พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ต้องดูความหมายและการใช้จริง ไม่ใช่แค่พจนานุกรม
การที่จะพิจารณาว่าคำในภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นอกจากจะพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ และในประเทศไทยด้วยว่า คำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใดด้วย หาใช่พิจารณาเฉพาะคำแปลที่ปรากฏในพจนานุกรมที่แปลเป็นภาษาไทยแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันที หรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ไม่ยาก จำเลยทั้งสองนำสืบว่าคำว่า SCOTCH เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยอ้างสำเนาพจนานุกรมของ ดร. ว. เพียงฉบับเดียวว่า คำดังกล่าวมีคำแปลว่า ตัด เฉือน กรีด โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุนให้เห็นได้ว่า คำดังกล่าวมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันในหมู่สาธารณชนทั่วไปว่าหมายถึง ตัด เฉือน กรีดจริง ฟังไม่ได้ว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่แปลหรือมีความหมายว่าการตัด การเฉือน การกรีด โดยใช้กรรไกรเท่านั้น จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้ากรรไกรโดยตรงและเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าระวางขนส่งทางอากาศ: สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(3) มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันผิดนัด
ข้อหาตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ขนส่งเรียกร้องเอาค่าระวางขนส่งทางอากาศจากจำเลยผู้ว่าจ้าง แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าระวางขนส่งทางอากาศไว้โดยเฉพาะ แต่การให้บริการของโจทก์เป็นการรับขนส่งสิ่งของเพื่อบำเหน็จทางการค้าปกติ ถือเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ขนส่งสิ่งของเรียกเอาค่าระวางขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) ที่บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าระวางขนส่งทางอากาศจึงตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าอาคาร - การร่วมรับผิดของผู้เช่าและกรรมการผู้มีอำนาจ - อายุความค่าเช่าค้างชำระ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าปรับตามสัญญาเช่า จำเลยทั้งสองก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาเช่าตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระค่าเช่า และไม่ต้องชำระค่าปรับตามฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าตามฟ้องจริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้แล้วว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าตามฟ้องจริง โดยโจทก์ไม่จำต้องอ้างหนังสือสัญญาเช่าตามฟ้องเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ฎีกาว่าสัญญาเช่าตามฟ้องมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้ก็ตาม การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 563 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้า ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือนตามมาตรา 193/12
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 563 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้า ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือนตามมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19431/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขาย, การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง, และการร่วมรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ต้องยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน และมาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พยานหลักฐานใดที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้ การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นโดยฝ่าฝืนมาตรา 90 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐาน ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบตามมาตรา 27 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวภายใน 8 วัน นับแต่วันแต่วันที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบถึงกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งได้อีก
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับ โจทก์เพิ่งนำสืบเอกสารหมาย จ.1 ในชั้นพิจารณา จึงเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยว่า เอกสารทั้งสองฉบับต่างระบุเงื่อนไขการประมูลขายแผ่นฟิล์ม และโจทก์นำเอกสารหมาย จ.1 ประกอบคำถามค้านของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ก็เบิกความรับว่า เงื่อนไขการประมูลตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ได้ส่งให้จำเลยที่ 1 ก่อนพิจารณาเสนอราคา จึงเป็นเอกสารที่สนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับเงื่อนไขการประมูลแผ่นฟิล์ม การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการนอกฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาแต่เพียงว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับและคนละความหมายกันใช้แทนกันไม่ได้เป็นการนำสืบนอกฟ้อง ไม่มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนข้อที่อ้างว่าเอกสารหมาย จ.1 ยื่นฝ่าฝืนมาตรา 90 นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับ โจทก์เพิ่งนำสืบเอกสารหมาย จ.1 ในชั้นพิจารณา จึงเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยว่า เอกสารทั้งสองฉบับต่างระบุเงื่อนไขการประมูลขายแผ่นฟิล์ม และโจทก์นำเอกสารหมาย จ.1 ประกอบคำถามค้านของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ก็เบิกความรับว่า เงื่อนไขการประมูลตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ได้ส่งให้จำเลยที่ 1 ก่อนพิจารณาเสนอราคา จึงเป็นเอกสารที่สนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับเงื่อนไขการประมูลแผ่นฟิล์ม การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการนอกฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาแต่เพียงว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับและคนละความหมายกันใช้แทนกันไม่ได้เป็นการนำสืบนอกฟ้อง ไม่มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนข้อที่อ้างว่าเอกสารหมาย จ.1 ยื่นฝ่าฝืนมาตรา 90 นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19355-19360/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลร่วมกัน กรณีสินค้าสูญหายเสียหาย และค่าใช้จ่ายในการค้นหาสินค้า
ใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ซื้อทั้งห้าราย จำเลยที่ 2 ตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับน้ำหนักของสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 23 ไว้มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า SAID TO WEIGH และระบุน้ำหนักของสินค้าที่ผู้ซื้อทั้งห้าราย สั่งซื้อตรงกับที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าของผู้ซื้อแต่ละรายอันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากบริษัท น. ผู้ส่งสินค้าถึงน้ำหนักของสินค้าของผู้ซื้อแต่ละรายที่บรรทุกลงในระวางเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งโดยผลของมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 ตามจำนวนน้ำหนักที่แจ้งให้จำเลยที่ 2 ระบุไว้ในใบตราส่งดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าได้แสดงใบรับรองน้ำหนักของสินค้าโดยบริษัท ธ. ซึ่งทำการตรวจสอบน้ำหนักของสินค้าของผู้ซื้อแต่ละรายด้วยเครื่องชั่งก่อนที่จะนำสินค้าบรรทุกสินค้าพร้อมออกใบรับรองไว้ โดยฝ่ายจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าว คงมีแต่พยานจำเลยที่ 3 มาเบิกความลอยๆ เป็นเพียงความเห็นและการสันนิษฐานเท่านั้น ย่อมไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างใบรับรองน้ำหนักของสินค้าดังกล่าวได้
สำหรับค่าใช้จ่ายในการค้นหาสินค้าขาดจำนวน เมื่อความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในความเสียหายของสินค้าที่ตนรับขนส่งต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการค้นหาสาเหตุที่สินค้าสูญหายด้วย เพราะเป็นค่าเสียหายของโจทก์ซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยแต่ละรายไม่เกี่ยวกับผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบกิจการรับขนสินค้าระหว่างประเทศและเป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้า ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับขนส่งสินค้ากับผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าหรือร่วมกับจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่ง แต่การที่จำเลยที่ 1 นำเรือของตนมารับขนส่งสินค้าโดยมิได้นำสืบพยานหลักฐานว่าไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใดเนื่องจากขาดนัดยื่นคำให้การ คงมีเพียงรายการสำแดงทั่วไปของเรือระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้ามีจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเจ้าของเรือ โดยมิได้ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าเรือหรือเป็นผู้ดำเนินการ อันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เช่าเรือบรรทุกสินค้าจากจำเลยที่ 1 และเป็นการเช่าประเภทเสมือนผู้เช่าเป็นเจ้าของเรือ (Chatrer Party by Demise) ที่เจ้าของเรือได้โอนการครอบครองและการควบคุมตลอดจนอำนาจสั่งการให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท
สำหรับค่าใช้จ่ายในการค้นหาสินค้าขาดจำนวน เมื่อความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในความเสียหายของสินค้าที่ตนรับขนส่งต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการค้นหาสาเหตุที่สินค้าสูญหายด้วย เพราะเป็นค่าเสียหายของโจทก์ซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยแต่ละรายไม่เกี่ยวกับผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบกิจการรับขนสินค้าระหว่างประเทศและเป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้า ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับขนส่งสินค้ากับผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าหรือร่วมกับจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่ง แต่การที่จำเลยที่ 1 นำเรือของตนมารับขนส่งสินค้าโดยมิได้นำสืบพยานหลักฐานว่าไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใดเนื่องจากขาดนัดยื่นคำให้การ คงมีเพียงรายการสำแดงทั่วไปของเรือระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้ามีจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเจ้าของเรือ โดยมิได้ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าเรือหรือเป็นผู้ดำเนินการ อันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เช่าเรือบรรทุกสินค้าจากจำเลยที่ 1 และเป็นการเช่าประเภทเสมือนผู้เช่าเป็นเจ้าของเรือ (Chatrer Party by Demise) ที่เจ้าของเรือได้โอนการครอบครองและการควบคุมตลอดจนอำนาจสั่งการให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16559/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง และขอบเขตคำพิพากษา
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า ของจำเลยที่ 3 กับเครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์ แม้รูปคชหงส์จะเป็นรูปลายไทยมีรายละเอียดแตกต่างกับรูปไก่ชน แต่ลักษณะจัดวางรูปคชหงส์และรูปไก่ชนให้ยืนหันหน้าเข้าหากันโดยมีตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนเหมือนกัน ทำให้ภาพรวมของเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน ประกอบกับตัวอักษรโรมันด้านบนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า ลำปำ จันทรา และลำปำ ตามลำดับ ส่วนตัวอักษรโรมันประดิษฐ์ด้านบนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แม้ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบุว่า อ่านไม่ได้ แปลไม่ได้ แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นตัวอักษรโรมันที่ประดิษฐ์จากคำว่า LAMPAM ซึ่งเรียกขานได้ว่า ลำปำ เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนสำหรับสินค้าทุกจำพวก
แม้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่รูปคชหงส์เป็นรูปของสัตว์ซึ่งไม่มีอยู่จริง โดยจำเลยที่ 3 อ้างว่านำลักษณะเด่นของหงส์ ช้าง และสิงโต มารวมกันแล้วเขียนขึ้นใหม่ในลักษณะรูปลายไทย รูปคชหงส์จึงเป็นรูปที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความแตกต่างกับรูปไก่ชน ไม่ได้เกิดจากการนำรูปไก่ชนมาดัดแปลง ลำพังการจัดองค์ประกอบของรูปให้มีคชหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากันซึ่งบุคคลทั่วไปก็สามารถทำได้ไม่ใช่การทำซ้ำ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ จึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมรูปไก่ชนสองตัวหันหน้าหากันของโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์รูปคชหงส์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจำเลยทั้งสามจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียน ทั้งการโฆษณาก็ระบุเครื่องหมายการค้าพร้อมที่มาของการออกแบบรูปคชหงส์เป็นเครื่องหมายการค้าใหม่ จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาลวงขายสินค้า ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาล การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ฟ้องผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์รายอื่นด้วยไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามยุติการจำหน่ายสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเครื่องหมายมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอ
ที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้และผลิตสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมัน คำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นอีกต่อไป คำขอดังกล่าวมุ่งบังคับการกระทำในอนาคตซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามที่เกินไปกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำขอของโจทก์ส่วนนี้ชอบแล้ว
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยจำเลยที่ 3 ไม่ต้องขอถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ถูกต้อง เมื่อการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3
แม้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่รูปคชหงส์เป็นรูปของสัตว์ซึ่งไม่มีอยู่จริง โดยจำเลยที่ 3 อ้างว่านำลักษณะเด่นของหงส์ ช้าง และสิงโต มารวมกันแล้วเขียนขึ้นใหม่ในลักษณะรูปลายไทย รูปคชหงส์จึงเป็นรูปที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความแตกต่างกับรูปไก่ชน ไม่ได้เกิดจากการนำรูปไก่ชนมาดัดแปลง ลำพังการจัดองค์ประกอบของรูปให้มีคชหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากันซึ่งบุคคลทั่วไปก็สามารถทำได้ไม่ใช่การทำซ้ำ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ จึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมรูปไก่ชนสองตัวหันหน้าหากันของโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์รูปคชหงส์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจำเลยทั้งสามจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียน ทั้งการโฆษณาก็ระบุเครื่องหมายการค้าพร้อมที่มาของการออกแบบรูปคชหงส์เป็นเครื่องหมายการค้าใหม่ จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาลวงขายสินค้า ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาล การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ฟ้องผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์รายอื่นด้วยไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามยุติการจำหน่ายสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเครื่องหมายมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอ
ที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้และผลิตสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมัน คำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นอีกต่อไป คำขอดังกล่าวมุ่งบังคับการกระทำในอนาคตซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามที่เกินไปกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำขอของโจทก์ส่วนนี้ชอบแล้ว
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยจำเลยที่ 3 ไม่ต้องขอถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ถูกต้อง เมื่อการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15702/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: การโต้แย้งต้องชัดเจนว่าการขนส่งไม่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
แม้ปัญหาที่ว่าคดีใดอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาผู้เดียวเป็นผู้วินิจฉัย และศาลที่รับคดีไว้จะต้องเสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 9 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องบรรยายสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศโดยการขนส่งทางทะเลและทางอากาศรวม 91 รายการ แยกเป็นรายการค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายระหว่างประเทศและค่าแรงงาน โดยอ้างส่งใบแจ้งหนี้แต่ละรายการมาท้ายฟ้อง อันเข้าใจได้ว่าค่าขนส่งและค่าแรงงานเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา ย่อมแสดงว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาแล้วเห็นว่ามูลคดีตามฟ้องโจทก์ทั้ง 91 รายการ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยต้องการโต้แย้งว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จำเลยก็ต้องกล่าวโดยชัดแจ้งว่าการขนส่งรายการใดไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระหว่างประเทศเพราะเหตุใด การที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งในคำให้การเพียงว่า จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าจากโรงงานของจำเลยไปส่งยังท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ว่าจ้างให้ขนส่งไปต่างประเทศ จึงเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งเพื่อจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตการจ้าง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้โดยสารซึ่งจดทะเบียนในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ซึ่งไม่ใช่รถของบริษัทหรือรถที่ใช้ในกิจการของบริษัทที่ตนเป็นลูกจ้างบรรทุกคนต่างด้าวจำนวน 13 คน จากอำเภอเมืองสมุทรสาครไปส่งยังจังหวัดระนองและรับกลับมาส่งยังอำเภอเมืองสมุทรสาคร แม้คนต่างด้าวจะเป็นลูกค้าของบริษัทแต่ก็ต้องเสียค่าโดยสาร ถือได้ว่าเป็นการขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง แม้จำเลยจะได้รับเงินเดือนจากบริษัท แต่จำเลยก็เบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า ในการเดินทางแต่ละเที่ยวจำเลยจะได้รับค่าอาหาร 200 บาท และในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าจำเลยรับจ้างขนส่งแรงงานต่างด้าวเพื่อไปพิสูจน์สัญชาติยังจังหวัดระนอง และกำลังเดินทางกลับตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย จ. 1 ส่วนในชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า เป็นผู้ขับรถยนต์พาคนต่างด้าวเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดระนอง จำนวน 13 คน ได้ค่าจ้างขับรถ ค่าน้ำมันและค่าก๊าซจำนวน 2,500 บาท ฟังได้ว่าจำเลยได้รับค่าจ้างในการขับรถดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยไม่ประจำทางแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14301/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งเท็จในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง รัฐเป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 107 เป็นการกระทำความผิดต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ แต่กรณีเช่นนี้ มาตรา 67 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้กำหนดกระบวนการที่จะแก้ไขความเสียหายไว้แล้วว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใดตามมาตรา 40 ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ หากแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นกระบวนการพิสูจน์สิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11777/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงหรือไม่เมื่อผู้รับสินค้าบันทึกสภาพสินค้าเสียหายในใบรับสินค้า
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าบริษัท พ. ผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนและได้ชำระค่าระวางไว้แล้วเพื่อให้พ้นจากความรับผิดต่อการที่สินค้าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีภาระพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าว
สินค้าม้วนแผ่นเหล็กพิพาทตกจากที่สูงจนบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดังเห็นได้จากรูปถ่ายในรายงานการสำรวจความเสียหาย แสดงว่าเมื่อตกจากที่สูงแล้วปรากฏร่องรอยให้เห็นได้ด้วยสายตาว่าเป็นรอยหรือบุบ (Dent) ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัท พ. บันทึกไว้ในใบรับสินค้าว่า "Coil เด็นมาจากท่าเรือ" จึงถือได้แล้วว่าเป็นการอิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่สิ้นสุดลง
สินค้าม้วนแผ่นเหล็กพิพาทตกจากที่สูงจนบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดังเห็นได้จากรูปถ่ายในรายงานการสำรวจความเสียหาย แสดงว่าเมื่อตกจากที่สูงแล้วปรากฏร่องรอยให้เห็นได้ด้วยสายตาว่าเป็นรอยหรือบุบ (Dent) ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัท พ. บันทึกไว้ในใบรับสินค้าว่า "Coil เด็นมาจากท่าเรือ" จึงถือได้แล้วว่าเป็นการอิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่สิ้นสุดลง