณาดังกล่าวก็ไม่มีผลทำให้การประดิษฐ์ที่โฆษณาเป็นการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า โจทก์นำการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ออกจำหน่ายโดยแพร่หลายก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร อันจะทำให้วัตถุพยานหมาย จ. 28 เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสอง (1) การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ (1)
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 เหมือนกับการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลย แต่โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้โฆษณาจำหน่ายการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ในนิตยสารก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร หาใช่โฆษณาจำหน่ายการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ไม่ ทั้งการโฆษณาดังกล่าวก็ไม่มีผลทำให้การประดิษฐ์ที่โฆษณาเป็นการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า โจทก์นำการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ออกจำหน่ายโดยแพร่หลายก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร อันจะทำให้วัตถุพยานหมาย จ. 28 เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสอง (1) การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันจนสับสน แม้มีรูปถ้วยและตัวอักษร ศาลยืนยกฟ้อง
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างประกอบด้วยรูปถ้วยและตัวอักษร แต่ลักษณะรูปถ้วยแตกต่างกัน กล่าวคือ รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนหูมีลักษณะโปร่งเป็นรูปโค้งงอจับได้ ขาของถ้วยเป็นแนวตรง และฐานของถ้วยมีลักษณะเป็นรูปวงกลม แต่รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนหูจะมีลักษณะทึบคล้ายสามเหลี่ยม ขาของถ้วยสั้นและฐานของถ้วยมีขนาดใหญ่ แตกต่างกับของโจทก์ที่ฐานของถ้วยมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้เมื่อดูในภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรโรมันคำว่า Golden Cup เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่ารูปถ้วย ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเน้นที่รูปถ้วยมากกว่าตัวอักษรเพราะรูปถ้วยมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่าตัวอักษร ตัวอักษร A.P.P. ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับคำว่า "Golden Cup" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งการเขียนและการอ่านออกเสียง คำว่า Golden Cup แปลว่า ถ้วยทอง ในขณะที่ตัวอักษร A.P.P. แปลความหมายไม่ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิได้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ - การแจ้งหนังสือ - ขอบเขตการวินิจฉัย - ค่าทนายความ
การยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีการส่งหนังสือบอกกล่าวแจ้งคำชี้ขาดไปถึงผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 30 มิใช่นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาด
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จำนวน 1,069,967.49 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ ส่วนอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 จำนวน 1,542,263.52 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ เหตุที่จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดวินิจฉัยมากกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ร้องเรียกร้องเนื่องจากการคำนวณดอกเบี้ยถึงระยะเวลาชำระต่างกัน แต่จำนวนดอกเบี้ยที่ผู้คัดค้านจะต้องชำระให้แก่ผู้ร้องทั้งหมดจะเท่ากันคือคิดตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านผิดนัดจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเสร็จ จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดระบุไว้ในสัญญากู้เงินอยู่แล้ว แม้ผู้ร้องมิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้านมาในคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง อนุญาโตตุลาการก็กำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้ได้ไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ส่วนคำชี้ขาดวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก็อยู่ในขอบเขตของคำร้องเสนอข้อพิพาท คำชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเช่นกัน กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 34 (4)
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จำนวน 1,069,967.49 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ ส่วนอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 จำนวน 1,542,263.52 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ เหตุที่จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดวินิจฉัยมากกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ร้องเรียกร้องเนื่องจากการคำนวณดอกเบี้ยถึงระยะเวลาชำระต่างกัน แต่จำนวนดอกเบี้ยที่ผู้คัดค้านจะต้องชำระให้แก่ผู้ร้องทั้งหมดจะเท่ากันคือคิดตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านผิดนัดจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเสร็จ จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดระบุไว้ในสัญญากู้เงินอยู่แล้ว แม้ผู้ร้องมิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้านมาในคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง อนุญาโตตุลาการก็กำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้ได้ไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ส่วนคำชี้ขาดวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก็อยู่ในขอบเขตของคำร้องเสนอข้อพิพาท คำชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเช่นกัน กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 34 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญารับขนทางอากาศ: การตกลงไม่แสดงมูลค่าสินค้าถือเป็นการยอมรับข้อจำกัด
ด้านหลังใบรับขนทางอากาศมีข้อความระบุจำนวนจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ทั้งด้านหน้าใบรับขนทางอากาศก็ยังทำช่องการแสดงมูลค่าสำหรับการขนส่งไว้เพื่อให้มีการกรอกข้อความได้ ซึ่งก็ปรากฏว่ามีข้อความกรอกไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า N.V.D. หรือ non value declare หมายความว่า ผู้ส่งสินค้าเลือกที่จะไม่แสดงมูลค่าเพื่อการขนส่ง ซึ่งเท่ากับยอมรับในจำนวนจำกัดความรับผิดดังกล่าว ประกอบกับการที่บริษัท อ. เป็นตัวแทนผู้ส่งสินค้าและเป็นตัวแทนออกใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย ล. 1 โดยมีข้อความดังกล่าวอยู่และอยู่ในความรู้เห็นเป็นอย่างดีของบริษัทนี้ ย่อมแสดงว่าบริษัทดังกล่าวกระทำการในฐานะตัวแทนผู้ส่งสินค้าได้ตกลงในเรื่องจำนวนจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่อยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย ล. 1 โดยชัดแจ้ง ซึ่งมีผลผูกพันบริษัท ม. ผู้ส่งสินค้า จึงถือได้ว่าผู้ส่งสินค้าได้ตกลงในจำนวนจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งโดยชัดแจ้งแล้วเช่นกัน ข้อจำกัดความรับผิดอันเป็นข้อตกลงในสัญญารับขนทางอากาศรายนี้ย่อมมีผลผูกพันโดยสมบูรณ์ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามข้อจำกัดความรับผิดนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการขนส่งทางทะเล ความเสียหายสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อเหตุแห่งการเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดในการเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824