คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัฒน์ วรรธนะหทัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การ และการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่น ๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในคดีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับคดีนี้ เนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10156/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าในสัญญาประกันภัยและการจำกัดความรับผิดตามใบรับขน
แม้ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1 เบิกความว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสาขาในประเทศราชอาณาจักรสวีเดน ขั้นตอนในการดำเนินการขนส่งจะต้องอาศัย Agent หรือผู้รับขนส่งที่ประเทศต้นทาง ตามใบวางบิลของจำเลยที่ 2 มีการหักส่วนของกำไรที่เป็นของจำเลยที่ 1 ออกด้วย จำเลยที่ 1 มีกำไรจากค่าขนส่งส่วนหนึ่ง ค่าธรรมเนียมใบสั่งปล่อยสินค้า และค่าเงินที่ผันผวน เมื่อตรวจดูการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงานฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ขายระวางกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลประโยชน์ในส่วนที่เป็นค่าระวาง (Air Freight) ด้วย เมื่อ ม. ติดต่อว่าจ้างจำเลยที่ 1 เพื่อการขนส่งสินค้าพิพาทตามภาระที่เกิดจากเงื่อนไขการส่งมอบแบบ FCA และต่อมาเมื่อการขนส่งเสร็จสิ้นจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนส่วนหนึ่งจากค่าระวางทั้งหมดที่เกิดขึ้นดังกล่าวจาก ม. แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทเอง กรณีก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาขนส่งกับ ม. ผู้ส่งที่แท้จริงตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 610 แล้ว หากสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามมาตรา 616 และเมื่อจำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งอื่นที่ต้องรับผิดด้วยหากว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างการขนส่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 617 และ 618
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าพิพาทแต่จำเลยที่ 2 มอบหมายต่อไปให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำเลยที่ 3 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งอื่นในการขนส่งที่มีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความหมายในมาตรา 617 และ 618 แม้ใบรับขนของทางอากาศจะไม่มีชื่อของ ม. ปรากฏอยู่ แต่ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทที่แท้จริง และถ้าข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งโดยจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมมีความรับผิดต่อ ม. ผู้ซื้อในเงื่อนไขส่งมอบแบบ FCA นอกจากนั้นตามใบรับขนของทางอากาศของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของ แม้จะระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่ง แต่ก็ระบุในช่อง Nature and Quantity of Goods ว่า CONSOLIDATED CARGO AS PER ATTACHED MANIFEST โดยมี Cargo Manifest แนบอยู่ในช่อง House Airway Bill/Consignee ระบุชื่อ ม. เป็นผู้รับตราส่งไว้ด้วย เช่นนี้ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ประกอบกิจการขนส่งย่อมรู้และเข้าใจอยู่แล้วว่าผู้รับสินค้าพิพาทที่ปลายทางที่แท้จริงคือ ม. ผู้รับตราส่งที่แท้จริงตามมาตรา 627 เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยแล้วย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยที่ 3 ได้
ตามใบรับขนของทางอากาศที่จำเลยที่ 3 ออกด้านหน้ามีช่องระบุข้อความให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้ส่งสามารถกำหนดเพิ่มจำนวนจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้มากกว่าที่ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดไว้ ด้วยการชำระค่าระวางขนส่งเพิ่มเติมแก่ผู้ขนส่ง และที่ด้านหลังมีข้อความพิมพ์ไว้ ซึ่งมี Notice Concerning Carrier's Limitation of Liability กำหนดจำนวนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3 ไว้ที่ 19 SDR ต่อน้ำหนักสินค้าที่เสียหายหรือสูญหาย 1 กิโลกรัม เมื่อด้านหน้าของใบรับขนของทางอากาศไม่ปรากฏว่ามีการระบุมูลค่าของสินค้าพิพาทไว้ในช่อง Value for Carriage ดังนี้ จำเลยที่ 3 ย่อมจำกัดความรับผิดไว้ได้ตามที่ปรากฏหลังใบรับขนของทางอากาศ
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างการดูแลของจำเลยทั้งสาม และโจทก์จ่ายเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9971/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายบริการ "SINGAPOREAIR" ไม่เป็นเครื่องหมายบ่งเฉพาะและขัดต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์นำสืบว่า โจทก์ประดิษฐ์คำว่า "SINGAPOREAIR" ขึ้นใหม่โดยนำคำว่า "SINGAPORE" และ "AIR" มาเรียงต่อกันเกิดเป็นคำใหม่และไม่มีคำแปลหรือความหมายตามพจนานุกรม แม้คำที่โจทก์นำมาเรียงต่อกันจะเป็นภาษาโรมันขึ้นใหม่เพราะเรียงอักษรติดต่อกันไป แต่โจทก์และประชาชนทั่วไปก็เรียกขานว่า สิงคโปร์แอร์ ซึ่งเป็นคำเรียกขานของคำเดิมที่นำมาเรียงต่อกันนั่นเอง คำว่า "SINGAPORE" ตามพจนานุกรมและความเข้าใจของคนทั่วไปหมายถึง ประเทศสิงคโปร์ และคำว่า "AIR" แปลว่า อากาศจึงไม่อาจถือได้ว่าคำว่า "SINGAPOREAIR" ไม่มีคำแปลดังที่โจทก์กล่าวอ้างได้ เมื่อเครื่องหมายบริการคำว่า "SINGAPOREAIR" ของโจทก์นำมาใช้กับบริการในจำพวก 39 รายการบริการการขนส่งทางอากาศ การขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า ฯลฯ ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของการบริการโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำว่า "SINGAPORE" แปลว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งเป็นชื่อของรัฐต่างประเทศ ถือได้ว่าเครื่องหมายบริการ คำว่า "SINGAPOREAIR" ของโจทก์มีชื่อของรัฐต่างประเทศอยู่ด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของประเทศสิงคโปร์ให้นำคำว่า "SINGAPORE" มาใช้เป็นชื่อทางการค้า คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9599/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียวละเมิดลิขสิทธิ์: สิทธิฟ้องระงับหากมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
ฟ้องโจทก์บรรยายให้เห็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยจำเลยนำเอาของเพลงของผู้เสียหายซึ่งมีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปทำซ้ำโดยบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมคาราโอเกะที่เป็นตัวหนังสือของเนื้อเพลงและทำนองเพลงปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วเปิดให้บริการในลักษณะของเพลงคาราโอเกะแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในการกระทำของจำเลยที่นำงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า แต่การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมคาราโอเกะที่เป็นตัวหนังสือของเนื้อเพลงและทำนองเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและของผู้อื่นหลายรายให้ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดให้บริการแก่ลูกค้า อันเป็นความประสงค์ที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพียงอย่างเดียวเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การที่มีลูกค้ามาเปิดใช้บริการเพลงคาราโอเกะของผู้เสียหายหรือของผู้อื่นทีละเพลงในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
เมื่อการกระทำคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1549/2557 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าประเทศกลางเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้ลงโทษจำเลยไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9383/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้า CIF Bangkok และภาระค่าบริการท่าเรือเมื่อผู้ซื้อไม่รับมอบสินค้า
การส่งมอบและรับการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายและผู้ซื้ออยู่ห่างกันโดยระยะทางต้องมีการขนส่งจากต้นทางมายังปลายทางโดยใช้บริการของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งโดยลักษณะการขนส่งประเภทนี้จะต้องมีการใช้ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือเดินทะเลตามแต่ลักษณะทางกายภาพของสินค้า มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถดำเนินการส่งมอบและรับมอบสินค้ากันให้เสร็จสิ้นตามสัญญาซื้อขายได้ และในขณะเดียวกันการที่สินค้าได้รับการขนส่งจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ยังเกี่ยวพันกับกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากผู้นำเข้าสินค้านั้นมาถึงปลายทาง การที่เรือเดินทางมาถึงท่าเทียบเรือที่โจทก์เป็นผู้บริหารและให้บริการ โดยมีการจัดเตรียมอาคารสถานที่ พื้นที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรไว้รองรับตั้งแต่การเข้าเทียบท่าของเรือ การบรรทุก การขนถ่าย การเคลื่อนย้ายสินค้ามายัง ไปจาก ขึ้น หรือลงจากเรือเดินทะเล จึงเป็นการจัดเตรียมไว้เพื่อให้การดำเนินการส่งมอบและรับการส่งมอบสินค้าที่ต่อเนื่องจากการบริการของเรือเดินทะเลตามสัญญารับขนของทางทะเล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศให้ดำเนินไปและเสร็จสิ้นลงได้ และขณะเดียวกันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่เข้ามาอยู่ในอารักขาของตน โดยที่ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายเป็น CIF Bangkok ผู้ขายจึงมีหน้าที่จัดหาผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลและชำระค่าระวางล่วงหน้า ดังนั้นจากข้อตกลงและพฤติการณ์ในทางปฏิบัติดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า การที่เรือที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ขนส่งได้บรรทุกสินค้ามาส่งมอบขึ้นที่ท่าเรือที่โจทก์ให้บริการ เป็นการนำมาส่งมอบไว้แก่โจทก์เพื่อให้จำเลยในฐานะผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายหรือผู้นำเข้าตามความหมายของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มารับการส่งมอบไปจากโจทก์ ซึ่งเมื่อพิจารณา ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 41 และมาตรา 10 ทวิ แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าจำเลยจะเป็นผู้รับมอบสินค้า และเมื่อจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยนำเอกสารเกี่ยวกับการรับสินค้ามาติดต่อขอรับสินค้าจากโจทก์พร้อมชำระค่าภาระต่าง ๆ แล้วเท่านั้น โจทก์จึงจะส่งมอบสินค้าทั้งหมดให้แก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับคำสั่งโดยชอบให้คืนสินค้าแก่ผู้ใดก็จะคืนให้แก่ผู้นั้น พร้อมกันนั้นผู้นั้นก็จะต้องชำระค่าภาระต่าง ๆ แก่โจทก์ด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงสินค้าเหล่านั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระภาระต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 670 อันสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 61 และ 63 ซึ่งหมายถึงเมื่อของที่นำเข้ามากลายเป็นของตกค้างเพราะเหตุที่ไม่มีผู้ติดต่อขอรับและเสียค่าภาษี อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจสั่งให้จัดการกับของนั้นได้ เมื่อคำนึงถึงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศที่ผู้ซื้ออาจมีเหตุที่จะปฏิเสธการรับมอบสินค้าได้แล้ว ที่จำเลยยังมิได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อขอรับสินค้าที่โจทก์เก็บรักษาไว้ไปจากการดูแลจากอารักขาของศุลกากร จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาระการให้บริการท่าเรือตามที่โจทก์เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5707/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: เจตนาจำหน่ายสินค้าเลียนแบบต่างจากผู้เลียนแบบ
องค์ประกอบความผิดของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) แตกต่างจากความผิดตามมาตรา 109 ซึ่งผู้เลียนเครื่องหมายการค้าต้องมีเจตนาพิเศษ คือ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนเลียนนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นด้วย แต่การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ผู้กระทำเพียงมีเจตนาธรรมดา คือ รู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ก็เป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) แล้ว โดยไม่จำต้องมีเจตนาพิเศษดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5707/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 110(1) ประกอบมาตรา 109
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำหน่าย เสนอจำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ารองเท้ากีฬาที่มีตราเครื่องหมายการค้าอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร อีกทั้งโจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4, 109, 110, 115, 117 ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษการกระทำผิดของจำเลยฐานจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) แต่เหตุที่การปรับบทลงโทษต้องนำมาตรา 109 มาประกอบด้วยเนื่องจากองค์ประกอบของมาตรา 110 (1) เป็นการจำหน่าย เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 108 หรือจำหน่าย เสนอจำหน่ายสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นไปหาประโยชน์อันเป็นการส่งเสริมให้สินค้าดังกล่าวแพร่หลายหรือกระจายไปสู่ประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 ว่า บุคคลใด (1) เข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 ..." องค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 110 (1) จึงแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 109 ซึ่งผู้เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องมีเจตนาพิเศษ คือ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนเลียนนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นด้วย ดังนั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ผู้กระทำเพียงมีเจตนาธรรมดา คือ รู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ก็เป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) แล้วโดยไม่จำต้องมีเจตนาพิเศษว่าเพื่อทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นอีก คดีจึงรับฟังได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบตามมาตรา 110 (1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4966/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดทางประกันภัย: สิทธิของผู้รับประกันภัยย่อมมีเท่ากับผู้เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การคุ้มครองแนวคิด vs. รหัสต้นทาง
เมื่อหน้าจอของเครื่องจีพีเอสของวัตถุพยานที่ใช้โปรแกรมอดิพจน์ วี 10 ของโจทก์ กับหน้าจอของวัตถุพยานที่ใช้โปรแกรมเบสท์เทค 11 ของจำเลยที่ 1 หรือเรียกว่าส่วนเชื่อมประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งคำสั่งให้เครื่องทำงานตามที่ตนต้องการ และหลังประมวลผลตามคำสั่งของผู้ใช้แล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลการทำงานตามที่ผู้ใช้ได้สั่งการปรากฏว่ามีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน โดยทั้งสองโปรแกรมต่างมีสัญลักษณ์ให้ส่งคำสั่งเพื่อให้เครื่องทำงานต่างๆ ซึ่งผู้สั่งหรือผู้ใช้จะใช้วิธีการสัมผัสที่หน้าจอเป็นการส่งคำสั่ง เพื่อให้เครื่องทำการประมวลผลแล้วแสดงผลที่ได้ที่หน้าจอของเครื่อง อันเป็นส่วนที่จัดว่าเป็นแนวความคิดว่าผู้ใช้เครื่องจะสื่อสารกับเครื่องอย่างไร และเครื่องจะตอบสนองต่อคำสั่งอย่างไร จึงถือไม่ได้ว่าส่วนเชื่อมประสานกับผู้ใช้นี้ เป็นสิ่งที่โจทก์สามารถผูกขาดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แต่เพียงผู้เดียว ทั้งไม่ใช่สิ่งที่โจทก์จะได้รับความคุ้มครองในฐานะเจ้าของหรือผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ การที่จะรับฟังว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 1 ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์หรือไม่จะต้องปรากฏว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 1 ได้ทำซ้ำหรือลอกเลียนรหัสต้นทางหรือซอร์สโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 1 ถูกเขียนขึ้นโดยมีการทำซ้ำหรือดัดแปลงรหัสต้นทางหรือซอร์สโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์หรือไม่อย่างไร เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนหรือเปรียบเทียบให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีส่วนเหมือนหรือคล้ายกันอย่างใดและในส่วนใดบ้างที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 1 ทำซ้ำหรือดัดแปลงรหัสต้นทางหรือซอร์สโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ ทั้งรายละเอียดของงานล้วนแล้วแต่เป็นแนวความคิดในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างประสงค์ ซึ่งถึงแม้จะมีความคล้ายคลึงกันแต่ก็เป็นความคล้ายคลึงในส่วนของแนวความคิด จึงหาใช่ข้อยืนยันหรือพิสูจน์ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 1 ลอกเลียนรหัสต้นทางหรือซอร์สโค้ดมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์เสมอไป ประกอบกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้รหัสต้นทางหรือซอร์สโค้ดที่แตกต่างกันยังสามารถสั่งให้แสดงผลที่หน้าจอประมวลผลหรือที่เรียกว่าส่วนประสานกับผู้ใช้ออกมาเหมือนกันได้ และการดูชุดคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วจดจำไปเพื่อเขียนชุดคำสั่งดังกล่าวขึ้นมาใหม่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก แต่หากดูชุดคำสั่งแล้วได้แนวคิดเพื่อไปเขียนชุดคำสั่งของตนเองเป็นโปแกรมขึ้นมาใหม่ย่อมเป็นไปได้มากกว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพิเศษครอบครองปรปักษ์ผูกพันตามคำพิพากษาเดิม การอ้างสิทธิขัดแย้งกับคดีก่อนหน้า
ผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับจำเลยทั้งสี่ ผู้ร้องบรรยายคำร้องกล่าวอ้างแสดงอำนาจพิเศษและเบิกความในชั้นไต่สวนว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว นับแต่ ป. ละทิ้งการครอบครองไป แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ขัดแย้งกับที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 339/2551 ของศาลชั้นต้นเดียวกัน ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงเดียวกันนี้เฉพาะเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ โดยการครอบครองปรปักษ์อ้างเหตุ ป. ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ยิ่งไปกว่านั้นในคดีแพ่งดังกล่าว โจทก์คดีนี้ก็ได้ยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1151/2552 วินิจฉัยว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเป็นบริวารของ ป. และผู้ร้องมิได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ พิพากษายกคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ดังนี้ คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความคือผู้ร้องและโจทก์ในฐานะผู้คัดค้าน นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษา จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่าผู้ร้องมีอำนาจพิเศษจึงรับฟังไม่ได้
of 78